ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 32:
หลังจากแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 1 ที่เรียกว่า "แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ซึ่งเน้นพัฒนาให้คนมีงานทำและการคมนาคมสะดวก และแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 2 ที่เรียกว่า "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" เริ่มเป็นที่ยอมรับกันว่าการพัฒนาใดๆ จะสำเร็จได้ต้องมีการพัฒนาคนให้มีคุณภาพก่อน และปัจจัยที่ช่วยให้คนมีคุณภาพก็คือการศึกษา สถาบันการศึกษาในระยะนั้นมีบทบาทสำคัญในการผลิตคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยเน้นด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์กรรม
 
ท่านอาจารย์ศุชัยศุภชัย แย้มชุติ เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในแวดวงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและได้เล็งเห็นความสำคัญในการผลิตกำลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศในด้านอุตสาหกรรม จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างโรงเรียนช่างกลโรงเรียนราษฎร์ขึ้น เนื่องจากขณะนั้นมีโรงเรียนช่างกลรัฐบาลเพียง 4 โรง ซึ่งผลิตช่างอุตสาหกรรมออกไปพัฒนาประเทศได้ไม่เพียงพอ ท่านอาจารย์ศุภนัยจึงได้ปรึกษาท่านอาจารย์สิทธิผล พลาชีวิน ผู้บริหารโรงเรียนช่างกลของรัฐบาลเพื่อจะเปิดโรงเรียนช่างกลโรงเรียนราษฎร์ขึ้น และในที่สุด โรงเรียนช่างอุตสาหกรรมพณิชยการ "หมู่บ้านครู" จึงก่อกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 โดยเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายอาชีพ ในสาขาช่างกล ช่างก่อสร้าง และพณิชยการ จากนั้นโรงเรียนได้เปิดสาขาช่างสำรวจเพิ่มขึ้นในปีพ.ศ 2513 และสาขาเกษตรกรรมในปี พ.ศ. 2518
 
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2522 โรงเรียนช่างกลอุตสาหกรรมพณิชยการ "หมู่บ้านครู" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเทคโนโลยีหมู่บ้านครู หรือ (วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู) ในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและในปีพ.ศ 2522 ได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์กลุ่มแรกในไม่กี่โรงที่ทางการอนุญาตให้เปิดได้ โดยมีการเรียนการสอนในสาขาช่างยนตร์ ช่างสำรวจ และช่างไฟฟ้า จนในปีต่อๆมาเปิดแผนกช่างก่อสร้าง เทคนิคอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์