ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยสวนดุสิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 88:
พ.ศ. 2484 โรงเรียนได้ย้ายจาก[[วังจันทรเกษม]] (ที่ตั้ง[[กระทรวงศึกษาธิการ]]ปัจจุบัน) มาตั้งอยู่ในบริเวณ[[วังสวนสุนันทา]] บนพื้นที่ประมาณ 37 ไร่ (รวมพื้นที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ) บนกรรมสิทธิ์ที่ดินของ [[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนการเรือนพระนคร” ย้ายสังกัดจากกองอาชีวศึกษาไปสังกัดกองฝึกหัดครู [[กรมสามัญศึกษา]] เปิดสอนหลักสูตร ป.กศ., ป.กศ. ชั้นสูง
 
*<b>วังสวนสุนันทา [[พระราชวังดุสิต]]</b> เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสด็จมาประทับที่พระราชวังสวนดุสิตเป็นการถาวรหลังจาก[[การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่สอง]]แล้ว ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระราชอุทยานขึ้นทางด้านหลังของ[[พระที่นั่งอัมพรสถาน]] โดยให้มีลักษณะแบบสวนป่าแต่อยู่ในวังเพื่อเป็นที่ประทับของพระมเหสี พระราชธิดา และข้าบาทบริจาริกาของพระองค์ภายในสวนนี้ด้วย และพระราชทานนามสวนนี้ว่า “[[สวนสุนันทา]]” สวนนี้เป็นหนึ่งในสี่สวนสร้างล้อมรอบพระราชวังดุสิตตามความเชื่อเรื่องสวนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งมีอุทยานสวรรค์ 4 แห่งประกอบด้วย สวนนันทวัน หรือ นันทวนุทยาน หรือ สวนสุนันทา(ที่ตั้งมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน) สวนจิตลดาวันหรือ สวนจิตรลดา (ที่ตั้งพระตำหนักสวนจิตรลดาปัจจุบัน) สวนปารุสวัน(ที่ตั้งกองบัญชาการตำรวจนครบาลปัจจุบัน) และสวนมิสกวัน (ที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพภาค1ปัจจุบัน) ที่ตั้งสวนสุนันทาแต่เดิมคงจะเป็นที่ว่างระหว่างถนน 4 สาย คือ ถนนตะพานทอง (ถนนสามเสนใน) ถนนดวงดาวใน (ถนนนครราชสีมา) ถนนใบพร (ถนนอู่ทองนอก) และ ถนนซังอี้ (ถนนราชวิถี) จึงโปรดให้ขยายเขตพระราชฐานออกไปถึงถนนตะพานทอง และขยายถนนให้ใหญ่ขึ้นเท่าถนนซังอี้และถนนใบพร เอาถนนดวงดาวในมาเป็นถนนภายในพระราชวัง พร้อมทรงคาดการณ์ว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะโปรดฯ ให้รื้อกำแพงพระราชฐานด้านหลังออก รวมบริเวณสวนสุนันทาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพระราชฐาน แต่ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อนการรื้อกำแพงด้านหลังจึงระงับไป มีเพียงทางติดต่อจากเขตพระราชฐานทางด้านถนนบ๊วยเพียงประตูเดียวรัชกาลที่ 6 จึงได้พระราชทานนามประตูนี้ว่า “สุนันทาทวาร”
ในสวนสุนันทานี้มีตำหนักรวมทั้งสิ้นจำนวน 32 ตำหนัก (อยู่ในฝั่งโรงเรียนการเรือนพระนคร 15 ตำหนัก) พระตำหนักที่สำคัญในพื้นที่โรงเรียนการเรือนพระนคร เช่น พระตำหนักพระราชชายา [[เจ้าดารารัศมี]](ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้วตั้งอยู่บริเวณทางเชื่อมอาคาร 2 และ 3), พระตำหนัก[[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]](แต่ไม่ได้เสด็จมาประทับ) ปัจจุบันคืออาคารศิลปวัฒนธรรม, สมเด็จพระราชปิตุจฉา [[เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์]](ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้วตั้งอยู่บริเวณสระว่ายน้ำสวนดุสิต) เป็นต้น และรัชกาลที่ 6 โปรดฯ ให้สร้างท้องพระโรง ([[พระที่นั่งนงคราญสโมสร]]) ในปี พ.ศ. 2465
 
บรรทัด 120:
*<b>โฮมเบเกอรี่(Home Bakery)</b> ปี พ.ศ. 2528 ทางวิทยาลัยฯได้เปิดสอนระดับ[[อนุปริญญา]] สาขา[[คหกรรมศาสตร์]] โดยมีการจัดสอนการทำขนมเค้กขึ้นและด้วยที่ขณะนั้นทางวิทยาลัยฯ ขาดแคลนอุปกรณ์ในการสอน ทำให้นักศึกษาต้องช่วยกันลงขันเป็นเงินจำนวน 1,692.25 บาท เพื่อทำขนมส่งอาจารย์ หลังจากส่งอาจารย์แล้วก็นำไปแจกจ่ายให้กับบุคคลที่รู้จักทั่วไป ภายหลังมีการนำไปจำหน่ายเพื่อหาเป็นทุนในการทำเค้กครั้งต่อไป จากรสชาติที่อร่อยจึงกลายเป็นการพูดแบบปากต่อปากจนทำให้ขนมเริ่มมีคนซื้อจำนวนมากขึ้น ทางวิทยาลัยฯ จึงจัดสรรพื้นที่โรงจอดรถของอธิการ(ที่ตั้งโฮมเบเกอรี่ปัจจุบัน) เป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์และแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษาคหกรรมศาสตร์ โดยใช้ชื่อโครงการว่า “โครงการอาหารกลางวัน 2” (โครงการอาหารกลางวัน 1 คือ ครัวสวนดุสิต) ขนมเค้กที่รู้จักกันดีนับแต่นั้นคือ ”ท๊อฟฟี่เค้ก” โดยผู้คิดค้นสูตรนี้และอีกหลายร้อยชนิดคือ อาจารย์(ศาสตราจารย์)วันเพ็ญ จงสวัสดิ์ และทางมหาวิทยาลัยก็ได้พัฒนารูปแบบโฮมเบเกอรี่มาจนถึงทุกวันนี้
*<b>โบราณสถานอาคารพระที่นั่งนงคราญสโมสรและ[[วังสวนสุนันทา]]</b> ปี พ.ศ. 2522 บริเวณวังสวนสุนันทาเดิมทั้งหมด 121 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา ปัจจุบันคือที่ตั้งของ[[มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา]] [[กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น]] [[กรมการบรรเทาสาธารณภัย]] และมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ถูกจัดให้เป็นเขตโบราณสถานเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2522 โดยการดูแลจาก[[กรมศิลปากร]]ในฐานะผู้ดูแลโบราณสถานของชาติ และ[[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]]ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน
*<b>คณะวิทยาการจัดการ</b> ถือเป็นคณะใหม่ของสถาบันฯ จัดตั้งเพื่อรองรับสาขาที่จะเปิดสอนขึ้นใหม่ในขณะนั้นได้แก่ [[บริหารธุรกิจ]] [[บัญชี]] [[เศรษฐศาสตร์]] [[นิเทศศาสตร์]] [[อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว]]
*<b>คณะศิลปกรรมศาสตร์</b> จัดตั้งเป็นคณะฯหลังการเปลี่ยนสถานะเป็น[[สถาบันราชภัฏ]] โดยโอนย้ายสาขาที่เกี่ยวข้องจากคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มาได้แก่ [[ออกแบบนิเทศศิลป์]],[[ออกแบบประยุกต์ศิลป์]],[[ออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์]] แต่เนื่องจากสถานที่จัดการเรียนการสอนในขณะนั้นคับแคบ การจราจรหนาแน่นไม่เอื้อต่อการเรียนด้านการออกแบบ ทางสถาบันมีแนวคิดที่จะย้ายสถานที่และจัดตั้งคณะใหม่ในชื่อ คณะการออกแบบ ที่โครงการวิทยาเขตสุพรรณบุรี จึงมีการย้ายการเรียนการสอนจาก ที่ตั้งคณะฯ อาคาร 1 และ อาคาร 13 ไปที่ศูนย์ธนาลงกรณ์(ธนาลงกรณ์ทาวเวอร์) เป็นการชั่วคราว และยุบคณะศิลปกรรมศาสตร์โดยโอนสาขาทั้งหมดกลับไปยังคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ดูแล หลังจากนั้นมีการทดลองเปิดสาขาออกแบบแฟชั่น,ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ที่อาคารแฟชั่นและอาคารกลางน้ำ โครงการวิทยาเขตสุพรรณบุรีในเวลาต่อมา และมีการพัฒนาสาขาขึ้นมาใหม่คือ สาขาออกแบบนิทรรศการและงานแสดง ปัจจุบันสาขาทั้งหมดและโครงการจัดตั้งคณะยุบไปหมดแล้วคงเหลือเพียงสาขาเดียวคือ ออกแบบนิทรรศการและงานแสดง ซึ่งปัจจุบันโอนสังกัดจากคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มายังโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ วิทยาเขตสุพรรณบุรีแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552
 
===สถาบันราชภัฏสวนดุสิต (พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๔๗)===
ปี พ.ศ. 2535 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ[[สถาบันราชภัฏ]] เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคธุรกิจต่างๆ ของประเทศ ภารกิจของสถาบันราชภัฏที่เพิ่มขึ้นในขณะนั้นก็เพื่อการสร้างบุคลากรให้เพียงพอและตรงกับความต้องการด้านแรงงานของประเทศ ส่งผลให้วิทยาลัยครูสวนดุสิตเปลี่ยนสถานะและชื่อ เป็น “สถาบันราชภัฏสวนดุสิต” และสังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ [[กระทรวงศึกษาธิการ]]
*<b>[[สวนดุสิตโพล]]</b> ปี พ.ศ. 2534 วิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนวิชาเอก[[บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์]] เพื่อสร้างนักสารนิเทศขึ้นรองรับตลาดงานในช่วงนั้น และมีการจัดตั้งสวนดุสิตโพลขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เพื่อที่นักศึกษาวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ใช้เป็นแหล่งสร้างเสริมทักษะและประสบการณ์
 
*<b>คณะวิทยาการจัดการ</b> ถือเป็นคณะใหม่ของสถาบันฯ จัดตั้งเพื่อรองรับสาขาที่จะเปิดสอนขึ้นใหม่ในขณะนั้นได้แก่ [[บริหารธุรกิจ]] [[บัญชี]] [[เศรษฐศาสตร์]] [[นิเทศศาสตร์]] [[อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว]]
*<b>คณะศิลปกรรมศาสตร์</b> จัดตั้งเป็นคณะฯหลังการเปลี่ยนสถานะเป็น[[สถาบันราชภัฏ]] โดยโอนย้ายสาขาที่เกี่ยวข้องจากคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มาได้แก่ [[ออกแบบนิเทศศิลป์]],[[ออกแบบประยุกต์ศิลป์]],[[ออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์]]
แต่เนื่องจากสถานที่จัดการเรียนการสอนในขณะนั้นคับแคบ การจราจรหนาแน่นไม่เอื้อต่อการเรียนด้านการออกแบบ ทางสถาบันมีแนวคิดที่จะย้ายสถานที่และจัดตั้งคณะใหม่ในชื่อ คณะการออกแบบ ที่โครงการวิทยาเขตสุพรรณบุรี จึงมีการย้ายการเรียนการสอนจาก ที่ตั้งคณะฯ อาคาร 1 และ อาคาร 13 ไปที่ศูนย์ธนาลงกรณ์(ธนาลงกรณ์ทาวเวอร์) เป็นการชั่วคราว และยุบคณะศิลปกรรมศาสตร์โดยโอนสาขาทั้งหมดกลับไปยังคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ดูแล หลังจากนั้นมีการทดลองเปิดสาขาออกแบบแฟชั่น,ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ที่อาคารแฟชั่นและอาคารกลางน้ำ โครงการวิทยาเขตสุพรรณบุรีในเวลาต่อมา และมีการพัฒนาสาขาขึ้นมาใหม่คือ สาขาออกแบบนิทรรศการและงานแสดง ปัจจุบันสาขาทั้งหมดและโครงการจัดตั้งคณะยุบไปหมดแล้วคงเหลือเพียงสาขาเดียวคือ ออกแบบนิทรรศการและงานแสดง ซึ่งปัจจุบันโอนสังกัดจากคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มายังโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ วิทยาเขตสุพรรณบุรีแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552
*<b>ศูนย์การศึกษานอกสถาบัน</b> ช่วงปีพ.ศ. 2538-พ.ศ. 2552 มีความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการเข้าศึกษาในสถาบันฯ จำนวนมาก สถาบันฯ จึงมีการจัดตั้งศูนย์การศึกษานอกสถาบันขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด เปิดสอนในระบบปกติทั้งภาคปกติและภาคสมทบ ปริญญาตรี และปริญญาโทในบางศูนย์ฯ เพื่อรองรับรองความต้องการของผู้เรียน โดยผู้เรียนภาคปกติเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ในช่วง 2 ปีแรกจะเรียนที่ศูนย์การศึกษา และเข้ามาศึกษาอีก 2 ปีในสถาบันฯ กรุงเทพฯและปริมณฑลได้แก่ ศูนย์ซุปเปอร์เซฟ ศูนย์องค์การเภสัชกรรม ศูนย์อรรถวิทย์ ศูนย์ดุสิตพณิชยการ ศูนย์จรัลสนิทวงษ์ ศูนย์สุโขทัย ศูนย์สันติราษฏร์ ศูนย์ธนาลงกรณ์ ศูนย์บุษยมาส ศูนย์เซ็นทรัลปิ่นเกล้า ศูนย์อิมพีเรียลบางนา ศูนย์ระนอง2 ศูนย์ลุมพินี ศูนย์พณิชยการสยาม(ภายหลังยุบและย้ายไปศูนย์รางน้ำ) ศูนย์พงษ์สวัสดิ์ ต่างจังหวัดได้แก่ ศูนย์นครนายก ศูนย์ปราจีนบุรี ศูนย์นครปฐม ศูนย์ชลบุรี ศูนย์พัทยา ศูนย์สระบุรี ศูนย์พะเยา ศูนย์ลำปาง ศูนย์พิษณุโลก ศูนย์ตรัง ศูนย์หนองคาย วิทยาเขตสุพรรณบุรี และศูนย์หัวหิน ทำให้ช่วงนั้นสถาบันฯ มีนักศึกษารวมมากกว่า 4.5 หมื่นคน อาจารย์และบุคลากรกว่า 2,000 คน ในช่วงดังกล่าวนี้มีการนำเทคโนโลยีช่วยสอนและจัดการมาใช้เป็นครั้งแรก เช่น [[Video Conference]], [[Video on demand]], [[E-learning]], [[Visual library]], ระบบบริหารการศึกษา, E-asm Kiosk, ระบบ [[Intranet]] เป็นต้น ภายใต้นโยบาย “เทคโนโลยีก้าวไกล อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน”
ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนศูนย์การศึกษาเพื่อบริการท้องถิ่นและชุมชนคงเหลือเพียง 5 แห่งบนพื้นที่ของตนเอง ได้แก่ ศูนย์นครนายก ศูนย์ตรัง ศูนย์ลำปาง ศูนย์หัวหิน วิทยาเขตสุพรรณบุรี และเปลี่ยนเป็นศูนย์การเรียนรู้ 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์รางน้ำ ศูนย์ระนอง2
บรรทัด 487:
 
*'''''ที่ตั้ง / พื้นที่ : '''''
**ที่ตั้ง ถ.เพชรเกษม ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110พื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ตรงข้ามท่าอากาศยานหัวหิน ประกอบด้วยอาคารเรียนรวม 5 ชั้น และโครงการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการบินสูง 6 ชั้น (อาคารพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง) คาดว่าก่อสร้าง 2559-2560
*'''''หลักสูตรที่เปิดสอน '''''
**หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาธุรกิจการบิน
*'''''โครงการก่อสร้างปัจจุบัน '''''
**อาคารปฏิบัติการการบินสูง 6 ชั้น 1 อาคาร (พักพบปัญหาเรื่องแบบการก่อสร้างกับกองทัพอากาศ ย้ายโครงการไปก่อสร้างที่ศูนย์ลำปางแทน รอแบบการก่อสร้างชั่วคราวใหม่)
 
==== [http://www.suphan.dusit.ac.th/ วิทยาเขตสุพรรณบุรี]====
บรรทัด 517:
 
=== ศูนย์การเรียน ===
* [http://dusithost.dusit.ac.th/~rangnam/ รางน้ำ] ปี พ.ศ. 2548 มีการยุบศูนย์พณิชยการสยามลงและมีการย้ายไปที่แห่งใหม่ โดยนำนักศึกษาสาขาสถิติประยุกต์เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยทั้งหมด ส่วนวิทยาการคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์ธุรกิจย้ายไปเรียนที่ศูนย์รางน้ำ ศูนย์รางน้ำนี้ทางมหาวิทยาลัยมีโครงการนำสาขาที่เกี่ยวข้องด้านคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันได้แก่ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ในขณะนั้นคือเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อมามีการยกเลิกโครงการไป คงเหลือแค่เพียง วิทยาการคอมพิวเตอร์มาจนถึงทุกวันนี้
* [http://dusithost.dusit.ac.th/~ranong2/ ระนอง 2] ปี พ.ศ. 2544 ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับ "โครงการจัดตั้งคณะนิเทศศาสตร์" โดยศูนย์ระนอง 2 นับว่าเป็นศูนย์ที่มีความพร้อมในด้านของอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากที่สุดในยุคนั้น