ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธีรยุทธ บุญมี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
 
== ชีวประวัติโดยย่อ ==
ธีรยุทธ บุญมี เกิดในครอบครับที่ยากจน เขารับศึกษาระดับมัธยมที่ [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] มีนิสัยรักการอ่านมาแต่เด็ก หัวดี และเรียนเก่ง มีความสนใจด้าน[[วิทยาศาสตร์]]เป็นพิเศษ ด้วยความสนใจเขาได้เขียน[[นิยายวิทยาศาสตร์]] ส่งนิตยสารอย่าง[[วิทยาสาร]]และ[[ชัยพฤกษ์]]ตอนอยู่ ม.ศ. 4-5{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} เขารู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง เช่น [[ระวี ภาวิไล|ศ.ดร. ระวี ภาวิไล]] ซึ่งเป็นรุ่นพี่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และ [[สิปปนนท์ เกตุทัต|ศ.ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต]] และได้มีโอกาสสนทนากับนักวิทยาศาสตร์ทั้งสอง ส่วนด้านงานเขียนเขาก็สนิทสนมคลุกคลีกับ [[สุจิิตต์จิตต์ วงษ์เทศ]] และ [[เสถียร จันทิมาธร]] ซึ่งเป็นนักเขียนแถว[[สยามรัฐ]]
 
[[ประสาร มฤคพิทักษ์|คุณประสาร มฤคพิทักษ์]] ซึ่งเคยเรียนโรงเรียนเดียวกัน พูดถึงความทรงจำในวัยเด็กที่มีต่อธีรยุทธไว้ว่า
''"ปี 2507 ขณะที่ผมยังเรียนชั้น ม. 3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ไม่ไกลจากโรงเรียนมีห้องสมุดบริติช เคาน์ซิล ซึ่งมีแต่ภาษาอังกฤษทั้งนั้นนาน ๆ ผมจะเฉี่ยวเข้าไปทีเพื่อรับความเย็นของห้องแอร์หลังจากเล่นบอลพลาสติกจนเหงื่อโชก ไปทีไร เห็นคุณธีรยุทธยืนค้นอ่านอยู่ที่นั่นทุกที ทั้งทีเขาเพิ่งเรียน ม.ศ. 1 ผมชำเลืองดูหนังสือที่เขาหยิบยืมอ่าน เป็นหนังสือ เคมี ฟิสิกส์ และ คณิตศาสตร์สำหรับเด็ก ม.ศ.ปลาย แสดงให้เห็นว่า ปัญญาของเขาเกินชั้นเรียนมาตั้งแต่เล็กแล้ว"''{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}}
 
=== ชีวิตนักศึกษา ===
ธีรยุทธ บุญมี สมัครสอบเข้าเรียนคณะ[[วิศวกรรมศาสตร์]]ในระดับมหาวิทยาลัย ปัญหาความยากจนของทางบ้าน เขาจึงเลือกที่เป็นวิศวกรแทนที่จะไปทางสายวิทยาศาตร์ที่ชอบเนื่องจากเขาสอบติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ได้เป็นที่หนึ่งของประเทศในสายวิทยาศาสตร์ ด้วยคะแนน 91.90 เปอร์เซนต์ในปี พ.ศ. 2511 เขาไม่สามารถสมัครสอบทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนต่อต่างประเทศเช่นเดียวกับผู้สอบได้อันดับหนึ่งคนอื่นๆ ด้วยเหตุผลว่าอายุเกิน แต่เนื่องจากวิชาทางวิศวกรรมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ทำให้เขาหันเหความสนใจไปด้านกิจกรรมตอนเป็นนิสิต จากกิจกรรมเชิงวิชาการ ขยับมาเป็นกิจกรรมด้านสังคม
 
ธีรยุทธ บุญมี เข้าเป็นสมาชิก[[ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย]] (ศนท.) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างนิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และได้เป็นเลขาธิการเมื่อปี [[พ.ศ. 2515]] ช่วงนั้น ศนท. มีบทบาททางการเมืองในการรณรงค์เรียกร้องต่างๆ เช่นการรณรงค์ให้ชื้อสินค้าไทยและไม่ซื้อสินค้าจาก[[ประเทศญี่ปุ่น]] เรื่อง[[กรณีทุ่งใหญ่|การล่าสัตว์ป่าของกลุ่มนายทหารและตำรวจในทุ่งใหญ่นเรศวร]] เป็นต้น
 
=== [[เหตุการณ์ 14 ตุลา]] ===
ธีรยุทธ บุญมี เป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้ง[[กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ]]จำนวน 100 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อขอ[รัฐธรรมนูญ]]คืนจากรัฐบาลเผด็จการซึ่งนำโดย[[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]] เมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นวันเสาร์ สมาชิกกลุ่มจำนวน 25 คน ได้ไปถือโปสเตอร์ แจกใบปลิว หนังสือ และบัตรลงประชามติที่ตลาดนัด[[สนามหลวง]] ในวันนั้นเขาเป็นหนึ่งใน 11 คนที่ถูกตำรวจสันติบาลจับกุม ตรวจค้นบ้านและยึดเอกสารใบปลิว การจับกุมดังกล่าวนำไปสู่[[เหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ]]
 
=== หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา และชีวิตการทำงาน ===
เมื่อปี [[พ.ศ. 2519]] ได้เดินทางไปใช้ชีวิตในป่าแถบ[[จังหวัดน่าน]] และเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ในฐานะเลขานุการประสานงานผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย เป็นเวลาถึงสี่ปีครึ่ง ก่อนจะออกเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศทำงานวิจัยในระดับปริญญาโทสาขาปรัญชาและเอกสังคมวิทยาที่สถาบันสังคมศึกษา ณ [[มหาวิทยาลัยไนเมเกนเฮก|กรุงเฮก]] [[ประเทศเนเธอร์แลนด์]] ได้วุฒิเทียบเท่าปริญญาโท และศึกษาต่อปริญญาเอก[[สังคมมานุษยวิทยา|สาขาสังคมมานุษยวิทยา]]ที่[[มหาวิทยาลัยไนเมเกน]] ประเทศเดียวกัน ใน แต่เรียนไม่จบดังที่มักจะเข้าใจกันได้สอบวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกก็เลิกเรียนเสียก่อน ดังนั้นวุฒิการศึกษา(ปัจจุบันจึงยังเป็นวุฒิการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตที่ได้มาตั้งแต่ตอนศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Phil.D. Candidate อยู่<ref>http://socio.tu.ac.th/index_files/Page2418.htm</ref><ref name="">http://www.sriburapha.net/sriburapha_writers.php</ref>)
 
[[ภาพ:Tands.jpg|thumb|รับรางวัลศรีบูรพาร่วมกับ [[เสกสรรค์ ประเสริฐกุล]] เมื่อ พ.ศ. 2546]]
หลังจากเรียนจบ ก็สมัครทำงานเป็นวิศวกรของบริษัทเอกชนอยู่ระยะหนึ่ง เคยทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันสังคมของ[[เฮก|สังคมศึกษา ณ กรุงเฮก]] [[ประเทศเนเธอร์แลนด์]] และทำงานวิจัยให้กับ [[มหาวิทยาลัยบีเลเฟลท์]] [[สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี]]<ref>http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=2120</ref> เมื่อกลับเมืองไทยในปี [[พ.ศ. 2528]] จึงเริ่มบทบาททางการเมือง ในฐานะนักคิด นักวิชาการ นักปรัชญา โดยทำการวิจารณ์การเมือง และสำรวจประชามติ เคยเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ [[สถาบันไทยคดีศึกษา]]
 
ปัจจุบัน ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธเป็นอาจารย์ประจำ [[คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา]] [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ยอมรับตัวเองว่าเป็นนักคิดมากกว่านักเขียน จึงเน้นการทำงานด้านวิชาการ โดยพยายามเขียนหนังสือ ตำรา และบทความทางวิชาการ พร้อมกับการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลทุกสมัย
 
== งานทางวิชาการ ==