ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่เซ็กเพ็ก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
[[ไฟล์:Chibizhizhan eng2.png|thumb|right|แผนที่บริเวณศึก]]
 
'''ยุทธการที่ผาแดง''' หรือ '''ศึกผาแดง''' ({{lang-en|Battle of Red Cliffs}}; {{zh|s=赤壁之战|t=赤壁之戰|p=Chì bì zhī zhàn}}) หรือ '''ศึกเซ็กเพ็ก''' (Battle of Chìbì) หรือ '''ศึกเปี๊ยะเชียะ''' หรือ '''ศึกชื่อปี้''' เป็นสงครามที่มีความสำคัญที่สุดสงครามหนึ่งในยุคปลาย[[ราชวงศ์ฮั่น]]ในรัชสมัยของ[[พระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้]] ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ[[ยุคสามก๊ก]]ใน[[ประเทศจีน]]ในเวลาต่อมา ศึกผาแดงนี้เกิดขึ้นใน ค.ศ. 208 โดยฝั่งหนึ่งเป็นกองทัพพันธมิตรของ[[เล่าปี่]]และ[[ซุนกวน]]ทางตอนใต้ และอีกฝั่งคือทัพของ[[โจโฉ]]ทางตอนเหนือ ซุนกวนและเล่าปี่นั้นได้ชัยชนะเหนือโจโฉ ทำให้ความพยายามในการยึดดินแดนทางใต้ของโจโฉต้องล้มเหลวลง โดยจุดแตกหักเกิดขึ้น ณ ตำบลที่เรียกว่า "เซ็กเพ็ก" (ผาแดง) ริมแม่น้ำ[[แยงซีเกียง]] ศึกผาแดงนี้นับว่าเป็นศึกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสามก๊กและ[[ประวัติศาสตร์จีน]]ก็ว่าได้ โดยมีการบันทึกไว้ใน[[วรรณกรรมสามก๊ก]]ถึง 8 บท จากทั้งหมด 120 บท และมีกวีชาวจีนมากมายในชั้นหลังที่ได้จารึกไว้ถึงเหตุการณ์นี้ เช่น [[หลี่ไป๋]]<ref name=สาม/> ใน[[สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)]]เรียกตอนนี้ว่า "โจโฉแตกทัพเรือ"<ref name=อุย/>
 
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของศึกผาแดงยังคงเป็นที่ถกเถียงมาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่สถานที่รบยังกำหนดชี้ชัดลงไปไม่ได้ แต่เชื่อกันว่าจุดที่โจโฉถูกเผาทัพเรือนั้น เป็นหน้าผาติดแม่น้ำแยงซีเกียง อยู่ห่างจากเมือง[[ชื่อปี้]] ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 36 กิโลเมตร ในปัจุบัน โดยสถานที่เกิดเหตุนั้น มีจารึกตัวอักษรสีแดงที่ไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้จารึก แต่เป็นจารึกสมัย[[ราชวงศ์ถัง]] และเหตุที่ได้ชื่อว่า "ชื่อปี้" (赤壁; ออกเสียง "เซ็กเพ็ก" ตาม[[สำเนียงแต้จิ๋ว]]) ที่แปลได้ว่า "หน้าผาแดง" ก็คือเปลวไฟที่เผาผลาญกองทัพเรือของโจโฉ<ref name=สาม>{{cite web|work=ไทยพีบีเอส|url=https://www.youtube.com/watch?v=XSYbV-rX9T0|date=2016-01-10|accessdate=2017-06-15|title=Spirit of Asia : เดินบนแผ่นดินสามก๊ก (10 ม.ค. 59)}}</ref>
บรรทัด 42:
 
== การบันทึกในพงศาวดาร ==
อุยกายเป็นผู้เสนอจิวยี่ให้ใช้แผนสวามิภักดิ์ รวมถึงการใช้เรือไฟ กลอุบายใช้ไฟของอุยกายทำให้ทัพโจโฉพ่ายแพ้ย่อยยับ หลังจากนั้นจิวยี่และเล่าปี่ก็ไล่ตามโจมตีทัพโจโฉที่แตกพ่ายไป และฝ่ายเล่าปี่ก็แยกทัพไปยึดหัวเมืองเกงจิ๋วใต้ ส่วนจิวยี่นั้นทำสงครามกับโจหยินอยู่อีกเกือบปีก็สามารถยึดเกงจิ๋วเหนือได้เกือบทั้งหมด ในศกครั้งนี้ อุกายได้รับการสรรเสริญชื่นชมอย่างมาก<ref name=อุย>หน้า 3, "อุยกาย ผู้ชนะศึกผาแดง". "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. '''ไทยรัฐ'''ปีที่ 68 ฉบับที่ 21727: วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 แรม 9 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา</ref>
 
แต่โจโฉเองไม่ยอมรับผลแพ้ในการศึกครั้งนี้ เขียนจดหมายถึงซุนกวนอ้างว่าตนเองไม่ได้แพ้จิวยี่ แต่เพราะโรคระบาดจึงทำให้ต้องเป็นฝ่ายเผายกทัพเรือตัวเองกลับ และผู้ที่ออกอุบายเอาธนูจากโจโฉไม่ใช่ขงเบ้ง แต่เป็นซุนกวน เหตุการณ์นี้เกิดภายหลังศึกนี้ถึง 5 ปี ([[ยุทธการหับป๋า]]) เมื่อซุนกวนลงเรือไปสอดแนมค่ายโจโฉที่แห้ฝือ แต่ถูกทหารยามจับได้จึงเกิดการปะทะ ในครั้งนั้นทหารโจโฉยิงธนูใส่เรือซุนกวนจนเอียงไปข้างนึง ซุนกวนจึงสั่งให้หันข้างเรือไปรับธนูเพื่อถ่วงให้กลับมาตรงเหมือนเดิม จากนั้นจึงแล่นกลับ<ref>หน้า 12 ต่างประเทศ, ''ขงเบ้ง' เก่งการรบและกลศึก ?'' โดย ดร.ประศาสน์ ตั้งมติธรรม. "เข้าใจโลก". '''กรุงเทพธุรกิจ'''ปีที่ 27 ฉบับที่ 9489: วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557</ref>
 
== ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ==