ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอธาตุพนม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31:
ในสมัยโบราณเมืองพนมยังถูกรายล้อมด้วยเวียงข้าพระธาตุพนมอีก ๔ แห่ง คือ เวียงปากเซหรือเมืองกะบอง (ปัจจุบันคือเมืองหนองบก ประเทศสาธาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) เวียงปากก่ำกรรมเวรหรือเมืองปากก่ำ (ปัจจุบันคือตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม) เวียงขอมกระบินหรือเมืองกบิล (ปัจจุบันคืออำเภอนาแก)<ref>http://na-kae.blogspot.com/</ref> เวียงหล่มหนองหรือเมืองมรุกขนคร (ปัจจุบันคือตำบลพระกลางทุ่ง) นอกจากนี้ เมืองพนมยังมีภูมิศาสตร์การวางผังเมืองขนานยาวกับแม่น้ำโขงแบบนาคนาม และมีโครงสร้างการวางผังเมืองตามคติจักรวาลวิทยาของขอมโบราณ คือประกอบด้วยกำแพงล้อมรอบถึง ๓ ชั้น ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญของเมือง ๓ ส่วน ส่วนแรกคือส่วนหัวเมือง เป็นที่ตั้งของ '''วัดหัวเวียง''' (วัดสวนสั่งหรือวัดสวนสวัร) ปัจจุบันคือวัดหัวเวียงรังษี และเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสพระธาตุพนมดั้งเดิมคือ [[บ้านหัวบึง]] ส่วนต่อมาคือส่วนกลางเมืองหรือส่วนตัวเมือง เป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุพนมซึ่งเป็นตัวแทนของอำนาจพุทธหรือฝ่ายศาสนจักร ในจารึกวัดพระธาตุพนมแสดงให้เห็นว่าวัดแห่งนี้เคยเป็นสถานที่ประทับของพระสังฆราช นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของหอเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ซึ่งเป็นตัวแทนของอำนาจผี เป็นที่ตั้งของ[[บึงธาตุ]]ซึ่งเป็นตัวแทนของแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่ตั้งของกำแพงเมืองโบราณทิศตะวันออกริมฝั่งโขงซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจการปกครองของเจ้านาย ส่วนทางทิศตะวันตกของส่วนตัวเมืองนั้นเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสพระธาตุพนมดั้งเดิมคือ [[บ้านดอนกลาง]]หรือ[[บ้านดอนจัน]] ส่วนสุดท้ายคือส่วนท้ายเมืองหรือปลายเมือง เป็นที่ตั้งของแม่น้ำเก่าแก่คือ[[แม่น้ำก่ำ]] ซึ่งอุรังคธาตุนิทานกล่าวว่า เดิมตอนใต้แม่น้ำแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งราชสำนักของกษัตริย์ที่มาร่วมสร้างพระธาตุพนม และยังเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสพระธาตุพนมดั้งเดิมคือ [[บ้านน้ำก่ำ]] อีกด้วย
 
ตำนานโบราณของเมืองธาตุพนมกล่าวว่า ในสมัย[[พระยานันทเสน]]เจ้า[[เมืองศรีโคตรบูร]] (ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๖ ) พระองค์ทรงแต่งตั้งเจ้า ๓ พี่น้องซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระองค์ให้ปกครองข้าโอกาสพระธาตุพนมโดยแบ่งออกเป็น ๓ กอง ได้แก่ '''เจ้าแสนเมือง''' ปกครองกองข้าโอกาสนอกกำแพงพระมหาธาตุ '''เจ้าเมืองขวา''' ปกครองกองข้าโอกาสในกำแพงพระมหาธาตุ '''เจ้าโต่งกว้าง''' ปกครองกองข้าโอกาสฝั่งซ้ายน้ำโขงตลอดจนปาก[[น้ำเซ]]ไหลตกปาก[[น้ำก่ำ]] เจ้านายทั้ง ๓ พระองค์นี้ ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็น[[มเหศักดิ์]][[หลักเมือง]]ธาตุพนมสืบมาจนถึงปัจจุบัน และนับถือกันกว่าทรงเป็นวิญญาณบรรพบุรุษรุ่นแรกของข้าโอกาสพระธาตุพนม เรียกว่า [['''[[เจ้าเฮือนทั้ง ๓]]''']] หรือ [['''[[เจ้าเฮือน ๓ พระองค์]]''']] ต่อมาในสมัยพระยาสุมิตธรรมวงศาเจ้าเมืองมรุกขนคร (ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๖) พระองค์ได้แต่งตั้งให้มีนายด่านนายกองรักษาเมืองพนม พร้อมทั้งมอบเงินทองให้เป็นเครื่องตอบแทน ต่อมาเมื่ออาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลงในสมัยล้านช้างตอนต้นคือรัชกาลของพระเจ้าโพธิสาลราช (พ.ศ. ๒๐๖๓-๒๐๙๐) เมืองพนมถูกปกครองโดยขุนนางข้าหัตบาสใกล้ชิดของพระเจ้าโพธิสาลราชจากราชสำนักเมืองหลวงพระบางนามว่า [['''[[พันเฮือนหิน]]''']] พร้อมทั้งได้รับพระราชทานบริวารคอยติดตามจำนวนมากให้อีกราว ๓๐ นาย จนเป็นที่ระแวงสงสัยแก่ขุนพันกินเมืองทั้งหลายในแถบนั้น นอกจากนี้พระเจ้าโพธิสาลราชยังตั้ง [['''[[พันชะเอ็ง]]''']] ([[ข้าชะเอ็ง]]) พี่ชายของพันเฮือนหินให้เป็นผู้ช่วยรักษาพระธาตุพนมร่วมกันด้วย <ref>พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา), ''อุรังคธาตุนิทาน : ตำนานพระธาตุพนม (พิศดาร) ''. กรุงเทพฯ. ๒๕๓๗.</ref> จากนั้น ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราช (พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๔) พระองค์ได้เสด็จมาบูรณะพระธาตุพนมที่เมืองพนมพร้อมทั้งโปรดเกล้าแต่งตั้ง[[ '''[[พระยาธาตุพระนม]]''']] หรือ '''พระยาพระมหาธาตุเจ้า'''<ref>พื้นอุลํกาธา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๒๔</ref> ขึ้นเป็นเจ้าโอกาสรักษานครพระมหาธาตุพนม โดยมี '''พระยาทั้ง ๔''' เป็นผู้ช่วยราชการ<ref>อุลังกทาดผูกเดียว ฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขด หน้าลานที่ ๑๓</ref> ต่อมาในสมัยหลังพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งนครเวียงจันทน์ [[เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก]]สังฆราชแห่งเวียงจันทน์ได้อพยพผู้คนจากนครเวียงจันทน์บางส่วนมาถวายไว้เป็นข้าพระธาตุพนมจำนวนมาก พร้อมทั้งต่อเติมเสริมยอดพระธาตุพนมให้สูงขึ้น ในตำนานบ้านดงนาคำซึ่งเป็นหมู่บ้านข้าโอกาสพระธาตุพนมทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงกล่าวว่า เจ้าราชครูหลวงได้ตั้งให้พระสงฆ์ฝ่ายปกครอง ๔ รูปปกครองวัดวาอารามทั้ง ๔ ทิศในเขตเมืองพนม เรียกว่า [['''[[เจ้าด้านทั้ง ๔]]''']] จากนั้นทรงขออนุญาตเจ้านายผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ กอง ให้เป็นผู้นำพาประชาชนจากเวียงจันทน์ออกไปตั้งหมู่บ้านใหม่เพื่อให้ข้าโอกาสพระธาตุพนมมีจำนวนเพิ่มขึ้น คือ [['''[[แสนกลางน้อยศรีมุงคุล]]''']] หัวหน้าข้าโอกาสให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านหมากนาว<ref>เชื่อว่าเป็นองค์เดียวกันกับอาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุล (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนม แต่เมื่อเทียบศักราชช่วงที่ปกครองแล้วห่างกันมาก</ref> [['''แสนพนม]]''']] ให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านดงใน [['''[[แสนนามฮาช]]''']] (แสนนาม) ให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านดงนอก ทั้งสามท่านยังเป็นต้นตระกูลข้าโอกาสพระธาตุพนมทั้งสองฝั่งโขงสืบมาจนปัจจุบัน<ref>พระเทพรัตนโมลี, ''เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ท่านเจ้าราชครูขี้หอม)''. กรุงเทพฯ. ๒๕๒๘.</ref>
 
ภายหลังการสถาปนาราชอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์แล้ว (พ.ศ. ๒๒๕๖) เมืองพนมได้กลายเป็นเมืองชายพระราชอาณาเขตหรือ[[เมืองขอบด่าน]] ต่อเขตแดนระหว่าง[[ราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์]]และ[[ราชอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์]] โดยมีเมืองละคร ([[นครพนม]]) ซึ่งขึ้นกับนคร[[เวียงจันทน์]] และมีเมืองบังมุก ([[มุกดาหาร]]) ซึ่งขึ้นกับนคร[[จำปาศักดิ์]] ทั้งสองเมือง เป็นผู้ร่วมกันรักษาดูแลเมืองพนม โดยแบ่งเขตแดนเมืองกันที่หน้าลานพระบรมธาตุเจ้าพนม ทำนองเดียวกันกับพระธาตุศรีสองรักแห่งเมืองด่านซ้าย ซึ่งเป็นเมืองขอบด่านต่อแดนระหว่างราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตและราชอาณาจักรศรีอยุธยา<ref>http://place.thai-tour.com/loei/dansai/271</ref> ดังนั้นเมืองพนมจึงมีสถานะพิเศษแตกต่างจากหัวเมืองหลายเมืองในแผ่นดิน[[ลาว]]และ[[อีสาน]]<ref>http://www.thatphanom.com/2300.html</ref> อย่างไรก็ตาม โดยราชธรรมเนียมแล้วเจ้าเมืองนครพนมมักมีอำนาจในการแต่งตั้งเจ้านายชั้นสูงมาปกครองเมืองพนม อันเนื่องมาจากเมืองมุกดาหารเป็นหัวเมืองที่มีอำนาจน้อยกว่า ในจารึกลานเงินพระธาตุพนมสมัยปลายรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชหรือสมัยพระยาจันทสีหราช (พระยาเมืองแสน) กล่าวว่าเจ้านครวรกษัตริย์ขัติยราชวงศา (พ.ศ. ๒๒๓๘) ได้สิทธิพระพรนามกรมาให้ [['''[[แสนจันทรานิทธสิทธิมงคลสุนทรอมร]]''']] สันนิษฐานว่าแสนจันทรานิทธผู้นี้คือขุนโอกาสเมืองพนมในสมัยนั้น ต่อมาในสมัยปลายอยุธยา เมืองพนมได้ถูกปกครองโดยกลุ่มตระกูลเจ้านายจากราชวงศ์เวียงจันทน์พระนามว่า [['''[[เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)]]''']] ซึ่งในพื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนมออกพระนามเต็มว่า พระอาจชญาหลวงเจ้าพระรามราชปราณีสีสุธมฺมราชา สหสฺสาคามเสลามหาพุทฺธปริษทฺทะบัวระบัติ โพธิสตฺวขัตฺติยวรราชวงศา พระหน่อรามาพุทธังกูร เจ้าเอากาสศาสนานครพฺระมหาธาตุเจ้าพฺระนม พิทักษ์บุรมมหาเจติย วิสุทฺธิรตฺตนสถาน คนทั่วไปออกนามว่า '''เจ้าพ่อขุนราม''' หรือ '''เจ้าพ่อขุนโอกาส''' (พ.ศ. ๒๒๙๑-๒๓๗๑) จากนั้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๕ หรือสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ. ๒๓๔๘-๒๓๗๑) ทรงแต่งตั้งพระโอรสของเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) คือ [['''[[เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร)]]''']] หรือ(อาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุล) ขึ้นปกครองธาตุพนมต่อจากพระบิดา<ref>หนังสืออุลังคนีทาน (อุลังคะนิทาน) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๒๕-๒๗</ref> เอกสารบางแห่งกล่าวว่าทรงถูกแต่งตั้งโดยสมเด็จพระเจ้าองค์ลองแห่งเวียงจันทน์ (พ.ศ. ๒๒๗๓-๒๓๒๒)<ref>หนังสืออุลังคนีทาน (พื้นอุลํกาธา) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๒๔-๒๖ </ref> เจ้านายทั้ง ๒ พระองค์เป็นต้นตระกูล [[รามางกูร]] แห่งอำเภอธาตุพนม และเป็นเชื้อสายของสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารพระมหากษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์ (พ.ศ. ๒๒๙๔-๒๓๒๒) รวมทั้งเป็นญาติใกล้ชิดกับสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ด้วย ตระกูลนี้มีอำนาจบทบาทปกครองธาตุพนมสืบได้อีกอย่างน้อย ๔ ชั่วอายุคนและถือเป็นต้นตระกูลเก่าแก่หลายตระกูลของอำเภอธาตุพนมในปัจจุบัน เช่น ตระกูลบุคคละ ประคำมินทร์ [[จันทศ]] มันตะ สารสิทธิ์ ลือชา ทามนตรี ทศศะ พุทธศิริ รัตโนธร ครธน สุมนารถ มนารถ อุทา สายบุญ เป็นต้น ตระกูลเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มตระกูลใหญ่ที่มีบทบาททำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในเมืองธาตุพนมและวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เจ้านายและนายกองตลอดจนกรมการเมืองที่ปกครองธาตุพนมในยุคต่อๆ มามักมีความสัมพันธ์เกี่ยวดองทางเครือญาติกับกลุ่มตระกูลนี้ <ref>มหาดวง รามางกูร (ท้าวดวง บุคคละ), "พื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนม (ประวัติตระกูลรามางกูรแห่งเมืองธาตุพนม)".ม.ป.ท.. ม.ป.ป..</ref> อย่างไรก็ตาม ในพื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนมกล่าวถึงจำนวนผู้ปกครองเมืองพนมโดยพิศดารก่อนการเข้ามาปกครองโดยราชวงศ์เวียงจันทน์ว่า มีเจ้าโอกาส (บ้างออกนามว่าขุนพนม เจ้าพระนม เพียพระนม กวานพนม) ปกครองเมืองพนมมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓๐ องค์จากราชวงศ์ศรีโคตรบูรซึ่งสืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเฮือนทั้ง ๓ พระองค์
 
ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ (พ.ศ. ๒๓๔๘-๒๓๗๑) เมืองพนมได้เกิดปัญหาการถูกรุกรานจากการแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนม อันเนื่องมาจากสยามได้ให้อำนาจเจ้าเมืองนครราชสีมาและเมืองกาฬสินธุ์มาสักเลขข้าพระธาตุพนม จนได้รับความเดือนร้อนวุ่นวายและกลายเป็นหนึ่งในชนวนเหตุสงครามเจ้าอนุวงศ์ด้วย<ref>ทรงพล ศรีจักร์. ''เพ็ชรพื้นเมืองเวียงจันทน์ : พงศาวดารลาวตอนเวียงจันทน์แตก''. กรุงเทพ. ๒๔๗๙. </ref> ปัญหาการแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนมนี้ยืดเยื้อยาวนานมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเจ้าเมืองทั้ง ๓ คือเมืองนครพนม เมืองมุกดาหาร และเมืองสกลนครได้แย่งชิงข้าเลขพระธาตุพนมไปเป็นข้าเลขเมืองของตน (พ.ศ. ๒๔๓๒)<ref>เอกสาร ร.๕ ม.๒ (๑๒ ก.) เล่ม ๒๐ ร.ศ. ๑๐๗ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. </ref> เอกสารต่างชาติเรื่องบันทึกการเดินทางในลาว ตรงกับสมัยอาณานิคมฝรั่งเศสของหัวเมืองลาวฝั่งซ้ายกล่าวถึงสาเหตุการแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนมว่า เดิมเมืองพนมเป็นเมืองอิสระจากอำนาจรัฐ (ก่อน พ.ศ. ๒๔๒๔) หลังการวิวาทของเจ้านายท้องถิ่นแล้ว ทางธาตุพนมจึงมีการขอความคุ้มครองจากเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร เป็นเหตุให้ข้าพระธาตุพนมจำนวนมากถูกแย่งชิงไปขึ้นกับเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร จนไม่เป็นที่พอใจแก่ประชาชนชาวธาตุพนม และเป็นสาเหตุที่ทำให้เมืองธาตุพนมไม่สามารถตั้งเจ้าเมืองได้ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง พร้อมทั้งไม่สามารถตั้งธาตุพนมให้เป็นเมืองในขอบขัณฑเสมาสยามได้ ต่อมาเจ้านายท้องถิ่นได้พยายามขอความคุ้มครองจากสยามแทน ในพื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนมกล่าวว่า ชนวนการวิวาทครั้งนี้เกิดจากการแย่งชิงกันขึ้นปกครองข้าโอกาสพระธาตุพนมของพระอัคร์บุตร (บุญมี บุคคละ) พระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) และพระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร) ซึ่งทั้ง ๓ ต่างเป็นทายาทญาติใกล้ชิดของเจ้านายเดิมผู้ปกครองธาตุพนม<ref>มหาดวง รามางกูร (ท้าวดวง บุคคละ), "พื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนม (ประวัติตระกูลรามางกูรแห่งเมืองธาตุพนม)".ม.ป.ท.. ม.ป.ป..</ref>อย่างไรก็ตาม ในอุรังคธาตุฉบับม้วนอานิสงส์ ได้กล่าวถึงปัญหาการแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนมว่ามีมานานตั้งแต่สมัยก่อนเมืองมรุกขนครจะล่มสลายแล้ว ซึ่งสมัยนั้นตรงกับรัชกาลของพระยานิรุฏฐราช เอกสารนี้แสดงให้เห็นว่า การที่เมืองมรุกขนครล่มสลายลงก็เนื่องมาจาก พระยานิรุฏราชเจ้าเมืองมรุกขนครเข้ามาแย่งชิงข้าพระธาตุพนมไปใช้สอยในราชการ<ref>อุดร จันทวัน, "ศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องอุรังคธาตุนิทาน : ภาษาทางศาสนาและอิทธิพลต่อสังคม".ม.ป.ท.. ๒๕๔๗.</ref>