ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาพิพัฒนธนากร (ฉิม โปษยานนท์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thonburi123 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thonburi123 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 23:
มหาอำมาตย์ตรี พระยาพิพัฒนธนากร (ฉิม โปษยานนท์) เป็นบุตรหลวงวารีราชายุกต์ (โป๊ โปษยานนท์) และท่านเสงี่ยม บุตรพระยาภักดีภัทรากร (ภัทรนาวิก) เกิดเมื่อ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2426 ตรงกับวันศุกร์ ขึ่น 6 ค่ำ เดือน 20 จุลศักราช 1245 เวลายํ่ารุ่ง 15 นาที ณ บ้านโปษกี่ ริมแม่นํ้าเจ้าพระยา[[ฝั่งธนบุรี]]
 
เมื่อเยาว์ท่านบิดาได้หาจีนแสมาเป็นครูสอนหนังสือจีนอยู่กับบ้าน ครั่นอายุ 9 ขวบ ท่านบิดาไก้ส่งออกไปศิกษาหนังสือจีน ที่บ้านเอ้าเคยกิม เมืองแต้จิ๋ว ในประเทศจีน เรียนอยู่ได้ 3 ปี ท่านบิดาได้เรียกกลับมาเมืองไทย ในปี พ.ศ. 2437 ขณะที่มีอายุได้ 12 ปี ได้เข้าเรียนหนังสือที่[[โรงเรียนอัสสัมชัญ]] เมื่อออกจาก[[โรงเรียนอัสสัมชัญ]] ได้เข้าฝึกทํางานที่ห้าง บอเนียวกําปนี 1 ปี จึงได้ลาออกมาทําการอุปสมยทในปี พ.ศ. 2446 ที่วัดทองนพคุณ ครบพรรษาจึงสึกแล้วได้ทํางานอยู่กับบิดา (หลวงวารีราชายุกต์) อายุ 23 ปี
 
พ.ศ. 2450 อายุ 23 ปี [[หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ สุประดิษฐ์]]ได้ให้คนมมาตามให้เข้ารับราชการในกรมฝิ่น ([[กรมสรรพสามิต]]) ทรงแจ่งจั้งให้เป็นหัวหน้ากองคลังรักษาและควบคุมกองบรรจุฝิ่นใส่อับ ได้รับพระราชทานเงินเดือนเริ่มตันเดือนละ 300 บาท
บรรทัด 40:
 
เมื่อออกจากราชการแล้ว มหาอำมาตย์ตรี พระยาพิพัฒนธนากรได้ประกอบการค้าและได้เป็นประธาน บริษัทไทยพานิชย์ประกันภัย จํากัด บริษัทรวมรถยนต์ประกันภัย จํากัด บริษัทคลังสินค้าเอเชีย จํากัด และบริษัท[[ธนาคารเอเชีย]] ได้เป็นกรรมการอีกหลายบริษัท เช่น บริษัทประกันคุ้มภัย จํากัด บริษัทไทยประกันชีวิต บริษัทไทยเศรษฐกิจ บริษัทสามัคคีประกันภัย บริษัทเกลือไทย จํากัด ฯลฯ แม้จะออกจากราชการแล้วท่านก็ยังช่วยเหลือทางราชการ เช่น รับเป็นกรรมการสภากาชาดไทย กรรมการสมาคมปราบวัณโรค กรรมการพระคลังข้างที่ เป็นประธานกรรมการส่งเสริญสันติราษฏร์ เป็นสมาชิกวุฒิสภาและเป็นเทศมนตรีธนบุรี
 
ทางพระมหากษัตริย์ มหาอำมาตย์ตรี พระยาพิพัฒนธนากรเทิดทูนพระมหากษัตริย์ เมื่อพระเจ้าอยู่หัว[[รัชกาลที่ 8]] สวรรคต ท่านได้เป็นหัวหน้ารวบรวมพวกพ่อค้าชาติต่างๆ ที่ท่านรู้จักให้ร่วมกันบำเพ็ญกุศลทูลเกล้าฯ ถวายทุก 7 วัน ความทรงทราบถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[[รัชกาลที่ 9]] จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน[[เหรียญรัตนาภรณ์]]แก่ท่าน
 
เมื่อมหาอำมาตย์ตรี พระยาพิพัฒนธนากรถึงแก่อนิจกรรม ท่านได้รับพระราชทานโกศใส่ศพเป็นพิเศษ
 
==ครอบครัว==