ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โตโยต้า โคโรน่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jimmy Classic (คุย | ส่วนร่วม)
Jimmy Classic (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 96:
ที่ผ่านมา รถญี่ปุ่น มักจะถูกออกแบบโดยจำกัดความกว้างไว้ไม่ให้เกิน 1.7 เมตร และเครื่องยนต์พิกัดไม่เกิน 2000 ซีซี ด้วยเหตุผลทางภาษีในประเทศญี่ปุ่น แต่ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจเติบโต คู่แข่งทั้งหมดต่างพัฒนารถของตนออกมามีแนวโน้มใหญ่ขึ้น และในที่สุดคู่แข่งรายใหญ่อย่างฮอนด้า แอคคอร์ด และมิตซูบิชิ กาแลนต์ ก็ยอมจ่ายภาษีแพงโดยเพิ่มความกว้างและเพิ่มขนาดเครื่องยนต์ออกไปเกินพิกัดดังกล่าว รวมถึงนิสสันก็ส่ง [[นิสสัน เซฟิโร่|เซฟิโร่]] ซึ่งมีขนาดเกินพิกัดลงมาเช่นกัน แต่วิศวกรที่ญี่ปุ่นยังพัฒนาโคโรน่ารุ่นถัดไปอยู่ในพิกัดเดิม ทำให้โคโรน่ารุ่นนี้ มีขนาดที่เล็กกว่าคู่แข่งอย่างทิ้งขาด โตโยต้าประเทศไทยจึงสั่งนำเข้า [[โตโยต้า คัมรี่]] จากออสเตรเลียซึ่งมีขนาดเกินพิกัดลงมาต่อสู้กับคู่แข่งรายอื่นๆ แทนที่โคโรน่า แต่ก็ยังขายโคโรน่าต่อไป
 
ซึ่งหลังจากการเปลี่ยนแปลงนั้น ทำให้โคโรน่าหลุดจากการเป็นรถ D-Segment ไปโดยปริยาย กลายเป็นรถที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง [[โตโยต้า โคโรลล่า|โคโรลล่า]] (C-Segment) กับ [[โตโยต้า คัมรี่|คัมรี่]] (D-Segment รุ่นใหม่แทนที่) หรือบางครั้งมักจะถูกเรียกว่า C-D Segment เนื่องจากถูกลดสถานะลงมานั่นเอง จึงไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งเดิมสมัยที่เป็นโฉมหน้ายิ้มได้ ทำให้ผู้สนใจในยานยนต์ที่ไม่ได้ศึกษาข้อมูลรถรุ่นก่อนปี 2536 มักจะเข้าใจแบบเหมารวมว่า โคโรน่า และบลูเบิร์ด ไม่ใช่และไม่เคยเป็นรถระดับเดียวกับแอคคอร์ด กาแลนต์และมาสด้า 626 ในขณะที่ความเป็นจริงแล้ว ครั้งหนึ่งโคโรน่าและบลูเบิร์ดเคยอยู่ในระดับเดียวกันกับคู่แข่งเหล่านั้น แต่มาเปลี่ยนในช่วงรุ่นท้ายๆ เท่านั้น
 
รหัสตัวถัง T190 เปิดตัวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 แต่ประเทศไทย มาใน พ.ศ. 2536 โดยรุ่นแรก ตลาดรถจะเรียกว่า "ท้ายโด่งไฟแถบ" มีตัวเลือก 3 รุ่น คือ