ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 308:
หลังจากการสิ้นพระชนม์ของ[[จักรพรรดิแม็กซีมีเลียนที่ 1 แห่งเม็กซิโก|จักรพรรดิแม็กซีมีเลียน]] พระราชอนุชาในจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ และพระราชโอรสองค์เดียวของพระองค์ [[อาร์คดยุครูดอล์ฟ มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี]] ทำให้พระราชนัดดาของพระองค์ [[อาร์คดยุคฟรันซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย-เอสต์|อาร์คดยุคฟรันซ์ เฟอร์ดินานด์]] ได้รับตำแหน่งองค์รัชทายาทสืบต่อจากอาร์คดยุครูดอล์ฟ แต่เมื่อวันที่[[28 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2457]] เมื่อพระองค์เสด็จเยี่ยมราษฎรพร้อมด้วยพระชายาในเมือง[[ซาราเยโว]] นครหลวงของเขตบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ทั้งสองพระองค์ได้ถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยกระสุนปืนโดยนักชาตินิยมจากเซอร์เบีย เป็นเหตุให้ทั้งสองพระองค์สิ้นพระชนม์ทันที
 
การบริหารทางการทหารไม่ได้รับการบริหารที่ดีตั้งแต่[[การประชุมที่เบอร์ลิน (พ.ศ. 2421)]] ขณะที่เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียได้ประกาศอำนาจในการประชุม โดยหลังจากการประชุมจักรวรรดิได้เสียดินแดนอิตาลีให้กับ[[แคว้นปิเอมอนเต|ปิเอดมอนต์]] รวมทั้งเสียเปรียบทางความเคลื่อนไหวทางชาตินิยม ซึ่งถูก[[อิตาลี]]จับตาดูอยู่ นอกจากนี้ออสเตรีย-ฮังการีได้สูญเสียพื้นที่ทางตอนใต้ซึ่งมีประชากรชาวสลาฟอาศัยอยู่ให้กับ[[เซอร์เบีย]] ซึ่งเซอร์เบียเพิ่งจะได้รับสิทธิ์และผลประโยชน์เพิ่มเรื่องพื้นที่ หลังจาก[[สงครามบัลบอลข่านครั้งที่ 2สอง]] เมื่อปี[[พ.ศ. 2455]] จึงส่งผลต่อความยากลำบากภายในรัฐบาลของออสเตรียและฮังการี โดยมีสมาชิกรัฐสภาบางคน เช่น [[คอนราด วอน เฮิตเซนดอร์ฟ]] ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับการฟื้นคืนอำนาจของการเมืองเซอร์เบียเป็นเวลาหลายปี โดยผู้นำออสเตรีย-ฮังการี เค้านท์ลีโอโพลด์ วอน เบิร์ชโทลด์ สามารถเอาคืนเซอร์เบียได้โดยมีสัมพันธมิตรอย่างเยอรมนีเข้าช่วยเหลือ โดยตัดสินใจเผชิญหน้ากับกองทัพเซอร์เบีย ก่อนที่จะกระตุ้นก่อให้เกิดการต่อต้านภายในจักรวรรดิ โดยใช้กรณีการลอบปลงพระชนม์เป็นข้ออ้างในการก่อสงครามกับเซอร์เบีย
 
เหตุการณ์นี้ได้นำจักรวรรดิไปสู่การพิพาทกับเซอร์เบียใน[[เดือนกรกฎาคม]]และ[[เดือนสิงหาคม]] [[พ.ศ. 2457]] ซึ่งนำไปสู[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] โดยความเคลื่อนไหวของเซอร์เบียนี้ มี[[จักรวรรดิรัสเซีย|รัสเซีย]]เป็นตัวช่วยในการทำศึกสงคราม อิตาลีได้ประกาศวางตัวเป็นกลางตั้งแต่แรกเริ่งสงคราม ถึงแม้ว่าจะมีความสัมพันธไมตรีกับออสเตรีย-ฮังการี แต่ในปี[[พ.ศ. 2458]] อิตาลีได้สร้างความเข้าใจอันดีกับออสเตรีย-ฮังการี โดยเข้าร่วมสงครามกับจักรวรรดิเผชิญหน้ากับเซอร์เบียและรัสเซีย เพื่อหวังจะได้รับแผ่นดินที่ออสเตรีย-ฮังการียึดครองไป กลับมาเหมือนเดิม ผู้บัญชาการของกองทัพคือ นายพลคอนราด วอน เฮิตเซนดอร์ฟ ซึ่งภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลเฮิตเซนดอร์ฟนี้ ได้นำกองทัพไปสู่สมรภูมิรบในสงคราม