ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 42:
 
== ปฏิกิริยา ==
จากนั้นคณะทหารแห่งชาติ จึงให้ พันตรี [[ควง อภัยวงศ์]] หัวหน้า[[พรรคประชาธิปัตย์]] ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้สัญญาว่าจะไม่แทรกแซงการทำงาน ซึ่งคณะทหารแห่งชาติได้ตั้งสภาขึ้นมา ใช้ชื่อว่า "คณะรัฐมนตรีสภา" และจัด[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491|การเลือกตั้ง]]ขึ้นในวันที่ [[29 มกราคม]] [[พ.ศ. 2491]] พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงข้างมาก นายพันตรี ควง อภัยวงศ์ จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเป็นรัฐบาลพลเรือน แต่ทว่า ในวันที่ [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2491]] คณะนายทหารในกลุ่มคณะทหารแห่งชาติ 4 คน ก็ได้ทำการบีบบังคับให้นายควงลาออก และแต่งตั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีแทน
 
ผลจากรัฐประหารในครั้งนี้ ได้พลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิง เป็นรัฐประหารที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชน มีการวิเคราะห์ว่า รัฐบาล นายควง อภัยวงศ์ แม้จะได้รับการแต่งตั้งและเลือกตั้งมา ก็ไม่มีอำนาจและไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เพราะอำนาจที่แท้จริงยังอยู่ที่คณะนายทหาร ซึ่งหลังจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ ที่เพิ่งก่อตั้งมาก่อนหน้านี้ไม่นาน ก็มีความแตกแยกกันเองภายในพรรค สืบเนื่องจากการพิจารณาการขึ้นเงินเดือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลจอมพล ป. ของสมาชิกพรรคบางคน ทำให้สมาชิกพรรคหลายคนได้ลาออก เช่น [[คึกฤทธิ์ ปราโมช|ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช]] เลขาธิการพรรค, นาย[[เลียง ไชยกาล]], นาย[[สุวิชช พันธเศรษฐ]], นาย[[โชติ คุ้มพันธ์]] เป็นต้น ถือเป็นความแตกแยกกันของพรรคเป็นครั้งแรก<ref>''นายควง อภัยวงศ์ กับพรรคประชาธิปัตย์'' โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2522)</ref>