ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์รัฐสภา ไอพีทีวี 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dexterpooh (คุย | ส่วนร่วม)
Dexterpooh (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
 
== ความเป็นมา ==
[[File:พิธีเปิด Senate TV.jpg|thumb|พิธีเปิดการถ่ายทอดสดการประชุมวุฒิสภา "Senate TV" โดย พลเอก ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา]]
ปี พ.ศ. 2555 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้มีการพัฒนา “Senate TV” Mobile Application เพื่อเพิ่มช่องทางการถ่ายทอดสดการประชุมผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งนับเป็นการปรับตัวเพื่อให้ทันกับพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่เข้าสู่เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 หรือ 3G รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบและพฤติกรรมการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจัดให้มีพิธีเปิดการถ่ายทอดสดการประชุมวุฒิสภาผ่านโทรศัพท์มือถือ พร้อมกับการเปิดตัว Mobile Application ดังกล่าว เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2555 ณ บริเวณโถงหน้าห้องประชุมรัฐสภา ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 1 ซึ่งมีให้บริการดาวน์โหลดฟรีสำหรับระบบปฏิบััติการ iOS และ Android นอกจากนั้นยังสามารถรับชมผ่าน Web Browser ที่จัดเตรียมไว้เพื่อรองรับผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนในระบบซิมเบียน, ริม (แบล็กเบอร์รี) และวินโดวส์โมบาย ให้สามารถรับชมได้เช่นเดียวกัน<ref>http://news.senate.go.th/news-senate.php?y=2555&m=1#14</ref>
 
เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 ภายหลังการเปิดตัว Senate TV ได้เพียง 4 เดือน ก็ได้มีการเปิดตัว Mobile Application ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในชื่อ "Senate Channel" ซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณสมบัติต่าง ๆ ของ "Senate TV" Mobile Application พร้อมทั้งได้เพิ่มประเภทเนื้อหาที่เป็นข่าวสารและกิจกรรมที่สำคัญอีก 3 ส่วน ได้แก่ วุฒิสภา คณะกรรมาธิการ และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อให้เป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านนิติบัญญัติที่น่าเชื่อถือ มีความครบถ้วน และยังเตรียมการพัฒนาเพื่อรองรับการเข้าถึงสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) คลิปวีดิโอ (VDO Clips) โดยในปลายปีเดียวกันนั้นเอง คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของวุฒิสภา ได้มีมติให้ดำเนินการถ่ายทอดสดกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ในวงงานวุฒิสภา ผ่าน “Senate Channel” Mobile Application เพิ่มเติมจากเดิมจากการถ่ายทอดการประชุมวุฒิสภา<ref>http://news.senate.go.th/news-senate.php?y=2555&m=5#1590</ref>[[File:พิธีเปิด Senate Channel.jpg|thumb|พิธีเปิด Senate Channel Mobile Application โดย นายนิคม ไวยรัชพานิช]]
 
ปี พ.ศ. 2557 คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของวุฒิสภา ได้มีคำสั่ง ที่ 2/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดตั้งอินเทอร์เน็ตทีวีของวุฒิสภา (Senate Channel IPTV) เพื่อให้สามารถสนองต่อความจำเป็นในอนาคตเมื่อต้องถ่ายทอดสดการประชุมวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎรในเวลาเดียวกัน ณ “สัปปายะสภาสถาน” อาคารรัฐสภาแห่งใหม่
บรรทัด 49:
เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา โดยในเดือนตุลาคม 2557 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้มีแนวทางการดำเนินงานที่ต่อเนื่องชัดเจนประสานประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สามารถรองรับภารกิจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
ต่อมาคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและจัดทำช่องรายการ NLA Channel เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวดำเนินการเสนอแนวทางการขับเคลื่อน ติดตามผลการดำเนินงาน รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนา เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน ซึ่งยังคงดำเนินการโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ และอัตรากำลังบุคลากรที่ยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนการดำเนินการ จนกระทั่งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์แบบไม่ใช้คลื่นความถี่ จาก กสทช. ในปี พ.ศ. 2558 โดยใช้ชื่อช่องรายการ โทรทัศน์รัฐสภา ไอพีทีวี 1 (Parliament IPTV 1) ตามมติคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[[File:พิธีเปิด Parliament IPTV 1.jpg|thumb|พิธีเปิด โทรทัศน์รัฐสภา ไอพีทีวี 1 และรับมอบใบอนุญาต จาก กสทช.]]
 
== เหตุผลความจำเป็นในการดำเนินการสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ไอพีทีวี 1 ==