ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เปรียญธรรม 9 ประโยค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4:
ผู้สอบไล่ได้ในชั้นนี้ ตามกฎหมายเทียบวุฒิเท่าระดับ[[ปริญญาตรี]] อ้างอิง <ref>[http://www.baanjomyut.com/library/law/37.html พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527 มาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540]</ref>
 
ตามข่าวไทยรัฐฉบับพิมพ์ 12 พ.ค. 2559 กล่าวถึงการลุ้นเทียบวุฒิ ป.ธ.9 เป็น “ด็อกเตอร์”ไม่สามารถเทียบกันได้มันคนละเรื่องกัน อ่านข่าวต่อได้ที่:<ref>[http://www.thairath.co.th/content/618976 ลุ้นเทียบวุฒิ ป.ธ.9 เป็น “ด็อกเตอร์”]</ref> เมื่อกล่าวถึงภาษาบาลีที่อ้างถึงความสำคัญนั้นสรุปว่า แต่เดิมภาษาบาลีคือภาษามคธที่คนในแคว้นมคธใช้พูดกันเท่านั้น เพราะภาษาบาลีไม่มีอักษรใช้เขียนเป็นตัวหนังสือ พระพุทธเจ้าตรัสสอนธรรมด้วยภาษามคธเพราะแคว้นมคธเป็นแคว้นใหญ่ เหตุที่ภาษาบาลีไม่มีอักษรเขียน จึงต้องอาศัยอักษรจากภาษาอื่นเป็นตัวเขียน เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรไทย อักษรโรมัน เป็นต้น ในปัจจุบันภาษาบาลีถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว เหมือนภาษาละติน ถึงแม้มีคนใช้พูดอยู่ก็น้อยมาก ในพระพุทธศาสนามีเพียงนิกายเถรวาทที่ใช้ภาษาบาลี เช่นในพระไตรปิฎก เป็นต้น ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ <ref>[https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20110806032541AAuiDo4 ภาษาบาลี สันสกฤต ยังใช้พูดกันหรือไม่ ประเทศไหน?]</ref>
 
ความหวังผู้ที่สอบได้ ป.ธ.๙ สามารถเทียบเท่าระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ ดร.ทางฝ่ายโลกได้ คือ เป็น ดร. แผนกภาษาบาลี สาขาวิชาภาษาบาลี <ref>[http://www.phrathai.net/node/391 เสนอเทียบเปรียญ 9 เท่าปริญญาเอก]</ref>
บรรทัด 10:
ข้อสังเกตในการเสนอเทียบ ป.ธ. 9 เท่าปริญญาดุษฎีบัณฑิตฝ่ายทางโลกนั้น ควรได้พิจารณาว่ามีความเหมาะสมเพียงใดและเพื่อประโยชน์อย่างใด ในเมื่อตามกฎหมายไทยเทียบวุฒิเท่าระดับปริญญาตรี ซึ่งมีความเหมาะสมทั้งประโยชน์และคุณวุฒิอยู่แล้ว สำหรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตฝ่ายทางโลกเสนอให้แต่ผู้สมควรที่มีผลงานการวิจัยบนเรื่องใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครได้ทำการวิจัยเช่นนั้นมาก่อน ตามกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบันจึงเห็นควรให้ ป.ธ. 9 เทียบวุฒิเท่าระดับปริญญาตรี ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่แล้ว ถ้าผู้ได้รับ ป.ธ. 9 ต้องการศึกษาต่อขั้นปริญญาดุษฎีบัณฑิต จะสามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรตามความต้องการได้ อย่างเช่นผู้สำเร็จปริญญาตรีทางภาษาศาสตร์ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน เป็นต้น ซึ่งมีความสามารถ เขียน อ่าน แปล พูด ได้อย่างดีเหมือนพระสงฆ์ที่มีความสามารถทางภาษาบาลีสอบผ่านได้ ป.ธ. 9 แต่ถ้าผู้สำเร็จปริญญาตรีทางภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยทางโลกจะศึกษาต่อปริญญาดุษฎีบัณฑิต จำเป็นต้องศึกษาต่อและปฏิบัติตามความต้องการของมหาวิทยาลัยที่ศึกษาต่อนั้น
 
[[พระภิกษุ]]สามเณรผู้สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค เมื่อเข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตร พัดเปรียญ ในพระ[[อุโบสถ]] [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] แล้ว จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ จัดเจ้าพนักงานขับ[[รถหลวงปลดระวาง]] ส่งถึงยังอาราม
 
ส่วน[[สามเณร]]ผู้สอบไล่ได้ในชั้นเปรียญธรรม 9 ประโยค โดยมีอายุไม่เกิน 20 ปี จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ]] โปรดให้เข้ารับการ[[บรรพชา]][[อุปสมบท]]ใน[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] โดยได้รับพระราชทานเครื่อง[[อัฏฐบริขาร]] ทรงรับเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระราชกุศลบรรพชาอุปสมบทให้ตามโบราณราชประเพณี หรือเรียกว่าทรงรับเป็น [[นาคหลวง]] นั่นเอง '' (นาคหลวงสายเปรียญธรรม) ''