ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปีย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 7139153 สร้างโดย Octopus81 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
 
<blockquote>"ฝ่ายเจ้าฟ้าหญิงนั้น ครั้นทรงได้รับแจ้งพระราชดำริ ก็ทรงไม่ยินยอมพร้อมพระทัยด้วย ชะรอยจะทรงมีความหยิ่งในราชสมภพ ดังที่เธอทรงแสดงอยู่ให้ประจักษ์ จึงไม่อาจลดพระองค์ลงมาอภิเษกกับบุคคลในชั้นไพร่ได้ หรือชะรอยจะเป็นดังที่คนทั้งหลายเข้าใจกันอยู่ กล่าวคือเธอมีน้ำพระทัยโน้มน้าวและผูกพันในทางอภิเษกสมรสมาแต่ก่อนกับพระปิตุลา [สมเด็จเจ้าฟ้าน้อย] อยู่แล้ว ...เธอก็ยังทรงยึดมั่นในพระราชดำริดั้งเดิมของในหลวงที่จะอภิเษกเธอให้แก่เจ้าชายองค์นั้นอยู่เสมอ แต่เรื่องได้ดำเนินไปอย่างลับ ๆ ดังที่กระผม [บาทหลวงโกลด เดอ แบซ] ได้ยินเขาพูดกันมา ว่าแม้ในหลวงหรือ นายกงส์ต็องส์ [เจ้าพระยาวิชเยนทร์] ก็มิได้ล่วงรู้ระแคะระคายเลย ในหลวงทรงขัดพระทัยเป็นอันมาก ในการที่พระราชธิดาทรงขัดขืนพระราชประสงค์อย่างหนักแน่น ไม่ทรงยินยอมอภิเษกสมรสกับพระปีย์..."<ref>เดอะ แบส (เขียน), สันต์ ท. โกมลบุตร (แปล). บั''นทึกความทรงจำของบาทหลวง เดอะ แบส เกี่ยวกับชีวิตและการมรณกรรมของก็องสตังซ์ ฟอลคอน''. นนทบุรี : ศรีปัญญา. 2550, หน้า 101-102</ref></blockquote>
 
{{อ้างอิง-เส้นใต้|สำหรับพระปีย์เอง สมเด็จพระนารายณ์ทรงสนับสนุนให้ได้ราชสมบัติ (หรืออย่างน้อยๆ ก็ได้ครองเมืองพิษณุโลก หัวเมืองเอกทางเหนือ) และได้รับการยกย่องสูงมากดุจมกุฎราชกุมาร}} เช่น เมื่อเวลาเสด็จทางสถลมารค พระปีย์ก็มีช้างส่วนตัว ไม่ต้องตั้งแถวหมอบกราบเหมือนขุนนางคนอื่นๆ ดังบันทึกตอนหนึ่งของ นิโกลาส์ แชรแวส ที่ระบุว่า
 
<blockquote>"เบื้องหลังพระเจ้าแผ่นดินไปแปดหรือสิบก้าว มีช้างอีกเชือกหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะงดงาม และประดับเครื่องอลังการไม่แพ้ช้างพระที่นั่งที่เดินตามหลังมา เป็นช้างที่นั่งของเจ้าชายซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงรับไว้เป็นราชบุตรบุญธรรมองค์นั้น ติดตามด้วยช้างขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งหมอบราบมาบนหลังเปล่าโดยไม่มีกูบและสงบปากสงบคำอย่างยิ่ง มีข้าทาสติดตามหลังมาอีกทอดหนึ่ง ทิ้งระยะห่างจากกองร้อยทหารรักษาพระองค์เพียงสามหรือสี่ก้าวเท่านั้น อันเป็นการปิดขบวนเสด็จพระราชดำเนินโดยทางสถลมารค"{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}</blockquote>
 
ทั้งนี้พระปีย์มักตกเป็นหุ่นเชิดทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง<ref name="หม่อมปีย์"/> โดยเขาได้รับการสนับสนุนจาก[[เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)]] ให้เป็นรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์ ด้วยเขามองว่าพระปีย์ไม่มีพิษภัย มีใจโอนอ่อนทาง[[คริสต์ศาสนา]] ด้วยเหตุนี้เจ้าพระยาวิชเยนทร์จึงหวังผลที่จะให้พระปีย์เป็นกษัตริย์เพื่อรักษาอำนาจและอิทธิพลของตน<ref>ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย และปรามินทร์ เครือทอง. ''การเมืองในประวัติศาสตร์ "ขนมหวาน" ของท้าวทองกีบม้า "มาดามฟอลคอน" "ขนมไทย" หรือ "ขนมเทศ"''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2546, หน้า 21</ref> และหวังใจให้เป็นกษัตริย์สยามพระองค์แรกที่นับถือคริสต์ศาสนา<ref>{{cite web |url= http://www.all-magazine.com/ColumnDetail/allColumDetail/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/3950/--.aspx |title= เรื่องเก่าเล่าสนุก : นาทีสวรรคต สมเด็จพระนารายณ์มหาราช |author= โรม บุนนาค |date= กันยายน 2557 |work= All Magazine |publisher=|accessdate= 3 ตุลาคม 2558}}</ref> นอกจากนี้พระปีย์ยังมีส่วนร่วมในการก่อกบฏเมื่อครา[[กบฏมักกะสัน]]<ref>สปอร์แดช มอร์แกน (เขียน) กรรณิกา จรรย์แสง (แปล). ''เงาสยาม ยามผลัดแผ่นดินพระนารายณ์''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554, หน้า 157</ref> นีกอลา แฌร์แวสเป็นผู้เดียวที่ระบุว่า แขกมักกะสันจะลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระนารายณ์แล้วเลือกพวกเดียวกันขึ้นครองบัลลังก์ "หรือมิเช่นนั้นถ้าชาวสยามยังไม่คุ้นชินกับเจ้าต่างชาติ ก็จะยกบัลลังก์ให้พระราชโอรสบุญธรรมของพระองค์ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าถูกซื้อได้ไม่ยาก โดยทรงยอมเข้าพิธี[[สุหนัต]]..."<ref name="หม่อมปีย์"/>