ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
HakanIST (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 1.47.10.224 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Potapt
บรรทัด 1:
'''หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา''' เป็นระบบ[[การเขียนคำทับศัพท์]]ที่นิยมใช้มากที่สุดระบบหนึ่งในประเทศไทย โดยคณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์และคณะกรรมการปรับปรุงหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ ของ[[สํานักงานราชบัณฑิตยสภา]] (เดิมคือราชบัณฑิตยสถาน) เป็นผู้กำหนดและเสนอหลักเกณฑ์ต่อสํานักงานราชบัณฑิตยสภาเพื่อออกประกาศสํานักงานราชบัณฑิตยสภาให้ใช้หลักเกณฑ์ จากนั้น สํานักงานราชบัณฑิตยสภาจะเป็นผู้เสนอหลักเกณฑ์ต่อ[[คณะรัฐมนตรีไทย|คณะรัฐมนตรี]]เพื่อออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แล้วลงประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]]ต่อไป
 
== ความเป็นมา ==
ราชบัณฑิตยสถานได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศและเสนอให้คณะรัฐมนตรีประกาศใช้เป็นครั้งแรกใน ''ไบแนบที่ ๑ วิธีทับสัพท'' ของ ''ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องบัญญัติสัพทฉบับที่ ๑'' เมื่อปี [[พ.ศ. 2485]] ในครั้งนั้นได้กำหนดวิธีเทียบเสียงและถ่ายอักษรพยัญชนะและสระของภาษาตะวันตก 5 ภาษา ได้แก่ [[ภาษาฝรั่งเศส]] [[ภาษาเยอรมัน|เยอรมัน]] [[ภาษาสเปน|สเปน]] [[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]] และ[[ภาษาอิตาลี|อิตาลี]] รวมอยู่ในตารางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม วิธีทับศัพท์ตามประกาศฉบับนี้เน้นการถอดตัวอักษรมากกว่าการถ่ายเสียง คำทับศัพท์จึงอ่านแล้วไม่ใกล้เคียงการออกเสียงในภาษาต้นฉบับ ในระยะหลัง คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานจึงไม่ได้ยึดถือวิธีทับศัพท์ดังกล่าวอย่างเคร่งครัดนัก แต่พยายามทับศัพท์โดยการถ่ายเสียงมากขึ้น<ref>มงคล เดชนครินทร์. ''บัญญัติศัพท์-ศัพท์บัญญัติ.'' กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558, หน้า 73.</ref>