ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิอำนาจนิยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Looknarm (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย: “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''อำนาจนิยม''' ({{lang-en|authoritarianism}}) เป็นรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่อ[[อำนาจหน้าที่]] ตามปกติมักตรงข้ามกับ[[ปัจเจกนิยม]]และ[[อิสรนิยม]] ในทาง[[การเมือง]] รัฐบาลอำนาจเป็นรัฐบาลซึ่งอำนาจหน้าที่ทางการเมืองกระจุกตัวอยู่กับนักการเมืองกลุ่มเล็ก
 
อำนาจนิยม เป็นระบอบการเมืองที่มีฐานอยู่บน[[อุดมการณ์ทางการเมือง]]แบบ[[เผด็จการ]]ชนิดที่ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือ[[รัฐ]] หรือกลุ่มคนใดๆ ในการธำรงไว้ซึ่งเป้าหมายสูงสุด คือ การรักษาอำนาจของตน (Kurian, 2011: 103)<ref>Kurian, George Thomas (2011). The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.</ref> โดยมักจะไม่คำนึงถึง[[สิทธิ]] [[เสรีภาพ]]ของ[[ประชาชน]] ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็น[[ปฏิปักษ์]]กับผู้นำ ควบคุม[[สื่อมวลชน]] ผูกขาดการใช้อำนาจและจำกัดการตรวจสอบ
 
กล่าวได้ว่า ระบอบอำนาจนิยมเป็นระบอบการเมืองที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด ในประวัติศาสตร์การปกครองของ[[มนุษยชาติ]] ทุกวันนี้ “อำนาจนิยม” เป็นคำที่ถูกใช้ถึงบ่อยครั้งที่สุด เมื่อกล่าวถึง[[ระบอบการปกครอง]]ที่ไม่เป็น[[ประชาธิปไตย]] ลักษณะเด่นสำคัญของระบอบอำนาจนิยม คือ การกระทำและการตัดสินใจของผู้ปกครองไม่ถูกจำกัดโดย[[สิทธิ]] [[เสรีภาพ]] และ[[ความเสมอภาค]]ของ[[ประชาชน]] ในขณะที่[[สิทธิ]] [[เสรีภาพ]]ของ[[ประชาชน]]มีอยู่อย่างจำกัด กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิทางการเมืองของประชาชน หากมีอยู่บ้าง ก็จำกัดเต็มที ด้วยเหตุที่ผู้ปกครองอำนาจนิยมจะสร้างกฎระเบียบ มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าใน[[สังคม]] ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมมักไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางการเมืองใดๆ ยกเว้น กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจรัฐ ฉะนั้น การต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบการชุมนุมประท้วงและเดินขบวนตามจังหวะและโอกาส จึงแทบจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมชนิดเดียวที่ทำได้ ในขณะที่[[เสรีภาพ]]ของ[[สื่อมวลชน]]และ[[ประชาชน]]ที่จะวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อระบบการเมืองจะถูกตรวจสอบ หากฝ่าฝืนจะมีมาตรการลงโทษ
 
อำนาจนิยมมีลักษณะของอำนาจที่เข้มข้นและรวมเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก ซึ่งรักษาไว้โดยการปราบปรามทางการเมืองและการกีดกันคู่แข่งที่เป็นไปได้ รัฐบาลอำนาจนิยมใช้พรรคการเมืองและองค์การมวลชนเพื่อระดมคนมารอบมารอเป้าหมายของรัฐบาล
 
อย่างไรก็ตาม ในระบอบอำนาจนิยม [[ประชาชน]]สามารถดำเนินชีวิตประจำวันในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับมิติทาง[[การเมือง]]ได้อย่างปกติ สามารถเลือกประกอบอาชีพ นับถือศาสนา และสังสรรค์หาความสุขได้โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจาก[[รัฐบาล]] แต่กระนั้น ในบางประเทศ[[สิทธิ]]และ[[เสรีภาพ]]ในการดำเนินชีวิตอาจถูกควบคุมโดยธรรมเนียมปฏิบัติ [[บรรทัดฐาน]]หรือความเชื่อทางศาสนาที่เข้มงวด ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือคนละส่วนกับอำนาจรัฐในระบบ[[การเมือง]]ก็ได้ ประเทศที่จัดได้ว่าเป็นระบอบอำนาจนิยม เช่น [[อิหร่าน]] [[สหภาพเมียนมาร์]] (พม่า--Union of Myanmar) [[ซาอุดิอาระเบีย]] และ[[อินโดนีเซีย]] ภายใต้นายพล[[ซูฮาร์โต]] เป็นต้น
 
ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ประสบการณ์ทางการเมืองของประเทศใน[[ลาตินอเมริกา]] นำมาสู่คำเรียกขาน “ระบอบราชการ-อำนาจนิยม” (bureaucratic authoritarianism) ที่ใช้อธิบายประเทศจำนวนหนึ่งที่เคยเป็น[[ประชาธิปไตย]] แต่เกิดหักเหจนในที่สุดระบอบประชาธิปไตยต้องล่มสลาย และถูกแทนที่ด้วยแนวร่วมระหว่างคณะทหารกับพลเรือนที่ทำการ[[รัฐประหาร]]ยึดกุม[[สถาบันการเมือง]]ที่มาจาก[[การเลือกตั้ง]] ชนชั้นนำที่ประกอบด้วย [[ทหาร]] [[ข้าราชการพลเรือน]] นักเทคนิคระดับสูง (technocrats[[technocrat]]<nowiki/>s) ตลอดจนนักธุรกิจชั้นนำดำเนินนโยบายที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของ[[ประชาชน]]ในการกำหนดนโยบาย และการเข้ามาแข่งขันในตลาดการเมือง โดยคณะทหารและระบบราชการดังกล่าว แสดงบทบาททางการเมืองในฐานะที่เป็น[[สถาบัน]] ไม่ใช่ตัวบุคคล นักวิชาการลาตินอเมริกาวิเคราะห์ว่า ระบอบราชการ-อำนาจนิยม เป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบทุนนิยมแบบพึ่งพา ประเทศที่จัดว่าใช้ระบอบราชการ-อำนาจนิยม เช่น [[บราซิล]] [[อาร์เจนตินา]] และ [[ชิลี]]
 
อำนาจนิยมที่มีการกล่าวถึงในยุคปัจจุบันที่ปรากฏมากที่สุดคือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms) หรือระบอบอำนาจนิยมที่มีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏให้เห็นในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง และ[[แอฟริกาเหนือ]] (Linz, 2000: 34; Badie, 2011: 107)<ref>Linz, Juan (2000). Totalitarian and authoritarian. Boulder: Lynne Rienne.</ref><ref>Badie, Bertrand, Dirk Berg-Schlosser, and Leonardo Morlino (2011). International
encyclopedia of political science. Thousand Oaks, Calif.: SAGE Publications.</ref> ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน กระบวนการอันสำคัญและจำเป็นกระบวนการหนึ่งที่มิอาจขาดหายไปได้เลยก็คือ [[การเลือกตั้ง]] (election) เพราะเป็นกระบวนการที่จะทำให้[[ประชาชน]]เจ้าของอำนาจได้แสดงออกซึ่ง[[เจตจำนงเสรี]]ของแต่ละบุคคล ทว่า[[การเลือกตั้ง]]ก็อาจมิใช่ตัวบ่งชี้ถึงความเป็น[[ประชาธิปไตย]]เสมอไป เพราะระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศได้อาศัยกระบวน[[การเลือกตั้ง]]มาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครอง และการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ด้วยการอ้างเสียงสนับสนุนข้างมาก ทำให้เกิดอำนาจนิยมแบบใหม่ที่เรียกว่า อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism) ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า [[การเลือกตั้ง]]มิได้เท่ากับการมี[[ประชาธิปไตย]]เสมอไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ [[การเลือกตั้ง]]เป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่อาจไม่ “เพียงพอ” ที่จะแบ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ออกจากระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย