ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวมอญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลบบลความซ้ำซ้อน
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
มอญเป็นชนชาติเก่าแก่ มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่ง จาก[[พงศาวดาร]][[พม่า]]กล่าวว่า "มอญเป็นชนชาติแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่า มาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล" คาดว่าน่าจะอพยพมาจากตอนกลางของ[[ทวีปเอเชีย]] เข้ามาตั้งอาณาจักรของตนทางตอนใต้ บริเวณลุ่ม[[แม่น้ำสาละวิน]] และ[[แม่น้ำสะโตง]] ซึ่งบริเวณนี้ในเอกสารของจีนและอินเดียเรียกว่า "[[ดินแดนสุวรรณภูมิ]]"
 
ในพุทธศตวรรษที่ 2 ศูนย์กลางของอาณาจักรมอญคือ[[อาณาจักรสุธรรมวดี]]หรือสะเทิม (Thaton) จากพงศาวดารมอญ กล่าวไว้ว่าอาณาจักรสะเทิมสร้างโดยพระราชโอรส 2 พระองค์ของ[[พระเจ้าติสสะ]] แห่งแคว้นหนึ่งของอินเดีย ก่อนปี พ.ศ. 241 พระองค์นำพลพรรคลงเรือสำเภามาจอดที่[[อ่าวเมาะตะมะ]] และตั้งรากฐานซึ่งต่อมาเป็นที่ตั้งของเมือง อาณาจักรสะเทิมรุ่งเรืองมากมีการค้าขายติดต่ออย่างใกล้ชิดกับประเทศอินเดียและลังกา และได้รับเอาอารยธรรมของอินเดียมาใช้ ทั้งทางด้าน[[อักษรศาสตร์]] และ[[ศาสนา]] โดยเฉพาะรับเอา[[พระพุทธศาสนานิกายหินยานเถรวาท]]มา มอญมีบทบาทในการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดียไปยังชนชาติอื่นอย่างเช่น ชาวพม่า ไทย และลาว เจริญสูง มีความรู้ดีทางด้านการเกษตร และมีความชำนาญในการชลประทาน โดยเป็นผู้ริเริ่มระบบ[[ชลประทาน]]ขึ้นในลุ่มน้ำอิรวดีทางตอนกลางของประเทศพม่า
 
พวกน่านเจ้าเข้ามาทางตอนเหนือของพม่าและทำสงครามกับพวก[[ปยู]] อาณาจักรมอญที่สะเทิมขยายอำนาจขึ้นไปทางภาคกลางของลุ่ม[[แม่น้ำอิรวดี]]ระยะหนึ่ง แต่เมื่อชนชาติพม่ามีอำนาจเหนืออาณาจักรปยู และได้ขยายอำนาจลงมาทางใต้เข้ารุกรานมอญ มอญจึงถอยลงมาดังเดิมและได้สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1368 ที่ [[หงสาวดี]]
 
[[พระเจ้าอโนรธา]] กษัตริย์พม่าแห่งพุกาม ยกทัพมาตีอาณาจักรสุธรรมวดีและกวาดต้อนผู้คน ทรัพย์สมบัติ พระสงฆ์ พระไตรปิฎก กลับไปพุกามจำนวนมาก ต่อมาระหว่างปี 1600-1830 กรุงหงสาวดี ตกอยู่ใต้อำนาจพุกาม แต่กระนั้นพม่าก็รับวัฒนธรรมมอญมาด้วย ไม่ว่าจะเป็น[[ภาษามอญ]]ได้แทนที่[[ภาษาบาลี]]และ[[สันสกฤต]]ในจารึกหลวง และ[[พุทธศาสนาพุทธนิกายเถรวาท]] ได้เป็นศาสนาที่นับถือสูงสุดในพุกาม มอญยังมีความใกล้ชิดกับลังกา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และนิกายเถรวาทก็แพร่กระจายไปทั่ว[[เอเชียอาคเนย์]]
 
พระเจ้ากยันสิทธะทรงดำเนินนโยบายผูกมิตรกับราชตระกูลของพระเจ้ามนูหะ กษัตริย์มอญแห่งสะเทิม โดยยกพระราชธิดาให้กับเจ้าชายมอญ พระนัดดาที่ประสูติจากทั้งสองพระองค์นี้ ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ พระนามว่า [[พระเจ้าอลองสิธู|อลองคะสิทธู]] ในยุคที่พระองค์ปกครองอาณาจักรพุกามได้รวมตัวกันเป็นปึกแผ่นที่สุด นอกจากนี้ในสมัยของ[[พระเจ้ากยันสิทธะ]] ในศิลาจารึกยกย่องไว้ว่า "วัฒนธรรมมอญ"เหนือกว่าวัฒนธรรมพม่าด้วย
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 1830]] [[มองโกล]]ยกทัพมาตีพม่า ทำให้มอญได้รับเอกราชอีกครั้ง มะกะโท หรือ[[พระเจ้าฟ้ารั่ว]] หรือวาเรรุ ราชบุตรเขยของ[[พ่อขุนรามคำแหง]]ได้ทรงกอบกู้เอกราช[[มอญ]]จาก[[พม่า]] และสถาปนา [[ราชอาณาจักรหงสาวดี]] พระองค์มีมเหสีเป็นราชธิดาของ[[พ่อขุนรามคำแหง]] กษัตริย์ของไทย มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่[[เมืองเมาะตะมะ]] ต่อมาในสมัยพญาอู ได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ เมืองพะโคหรือ[[หงสาวดี]] ราชบุตรของพระองค์คือพญาน้อย ซึ่งต่อมาก็คือ[[พระเจ้าราชาธิราช]] ผู้ทำสงครามยาวนานกับกษัตริย์พม่าอังวะ ในสมัย[[พระเจ้าซวาส่อแก]] กับสมัย[[พระเจ้ามีงคอง]] (คนไทยเรียกว่า พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง ในหนังสือเรื่อง [[ราชาธิราช]]) ขุนพลสำคัญของพระเจ้าราชาธิราช ก็คือ [[สมิงพระราม]] [[ละกูนเอง]] และ[[แอมูน-ทยา]] ในสมัยของพระเจ้าราชาธิราชนั้น [[หงสาวดี]]กลายเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ครอบคลุมตั้งแต่ชายฝั่งทะเล[[อ่าวเบงกอล]] จาก[[แม่น้ำอิรวดี]]ขยายลงไปทางตะวันออกถึง[[แม่น้ำสาละวิน]] และเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่โต มีเมืองท่าที่สำคัญหลายแห่งในหลายลุ่มน้ำ เช่น [[เมาะตะมะ]] [[สะโตง]] [[พะโค]] [[พะสิม]] อาณาจักรมอญยุคนี้เจริญสูงสุดในสมัย[[พระนางเชงสอบู]]และสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์ หลังจากนั้นในสมัยพระเจ้าทาคายุพิน[[หงสาวดี]]ก็เสียแก่[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]] ในปี พ.ศ. 2094
 
พ.ศ. 2283 สมิงทอพุทธิเกศ กู้เอกราชคืนมาจาก[[พม่า]]ได้สำเร็จ และสถาปนา [[ราชอาณาจักรหงสาวดีใหม่]] ทั้งได้ยกทัพไปตี[[อังวะ|เมืองอังวะ]] ในปี พ.ศ. 2290 พระยาทะละ ได้ครองอำนาจแทนสมิงทอพุทธิเกศ ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง ทำให้[[อาณาจักรตองอู]]ของพม่าสลายตัวลง จนในปี พ.ศ. 2300 [[พระเจ้าอลองพญา]] ก็กู้อิสรภาพของ[[พม่า]]กลับคืนมาได้ ทั้งยังได้โจมตีมอญ กษัตริย์องค์สุดท้ายของมอญคือ พระเจ้าพญามองธิราช <ref>[http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=135&main_menu_id=1 มอญ : ชนชาติบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ]</ref>
 
ในปัจจุบัน ชาวมอญรุ่นหลังหันมาใช้ภาษาพม่ากันมาก และมีจำนวนมากที่เลิกใช้[[ภาษามอญ]] จนคิดว่าตนเป็นพม่า อีกทั้งไม่ทราบว่าตนมีเชื้อสายมอญ จากการสำรวจประชากรมอญในปี ค.ศ. 1931 พบว่ามีจำนวนแค่ 3 แสน 5 หมื่นคน ต่อมาในปี ค.ศ. 1939 ได้มีการก่อตั้งสมาคมชาวมอญ และมีการสำรวจประชากรมอญอีกครั้ง พบว่ามีราว 6 แสนกว่าคน พอต้นสมัยสังคมนิยมสำรวจได้ว่ามีชาวมอญราว 1 ล้านกว่าคน ชาวมอญที่ยังพูดภาษามอญในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน [[รัฐมอญ]] แต่ในเขตเมืองก็จะพบแต่ชาวมอญที่พูดภาษาพม่าเป็นส่วนมาก<ref name="วิรัช นิยมธรรม">วิรัช นิยมธรรม, [http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=149&main_menu_id=1 มอญ : ต้นตออารยธรรมอุษาคเนย์] เรียบเรียงจากข้อเขียนของนายปันหละ พิมพ์ในสารานุกรมพม่า ฉบับที่ 10 </ref>
 
== วัฒนธรรม ==
=== ภาษาและอักษรมอญ ===
{{บทความหลัก|อักษรมอญ|ภาษามอญ}}
[[ภาษามอญ]]มีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปี เป็นภาษาในสาขามอญ (Monic) มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน ส่วนอักษรมอญ มีความเก่าแก่ พบหลักฐานในประเทศไทยที่ จารึก[[วัดโพธิ์ร้าง]] [[พ.ศ.อายุราวพุทธศตวรรษ 1143]]12 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัว[[อักษรปัลลวะ]] ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น [[อักษรมอญ]] พบว่ามีการประดิษฐ์อักษรมอญขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id name=271<"พ"/ref> และในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมือง[[ลพบุรี]] และยังพบจารึก จารึกในพุทธศตวรรษที่ 14 ราว [[พ.ศ. 1314]] เป็น ตัวอักษรมอญโบราณหลังปัลลวะ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ[[พระพุทธศาสนา]]<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=921</ref>
 
หลักฐานจารึกในสมัยกลางประมาณ [[พ.ศ. 1600]] เป็นต้นมา บันทึกทั้งภาษามอญและอักษรมอญ ซึ่งพม่าก็รับอักษรมอญมาใช้เขียน[[ภาษาพม่า]]เป็นครั้งแรก ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ตัวอักษรได้คลี่คลายจากตัวอักษรปัลลวะ มาเป็นตัวอักษรสีเหลี่ยม ก็คือสี่เหลี่ยมหรืออักษรมอญโบราณ และเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลงในระยะต่อมา จนในพุทธศตวรรษที่ 21 ก็ได้กลายเป็นอักษรมอญปัจจุบัน ที่มีลักษณะกลม สันนิษฐานว่าเกิดจากการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบน[[ใบลาน]] อักษรมอญปัจจุบันยุคนี้มีอายุ ประมาณ 400 ปีเศษ <ref>[http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=68&main_menu_id=3 อักษรมอญ]</ref>
 
ภาษามอญจัดอยู่ใน[[ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก]] (Austroasiatic Languages) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันอยู่ในแถบ[[อินโดจีน]]และทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และเมื่อพิจารณาลักษณะทาง[[ไวยากรณ์]] ภาษามอญจัดอยู่ในประเภท[[ภาษาคำติดต่อ]] (Agglutinative) อยู่ในกลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงใต้ (South Eastern Flank Group) นักภาษาศาสตร์ที่ชื่อ [[วิลเฮม สชมิต]] (Willhelm Schmidt) ได้จัดให้อยู่ในตระกูลภาษาสายใต้ (Austric Southern family)
เส้น 60 ⟶ 58:
[[พระยาอนุมานราชธน]]ได้กล่าวถึงภาษามอญไว้ว่า "ภาษามอญ นั้นมีลักษณะเป็นภาษาคำโดด ซึ่งมีรูปภาษาคำติดต่อปน ลักษณะคำมอญ จะมีลักษณะเป็นคำพยางค์เดียว หรือสองพยางค์ ส่วนคำหลายพยางค์ เป็นคำที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ เช่น [[ภาษาบาลี]]และ[[สันสกฤต]] และคำที่เกิดจากการเติมหน่วยคำผสาน กล่าวคือ การออกเสียงของคำซึ่งไม่เน้นการออกเสียงใน[[พยางค์]]แรก จะสร้างคำโดยการใช้การผสานคำ (affixation) กับคำพยางค์แรก เพื่อให้มีหน้าที่ทางไวยากรณ์ อีกทั้งการใช้หน่วยผสานกลางศัพท์ และการใช้สระต่าง ๆ กับพยางค์แรก ในคำสองพยางค์ ก็จะเป็นการช่วยเน้นให้พยางค์แรกเด่นชัดขึ้นด้วย แต่พยางค์หลังเป็นส่วนที่มีความหมายเดิม"
 
สรุปคือ ภาษามอญเป็นภาษาที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไม่มีการผัน[[คำนาม]] [[คำกริยา]] ตามกฎบังคับทางไวยากรณ์ ประโยคประกอบด้วย คำที่ทำหน้าประธาน กริยา และกรรม ส่วนขยายอยู่หลังคำที่ถูกขยาย<ref>[http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=158&main_menu_id=3 ภาษามอญ]</ref>
 
ในปัจจุบัน ชาวมอญรุ่นหลังหันมาใช้ภาษาพม่ากันมาก และมีจำนวนมากที่เลิกใช้[[ภาษามอญ]] จนคิดว่าตนเป็นพม่า อีกทั้งไม่ทราบว่าตนมีเชื้อสายมอญ จากการสำรวจประชากรมอญในปี ค.ศ. 1931 พบว่ามีจำนวนแค่ 3 แสน 5 หมื่นคน ต่อมาในปี ค.ศ. 1939 ได้มีการก่อตั้งสมาคมชาวมอญ และมีการสำรวจประชากรมอญอีกครั้ง พบว่ามีราว 6 แสนกว่าคน พอต้นสมัยสังคมนิยมสำรวจได้ว่ามีชาวมอญราว 1 ล้านกว่าคน ชาวมอญที่ยังพูดภาษามอญในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน [[รัฐมอญ]] แต่ในเขตเมืองก็จะพบแต่ชาวมอญที่พูดภาษาพม่าเป็นส่วนมาก<ref name="วิรัช นิยมธรรม">วิรัช นิยมธรรม, [http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=149&main_menu_id=1 มอญ : ต้นตออารยธรรมอุษาคเนย์] เรียบเรียงจากข้อเขียนของนายปันหละ พิมพ์ในสารานุกรมพม่า ฉบับที่ 10 </ref>
ใน[[ประเทศไทย]]เอง ก็มีการใช้[[ภาษามอญ]]ในการสื่อสารในชุมชนมอญแต่ละชุมชนในจังหวัดต่าง ๆ และในแต่ละชุมชนนั้นเองก็มีสำเนียงเฉพาะที่แตกต่างไปในชุมชนที่อาศัยซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากชุมชนอื่นที่ไม่ใช่ชาวมอญซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน โดยในบางชุมชนยังคงมีการสอนลูกหลานให้พูดภาษามอญกัน แต่บางชุมชนภาษามอญก็มีการใช้สื่อสารน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามใน[[จังหวัดสมุทรสาคร]]ก็มีชาวมอญจาก[[ประเทศพม่า]]ที่อพยพเข้ามาเป็นแรงงานต่างด้าวในจังหวัด ซึ่งได้นำภาษาพูดและภาษาเขียนกลับเข้ามาในชุมชนมอญแถบมหาชัยอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มีการใช้ภาษามอญ รวมไปถึงป้ายข้อความภาษามอญให้พบเห็นโดยทั่วไป<ref>สุกัญญา เบาเนิด [http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=173 ว่าด้วยตัวตนคนมอญย้ายถิ่นในมหาชัย]. วารสารเมืองโบราณ</ref>
 
ใน[[ประเทศไทย]]เอง ก็มีการใช้[[ภาษามอญ]]ในการสื่อสารในชุมชนมอญแต่ละชุมชนในจังหวัดต่าง ๆ และในแต่ละชุมชนนั้นเองก็มีสำเนียงเฉพาะที่แตกต่างไปในชุมชนที่อาศัย ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากชุมชนอื่นที่ไม่ใช่ชาวมอญซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน โดยในบางชุมชนยังคงมีการสอนลูกหลานให้พูดภาษามอญกัน แต่บางชุมชนภาษามอญก็มีการใช้สื่อสารน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามใน[[จังหวัดสมุทรสาคร]] ก็มีชาวมอญจาก[[ประเทศพม่า]] ที่อพยพเข้ามาเป็นแรงงานต่างด้าวในจังหวัด ซึ่งได้นำภาษาพูดและภาษาเขียนกลับเข้ามาในชุมชนมอญแถบมหาชัยอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มีการใช้ภาษามอญ รวมไปถึงป้ายข้อความภาษามอญให้พบเห็นโดยทั่วไป<ref>สุกัญญา เบาเนิด [http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=173 ว่าด้วยตัวตนคนมอญย้ายถิ่นในมหาชัย]. วารสารเมืองโบราณ</ref>
[[ไฟล์:MonVirgins.jpg|thumbnail|เด็กในชุดดั้งเดิมของชาวมอญ]]
 
=== ศิลปะ ===
[[ไฟล์:MonVirgins.jpg|thumbnail|เด็กในชุดดั้งเดิมของชาวมอญ]]
ศิลปวัฒนธรรมมอญนั้น กลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของพม่าไปหมดเพราะ เพราะศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่นั้นพม่าได้รับไปจากมอญ ศิลป[[สถาปัตยกรรม]]ประเภทเรือนยอด ([[กุฏาคาร]]) หรือหลังคาที่มียอดแหลมต่อขึ้นไป โดยเฉพาะเรือนยอดทรงมณฑปนี้ เป็นสถาปัตยกรรมมอญ ที่ไทยและพม่านำมาดัดแปลงใช้ต่อ
 
ศิลปดนตรี นั้น ไทยได้รับอิทธิพลจากมอญมามาก เช่น ไทยเรารับ[[ปี่พาทย์มอญ]] และรับได้ดีทั้งรักษาไว้จนปัจจุบัน และให้เกียรติเรียกว่า [[ปี่พาทย์มอญ]] นิยมบรรเลงใน[[งานศพ]] [[ดนตรีไทย]]ที่มีชื่อเพลงว่า มอญ นั้น นับได้ 17 เพลง เช่น มอญดูดาว มอญชมจันทร์ มอญรำดาบ มอญอ้อยอิ่ง นอกจากนี้ก็ยังมี [[มอญร้องไห้]] มอญนกขมิ้น ฯลฯ และยังมีแขกมอญ คือ ทำนองทั้งแขกทั้งมอญ เช่น แขกมอญบางขุนพรหม แขกมอญบางช้าง เป็นต้น เพลงทำนองของมอญ มีความสง่าภาคภูมิ เป็นผู้ดีมีวัฒนธรรม และค่อนข้างจะเย็นเศร้า ซึ่งเป็นลักษณะของผู้มีวัฒนธรรมสูง ย่อมสงวนทีท่าบ้างเป็นธรรมดา แต่ที่สนุกสนานก็มีบ้าง เช่น กราวรำมอญ มอญแปลง ฯ ส่วนเครื่องดนตรีประเภทให้จังหวะ คือ [[กลอง]] ที่เรียกว่า[[เปิงมาง]] นั้น คาดว่าเป็นของมอญ ซึ่งไทยเรานำมาผสมวงทำคอกล้อมเป็นวงกลมหลายวง เรียกว่า [[เปิงมางคอก]] ตีแล้วฟังสนุกสนาน และ [[จะเข้]] ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากมอญ<ref>[https://sites.google.com/site/bv540101/page1/page2 ประวัติและความเป็นมาของจะเข้]</ref><ref>[https://www.gotoknow.org/posts/310902 ดนตรีมอญในพม่าว่าด้วย"จะเข้"]</ref><ref>[http://www.panya4u.com/จะเข้/ เครื่องดนตรีไทย จะเข้ (เครื่องดีด)]</ref><ref>[https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/download/77251/62001 จะเข้ในบริบทสังคมไทย]</ref>
 
=== ประเพณีและศาสนา ===
ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวมอญนั้น มีวัฒนธรรมเป็นแบบฉบับมายาวนาน บางอย่างมีอิทธิพลให้กับชนชาติใกล้เคียง เช่น [[ประเพณีสงกรานต์]] [[ข้าวแช่]] ฯลฯ บางอย่างก็ถือปฏิบัติกันแต่เฉพาะในหมู่ชนมอญเท่านั้น ชาวมอญมีเลื่อมใสใน[[พระพุทธศาสนา]]อย่างลึกซึ้ง ขณะเดียวกันก็นับถือผีบรรพบุรุษกับผีอื่น ๆ ที่มีอิทธิฤทธิ์ รวมทั้ง[[เทวดา]]องครักษ์<ref>http://www.thaiws.com/pmch/monstudies.htm</ref>
 
ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ ของภาคกลาง ที่เรียกว่า ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ กำเนิดขึ้นใน [[จ.สมุทรปราการ]] ชาวพระประแดง (มอญปาก-ลัด) ปกติมักจัดขึ้นในช่วงเวลา วันที่ 13 เมษายนของทุกปี หรือตรงกับวันสงกรานต์นั่นเอง ความเป็นมาหรือสาระสำคัญของประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ ก็เพื่อเป็นการระลึกถึงและเป็นการบูชา รวมไปถึงการเฉลิมฉลองให้กับครั้งที่ พระพุทธเจ้าท่านเสด็จกลับลงจากจากชั้นภพ [[ดาวดึงส์]] นั่นเอง เป็นการถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยผู้คนต่างๆต่างมักจะนำเสาหงส์ และ ธงตะขาบ มาใช้คู่กัน
 
== มอญในประเทศไทย ==
=== หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ===
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11–13 คือเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 ม.ม. พบที่[[นครปฐม]]และ[[อู่ทอง]]นั้น พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า “ศรีทวารวดีศวร” และ มีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง ทำให้เชื่อได้ว่า ชนชาติมอญโบราณ ได้ตั้ง[[อาณาจักรทวารวดี]] (บางแห่งเรียกทวาราวดี) ขึ้นในภาคกลางของ[[ดินแดนสุวรรณภูมิ]] มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่ม[[แม่น้ำท่าจีน]] หรือ [[นครชัยศรี]]) กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้ (ลพบุรี) ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไป ถึงเมืองหริภุญชัยหรือ[[ลำพูน]] มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ. 1100 [[พระนางจามเทวี]] ราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ลพบุรี ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน
 
มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่ม[[แม่น้ำท่าจีน]]หรือ[[นครชัยศรี]]) กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้ (ลพบุรี) ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไป ถึงเมืองหริภุญชัยหรือ[[ลำพูน]] มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ. 1100 [[พระนางจามเทวี]] ราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ลพบุรี ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน ส่วนที่เมืองนครปฐมนั้นมีการพบ บริเวณ[[พระปฐมเจดีย์]] และใกล้เคียงมีการพบจารึก[[อักษรปัลลวะ]] [[บาลี]] [[สันสกฤต]] และ [[ภาษาอักษรมอญ]] ที่บริเวณ[[พระปฐมเจดีย์]] และบริเวณใกล้เคียงพบจารึก [[ภาษามอญ]] [[อักษรปัลลวะ]]โบราณ บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป เสาหงส์ วิหาร และแนวต้นมะพร้าวเป็นอาณาเขตพระอารามที่วัดโพธิ์ร้าง [[จังหวัดนครปฐม]] อายุราวพุทธศตวรรษที่ พ.ศ. 120012 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์)<ref name="พ">[http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=271 จารึกวัดโพธิ์ร้าง]</ref> และพบจารึกอักษรมอญโบราณ สมัยหริภุญไชย ที่ลำพูนอายุราวพุทธศตวรรษที่ พ.ศ.17 1628จำนวน 7 หลัก ที่ลำพูน (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน) <ref>http://www.finearts.go.th/hariphunchaimuseum/นิทรรศการถาวร/item/การจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ-ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ-หริภุญไชย</ref>
 
ต่อมา[[อาณาจักรขอม]]หลังจาก[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7]] สวรรคตใน พ.ศ. 1732 อำนาจขอมก็เริ่มเสื่อมลง [[พ่อขุนบางกลางหาว]] ที่สถาปนาเป็น [[พ่อขุนศรีอินทราทิตย์]] ประกาศตั้ง[[อาณาจักรสุโขทัย]] เป็นอิสระจากการปกครองของ[[ขอม]] [[พ่อขุนรามคำแหง]] พระราชโอรสของขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ครองราชย์และทรงดัดแปลง[[อักษรขอม]] และ [[อักษรมอญ]] มาประดิษฐ์เป็นลายสือไทย
 
ด้านจารึก[[ภาษามอญ]]บนใบลานนั้น พบมากมายตามหมู่บ้านมอญใน[[ประเทศไทย]] ส่วนที่[[ประเทศพม่า]]พบมากตามหมู่บ้านมอญในเมืองสะเทิมและเมืองไจก์ขมี ซึ่งมีการคัดลอกและรวบรวมนำมาเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติเมือง[[ย่างกุ้ง]] และที่ห้องสมุดมอญเมือง[[เมาะลำเลิง]] นอกจากนี้กองโบราณคดีและกองวัฒนธรรม ยังได้จัดพิมพ์วรรณกรรม ชาดก ตำรามอญ และเคยมีการริเริ่มจัดพิมพ์พจนานุกรมมอญ-พม่าอีกด้วย
 
=== มอญอพยพ ===
ทุกวันนี้ ชนชาติมอญ ไม่มีอาณาเขตประเทศปกครองตนเอง เนื่องจากตกอยู่ในภาวะสงคราม การแย่งชิงราชสมบัติกันเอง และการรุกรานจากพม่า ชาวมอญอยู่อย่างแสนสาหัส ถูกกดขี่รีดไถ มีการเกณฑ์แรงงานก่อสร้าง ทำไร่นาหาเสบียงเพื่อการสงคราม และเกณฑ์เข้ากองทัพ โดยเฉพาะสงครามในปี [[พ.ศ. 2300]] สมัย[[พระเจ้าอลองพญา]]เป็นสงครามครั้งสุดท้าย ที่ชาวมอญพ่ายแพ้แก่พม่าอย่างราบคาบ ชาวมอญส่วนหนึ่งจึงอพยพโยกย้ายเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในเมืองไทยหลายต่อหลายครั้ง เท่าที่มีการจดบันทึกเอาไว้รวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง
 
'''ครั้งที่ 1''' เมื่อ [[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]]ตี[[หงสาวดี]]แตกใน พ.ศ. 2082 ชาวมอญจำนวนมากหนีเข้ามา[[กรุงศรีอยุธยา]] พระเจ้าแผ่นดินโปรดฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตัวเมือง[[กรุงศรีอยุธยา]]ชั้นนอก พระยาเกียรติ พระยารามและครัวเรือนให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตัวเมืองชั้นใน ใกล้พระอาราม[[วัดขุนแสน]] และเมื่อถึง [[พ.ศ. 2084]] [[ราชวงศ์ตองอู]]ตีเมือง[[เมาะตะมะ]]แตก มีการฆ่าฟันชาวมอญลงขนาดใหญ่ ก็เข้าใจว่ามีชาวมอญหนีเข้ามาสู่[[กรุงศรีอยุธยา]]อีก ถือเป็นระลอกแรกของมอญอพยพ
เส้น 99 ⟶ 98:
'''ครั้งที่ 5''' ใน [[พ.ศ. 2204]] หรือ 2205 ชาวมอญในเมือง[[เมาะตะมะ]]ก่อการกบฏขึ้นอีก แต่ถูกพม่าปราบลงได้ จึงต้องอพยพหนีเข้ากรุงศรีอยุธยาอีกระลอกหนึ่ง ผ่านทาง[[ด่านเจดีย์สามองค์]] เข้าใจว่ากลุ่มนี้สัมพันธ์กับกลุ่มชาวมอญที่ตั้งอยู่ชายแดน
 
'''ครั้งที่ 6''' หลังจากที่ชาวมอญสามารถตั้งอาณาจักรของตนขึ้นได้ใหม่ในปลายราชวงศ์ตองอู แล้วยกกำลังไปตีกรุงอังวะแตก ต่อมาสมัย[[พระเจ้าอลองพญา]]รวบรวมกำลังพม่าแล้วลุกขึ้นต่อสู้จนในที่สุดก็ตั้ง[[ราชวงศ์คองบอง]]ได้ และใน [[พ.ศ. 2300]] ก็สามารถตี[[หงสาวดี]]ได้อีก นโยบายของราชวงศ์นี้คือกลืนมอญให้เป็นพม่าโดยวิธีรุนแรง จึงมีชาวมอญอพยพหนีมาสู่เมืองไทยอีกหลายระลอก รวมทั้งกลุ่มที่หนีขึ้นเหนือไปสู่ล้านนา และเรียกกันว่าพวกเม็งในปัจจุบันนี้
 
'''ครั้งที่ 7''' ใน [[พ.ศ. 2316]] ตรงกับสมัยกรุงธนบุรี ชาวมอญก่อกบฏใน[[ย่างกุ้ง]] พม่าปราบปรามอย่างทารุณแล้วเผาย่างกุ้งจนราบเรียบ ทำให้มอญอพยพเข้าไทยอีก [[พระเจ้าตากสิน]]โปรดฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่[[ปากเกร็ด]] ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มมอญเก่า (พระยารามัญวงศ์) และมอญใหม่ ([[พระยาเจ่ง]]) คนที่นับตัวเองเป็นชาวมอญในปัจจุบันล้วนอพยพเข้ามาจากระลอกนี้หรือหลังจากนี้ ส่วนชาวมอญที่อพยพก่อนหน้านี้กลืนหายเป็นไทยไปหมด แม้แต่กลุ่มที่อยู่ตามชายแดนแถบเมือง[[กาญจนบุรี]]
 
'''ครั้งที่ 8''' [[พ.ศ. 2336]] เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ยึดเมือง[[ทวาย]]ได้ แต่รักษาไว้ไม่ได้ ต้องถอยกลับเข้าไทย ก็นำเอาชาวมอญโดยเฉพาะที่เป็นพวกหัวหน้าเข้ามา
เส้น 141 ⟶ 140:
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|2}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ชาวมอญ"