ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการณ์วังหน้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ใช้คำราชาศัพท์กับพระราชวงศ์
บรรทัด 2:
ในช่วงต้นรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ประมาณ พ.ศ. 2417-2418 ทรงริเริ่มปฏิรูปปรับปรุงการปกครองประเทศให้ทันสมัย โดยการดึงอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทรงตั้งระบบหอรัษฎากรพิพัฒน์ (ปัจจุบันคือ [[กระทรวงการคลัง]]) เพื่อรวมรวมการเก็บภาษีมาอยู่ที่เดียวกัน ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการเก็บรายได้ สร้างความไม่พอใจแก่เจ้านายและขุนนางเก่าแก่เป็นอันมาก โดยเฉพาะ[[กรมพระราชวังบวรสถานมงคล]]ซึ่งเดิมมีรายได้แผ่นดินถึง 1 ใน 3 มีทหารในสังกัดถึง 2,000 นาย และมีข้าราชบริพารเป็นจำนวนมาก และเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ มีการสะสมอาวุธ มีความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับ[[วังหน้า]] ทั้งยังทรงระแวงว่าจะถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากไม่ได้รับการทรงแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์โดยตรง<ref name="โกวิท36">โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. หน้า 36.</ref> จนเกือบจะเกิด[[สงครามกลางเมือง]] ซึ่งเรียกเหตุการณ์ขัดแย้งนี้ว่า '''วิกฤตการณ์วังหน้า'''
 
[[กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ]] ทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และเข้าไปคบค้าสนิทสนมกับนาย[[โทมัส ยอร์ช น็อกซ์|โทมัส น็อกซ์]] กงสุลอังกฤษ ประกอบกับในสมัยนั้น อังกฤษคุกคามสยาม ถึงขั้นเรียกเรือรบมาปิดปากแม่น้ำ ทางวังหลวงจึงหวาดระแวง เชื่อว่ามีแผนการจะแบ่งดินแดนประเทศสยามออกเป็นสามส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง คือทางเหนือถึงเชียงใหม่ (หรืออาจจะนับให้ตั้งแต่[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ไปทางฝั่งตะวันออกจนถึงดินแดนทางตะวันออกของสยาม)ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปกครอง ส่วนที่สอง คือพื้นที่ระหว่างตั้งแต่[[แม่น้ำแม่กลอง]]ไปจนถึงทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ปกครอง และส่วนที่สาม คือทางใต้ โดยถือเอาตั้งแต่จากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลองลงไปนั้น ให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญครองทรงปกครอง นัยว่าเมื่อแบ่งสยามให้เล็กลงแล้วจะได้อ่อนแอ ง่ายต่อการเอาเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษและฝรั่งเศสได้เลยทีเดียว
 
ความบาดหมางระหว่าง[[พระบรมมหาราชวัง]]และวังหน้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญจึงทรงระดมกำลังเพิ่มในวังหน้า กระทั่งปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2417 เกิดอัคคีภัยใกล้กับโรงเก็บดินปืนและโรงก๊าซในวังหลวง<ref name="โกวิท36"/> ทางวังหน้าจะนำทหารพร้อมอาวุธไปช่วยดับเพลิง แต่วังหลวงไม่อนุญาต กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงระแวงว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงกำจัดหรือลิดรอนสิทธิอำนาจของพระองค์ จึงทรงหนีไปอยู่สถานกงสุลอังกฤษ และเรียกร้องให้ข้าหลวงอังกฤษมาช่วยไกล่เกลี่ย ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชิญสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ไกล่เกลี่ยและทรงบอกไม่ให้พวกอังกฤษมาแทรกแซง "วิกฤตการณ์วังหน้า" ยุติลงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2418<ref name="โกวิท36"/>