ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏวังหลวง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 41:
จุดที่มีการปะทะกันระหว่างทหารบกฝ่ายรัฐบาล และทหารเรือฝ่ายกบฏ เช่น [[ถนนวิทยุ]], [[ถนนพระราม 4]], [[ถนนสาทร]], [[สี่แยกราชประสงค์]] มีการยิงกระสุนข้ามหลังคาบ้านผู้คนในละแวกนั้นไปมาเป็นตับ ๆ มีผู้ได้บาดเจ็บและล้มตายมากมายกันทั้ง 2 ฝ่าย<ref name="ชีวลิขิต"/>
 
ในส่วนของรัฐบาลได้ประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2492/A/012/2.PDF</ref>และประกาศต่อเนื่องในวันที่ 29 มีนาคม ปีเดียวกัน<ref name=ราช/>โดยครั้งนี้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการได้แก่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมีพระบรมราชโองการผ่านผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้แก่ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร]] พลตรี [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการปราบปราม มีการสู้รบกันในเขตพระนครอย่างหนักหน่วง โดย พล.ต.สฤษดิ์เป็นผู้ยิงปืนจาก[[รถถัง]]ทำลาย[[ประตูพระบรมมหาราชวัง|ประตูวิเศษไชยศรี]]ของพระบรมมหาราชวังพังทลายลง จนในที่สุด เวลาเย็นของวันที่ [[27 กุมภาพันธ์]] ปีเดียวกัน ทั้ง 2 ฝ่ายก็หยุดยิง เมื่อรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้และปราบปรามฝ่ายกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ เศร้าโศกเสียใจมากกับเหตุการณ์ครั้งนี้ ถึงขนาดจะ[[ฆ่าตัวตาย|ยิงตัวตาย]] เพราะที่ผ่านมานับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมา ไม่เคยมีกบฏหรือรัฐประหารครั้งไหนที่มีผู้บาดเจ็บล้มตายมากขนาดนี้ แต่ได้ถูกท่านผู้หญิง[[พูนศุข พนมยงค์]] ภริยา ห้ามไว้<ref name="กบฏ">''26 กุมภาพันธ์ 2492 กบฏวังหลวง'', "ย้อนรอยประวัติศาสตร์รัฐประหารไทย". สารคดีทางดีเอ็นเอ็น: 20 พฤศจิกายน 2554</ref> และต้องหลบหนีออกนอกประเทศอีกครั้ง และหลังจากนั้นอีกไม่กี่วัน ได้มีการสังหารบุคคลสำคัญทางการเมืองลงหลายคน เช่น [[บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข|พ.ต.อ.บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข]] อดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาลและ [[โผน อินทรทัต|พ.ต.โผน อินทรทัต]] ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบและอดีตเสรีไทย รวมทั้ง[[คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี พ.ศ. 2492|การสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี]]ที่[[ถนนพหลโยธิน]] กิโลเมตรที่ 11 คือ นาย[[ทองอินทร์ ภูริพัฒน์]], นาย[[ถวิล อุดล]], นาย[[จำลอง ดาวเรือง]] และนาย[[ทองเปลว ชลภูมิ]] ซึ่งเป็นนักการเมืองในสายของนายปรีดี พนมยงค์ เป็นต้น รัฐบาลได้ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2492<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2492/A/027/1.PDF</ref> <ref name="ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน">{{อ้างหนังสือ
| ผู้แต่ง=[[วินทร์ เลียววาริณ]]
| ชื่อหนังสือ=ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน