ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 31:
หลังจากนั้น ก็ยุติการแพร่ภาพชั่วคราว เพื่อดำเนินการในทางเทคนิค โดยเมื่อวันศุกร์ที่ [[1 ธันวาคม]] มีการประกอบพิธีสถาปนา บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ อย่างเป็นทางการ และในปีถัดมาคือ [[พ.ศ. 2511]] คณะกรรมการฯ ทำสัญญากับทาง บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ซึ่งกำหนดให้บริษัทฯ จัดสร้างอาคารที่ตั้ง ''[[สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7]]'' ภายในบริเวณที่ทำการ ททบ.สนามเป้า พร้อมติดตั้งเครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 500 วัตต์ เพื่อมอบทั้งหมดให้แก่ ททบ. แล้วจึงทำสัญญาเช่าช่วงจาก ททบ.เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อเข้าบริหารงานอีกทอดหนึ่ง โดยในระยะสองปีแรก (จนถึงปี พ.ศ. 2513) ใช้บุคลากรและห้องส่งร่วมกับ ททบ.ไปพลางก่อน พร้อมทั้งนำรถประจำทางเก่าสามคัน เข้าไปจอดไว้ภายในที่ทำการ ททบ.สนามเป้า แล้วรื้อที่นั่งออกทั้งหมด เพื่อใช้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ไปพลางก่อน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ [[4 มีนาคม]] ปีเดียวกัน บจก.ไทยโทรทัศน์ ทำสัญญาดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ ร่วมกับ ''[[บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด]]'' ({{lang-en|Bangkok Entertainment Company Limited}}; ชื่อย่อ: บีอีซี; BEC) ซึ่ง[[วิชัย มาลีนนท์]] ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ [[10 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2510 โดยมีอายุสัญญา 10 ปีนับแต่เริ่มออกอากาศ
 
เมื่อวันที่ [[5 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2512]] บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จัดหาเครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 10 กิโลวัตต์ พร้อมเสาอากาศสูง 570 ฟุต และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็ม กำลังส่ง 1 กิโลวัตต์ เพื่อส่งมอบให้แก่ ททบ. ต่อมาใน[[วันพฤหัสบดี]]ที่ [[26 มีนาคม]] พ.ศ. 2513 [[ถนอม กิตติขจร|จอมพล ถนอม กิตติขจร]] นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานพิธีเปิด ''[[สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]]'' <ref name="history">[http://www.thaitv3.com/ch3/guide/aboutus_history.php ประวัติสถานีฯ] จากเว็บไซต์ไทยทีวีสีช่อง 3</ref><ref name="managermag">[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=11253 34 ปี ช่อง 3] จาก[[เว็บไซต์]]นิตยสาร[http://www.gotomanager.com ผู้จัดการ 360 องศา]</ref> (ชื่อสากล: HS-TV 3<ref>[http://www.thaitv3.com/ch3/images/guide/Ch3BuildingFirst.jpg ภาพหน้าอาคารสถานีฯ แสดงชื่อรหัสสากลของช่อง 3] จากเว็บไซต์สถานีฯ</ref>) ซึ่งดำเนินการโดย บจก.[[บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์]] ที่เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เวลา 10:00 น.<ref name="history"/> ด้วยเครื่องส่งโทรทัศน์สี ระบบแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที ขนาด 25 กิโลวัตต์ สองเครื่องขนานกัน รวมกำลังส่งเป็น 50 กิโลวัตต์ เสาอากาศเครื่องส่งมีความสูง 250 เมตร มีอัตราการขยายกำลังออกอากาศ 13 เท่า กำลังสัญญาณที่ปลายเสาอยู่ที่ 650 กิโลวัตต์ ออกอากาศผ่านคลื่นวิทยุ ในย่านความถี่สูงมาก ทางช่องสัญญาณที่ 3 ซึ่งอยู่ในช่วงต่ำ (low band) และเมื่อวันที่ [[1 มิถุนายน]] ปีเดียวกัน บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ย้ายเข้าใช้อาคารที่ทำการถาวร ของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 บริเวณหลัง[[สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต)]] แห่งเดิม<ref name="profile1">[http://www.ch7.com/aboutus/default.aspx?CategoryId=44 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7] จากเว็บไซต์ช่อง 7 สี</ref>
 
กล่าวโดยสรุปคือ ระหว่างปี [[พ.ศ. 2513]]-[[พ.ศ. 2517|2517]] ในระบบแพร่ภาพ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (เป็นภาพขาวดำทั้งหมด) ไทยทีวีสีช่อง 3 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 2, ไทยทีวีช่อง 4 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 4/11/12, ททบ.7 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 7, ช่อง 7 สี รับชมทางช่องสัญญาณที่ 9 ส่วนระบบแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที ไทยทีวีสีช่อง 3 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 3 เป็นภาพสี, ททบ.7 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 5 เป็นภาพขาวดำ, ช่อง 7 สี รับชมทางช่องสัญญาณที่ 7 เป็นภาพสี, ไทยทีวีช่อง 4 รับชมทางช่องสัญญาณที่ 9 เป็นภาพขาวดำ นอกจากนี้ ทั้งสี่ช่องยังมีคลื่นวิทยุซึ่งจัดสรรไว้ สำหรับกระจายเสียงภาษาต่างประเทศ ในภาพยนตร์หรือรายการจากต่างประเทศ โดยไทยทีวีช่อง 4 ใช้สถานีวิทยุ ท.ท.ท. ความถี่เอฟเอ็ม 100.5 เมกะเฮิร์ตซ์ และมีระบุในสัญญากับ บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ยกคลื่นความถี่เอฟเอ็ม 105.5 เมกะเฮิร์ตซ์ ของสถานีวิทยุ ท.ท.ท. ให้แก่ไทยทีวีสีช่อง 3 เพื่อใช้ในการนี้ ส่วน ททบ.7 ใช้สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก (ว.ทบ.) ความถี่เอฟเอ็ม 94.0 เมกะเฮิร์ตซ์ และมีระบุในสัญญากับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ยกคลื่นความถี่เอฟเอ็ม 103.5 เมกะเฮิร์ตซ์ ของ ว.ทบ.ให้แก่ช่อง 7 สี เพื่อใช้ในการนี้