ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าหญิงพิกุลทอง (ละครโทรทัศน์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 15:
อย่างไรก็ตามเมื่อสังเกตตามเนื้อเรื่อง สำนวนกลอนค่อนข้างจะรวบรัดและไม่สละสลวยเท่าใดนัก เพราะผู้แต่งคงมีจุดประสงค์เพียงไว้สำหรับเล่นละครเท่านั้น แม้การบอกเพลงหน้าพาทย์ก็ไม่ชัดเจนแน่นอน มีตอนที่กล่าวถึง พระสังข์ศิลป์ชัยและนางศรีสุพรรณ ซึ่งเป็นตัวละครจากบทละครนอกเรื่อง [[สังข์ศิลป์ชัย]] พร้อมทั้งมีของวิเศษที่เหมือนกันทุกประการ อันได้แก่ สังข์ ศร และพระขรรค์ จึงสันนิษฐานว่า ผู้แต่งคงมีจุดประสงค์ดำเนินเรื่องให้เป็นภาคต่อจากเรื่อง [[สังข์ศิลป์ชัย]] เพราะเรื่อง [[สังข์ศิลป์ชัย]] ก็ไม่ได้กล่าวถึงการผจญภัยในรุ่นลูกไว้เลย
 
== สาระสำคัญที่ได้ในเรื่อง==
ในเรื่องนางพิกุลทอง ได้แสดงให้เห็นเกี่ยวกับประเพณีความเชื่อหลายประการเช่น ที่มาของเรื่อง รัก-ยม อันมาจากชื่อพระโอรสของนางพิกุลทอง ซึ่งในปัจจุบันเราจะรู้จักว่าเป็นเครื่องรางของคลังชนิดหนึ่ง, ที่มาของสุภาษิตคำพังเพย คือ "กลัวดอกพิกุลจะร่วงจากปาก" หมายถึงคนที่ไม่ค่อยพูด หรือใครถามอะไร หรือสนทนาด้วยแล้วไม่อยากจะตอบ หรือพูดคุย, เรื่องความเชื่อเกี่ยวกับ ลูกกรอก และเหตุที่ชะนีร้องเรียกว่า "ผัวๆ" ในส่วนอื่นก็สอนให้เห็นผลของการกล่าววาจาที่ไพเราะและความซื่อสัตย์ จะทำให้เป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั้งหลาย และนำพาไปสู่ความเจริญ และเรื่องเกี่ยวกับความเชื่ออื่นๆ เช่น แม่ย่านาง เป็นต้น