ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เครื่องราชกกุธภัณฑ์ไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มข้อมูลจากแต่เิดมที่มีแค่ชื่อ เราได้ใส่รายละเอียดและความหมายบางส่วนลงไปด้วย
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น การแก้ไขแบบเห็นภาพ
ละเมิดลิขสิทธิ์
บรรทัด 1:
'''ซึ่งมีความหมายว่าเป็นของหนัก เป็นพระราชภาระของพ่ออยู่หัว เพราะต้องทรงแบกรับความทุกข์ ความโศก และโรคภัยของประชาชนทั้งปวง พระมหาพิชัยมงกุฎมีน้ำหนักกว่า 7.3 กิโลกรัมเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทย''' หมายถึงกกุธภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยและพระราชพิธีที่สำคัญอื่นๆ เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งแห่งประเทศไทย ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ 358 ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร หรือเรียกรวมกันว่า "เบญจราชกกุธภัณฑ์"
 
กกุธภัณฑ์มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาธิบดี จึงเป็นสิ่งที่จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เครื่องราชกกุธภัณฑ์ประกอบด้วย
# [[พระมหาเศวตฉัตร]] หรือ[[พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร]]
 
# [[พระมหาพิชัยมงกุฎ]]
'''1.[[พระมหาเศวตฉัตร]]''' หรือ '''[[นพปฎลมหาเศวตฉัตร]]''' (นพ=เก้า ปฎล=ชั้น เศวต=สีขาว) เป็น[[ฉัตร]]ผ้าขาว 9 ชั้น มีระบาย 3 ชั้น ขลิบทอง แผ่ลวด และมียอด เป็นราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ที่สำคัญที่สุด มีที่ใช้คือ ปักที่พระแท่นราชอาสน์ราชบัลลังก์ กางกั้นเหนือพระแท่นที่บรรทม ปักพระยานมาศ และแขวนกางกั้นพระโกศทรงพระบรมศพ เป็นต้น แต่โบราณมาไทยถือเศวตฉัตร เป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด
# [[พระแสงขรรค์ชัยศรี]]
 
# [[ธารพระกร]]
เศวตฉัตร หมายถึง ความเป็นพระราชามหากษัตริย์ แต่เดิมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมิได้รวมเศวตฉัตรไว้ในเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ เพราะมีขนาดใหญ่โต และปักไว้เหนือพระที่นั่งภัทรบิฐอยู่แล้ว จึงได้มีการถวายธารพระกรแทน เช่นเดียว กับมงกุฎของชาวยุโรป 
# [[วาลวีชนี]] (พัดกับแส้จามรี)
 
# [[ฉลองพระบาทเชิงงอน]]
ตามประเพณีของพราหมณ์แต่เดิม เป็นเศวตฉัตร 6 ชั้น อันหมายถึง สวรรค์ 6 ชั้น ตั้งแต่ชั้นจตุมหาราชิกาจนถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ความหมายของฉัตร 9 ชั้นที่ใช้ในปัจจุบันหมายถึง ผู้ที่ชนะทั้ง 8 ทิศ ชั้นล่างสุด
 
'''หมายถึงพระมหากษัตริย์ที่จะต้องทรงแบกภาระอันใหญ่หลวงในการดูแลประชาชนทั้ง 8 ทิศ''' 
 
ปัจจุบัน มีพระมหาเศวตฉัตรแห่งรัชกาลปัจจุบัน อยู่จำนวน 7 องค์ อันได้แก่
 
1. [[พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท]] (ท้องพระโรงกลางเหนือพระที่นั่งพุดตานถม)
 
2. [[พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท]] (เหนือพระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุก)
 
3. [[พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน|พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย]] (เหนือพระแท่นราชบัลลังก์ เบื้องหน้าพระที่นั่งบุษบกมาลาฯ)
 
4. [[พระที่นั่งไพศาลทักษิณ]](เหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์)
 
5. [[พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน]] (มี 2 องค์ คือ เหนือพระแท่นราชบรรจถรณ์)
 
6. [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]] (ท้องพระโรงกลาง)
 
7. ...<!-- แต่ก่อนคาดว่าน่าจะมีข้อมูลมากกว่านี้ แต่ตอนนี้ถูกลบไป เราจึงได้ไปตามหาข้อมูลมาปะติดใหม่ ทำให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเท่าที่ควร -->
 
'''2.[[พระมหาพิชัยมงกุฎ|พระมหาพิชัยมงกุฏ]]''' เป็นพระมหามงกุฎทองคำลงยาประดับ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ-ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทำด้วยทองคำลงยาประดับเพชร เฉพาะองค์พระมหามงกุฎซึ่งไม่รวมถึงพระจอน สูง 51 ซม. ถ้ารวมถึงพระจอนสูง 66 ซม. มีน้ำหนัก 7,300 กรัม
 
ครั้นถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงมีรับสั่งให้นำเพชรเม็ดใหญ่จากเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดียมาประดับไว้บนยอดพระมหาพิชัยมงกุฎ 1 เม็ด เป็นเพชรที่ซื้อมาจากอินเดีย และพระราชทานขนานนามเพชรเม็ดนี้ว่า “'''พระมหาวิเชียรมณี'''”
 
ความหมายของพระมหาพิชัยมงกุฎนี้ แสดงถึงยอดพระวิมานของพระอินทร์หรือเทพ '''ซึ่งมีความหมายว่าเป็นของหนัก เป็นพระราชภาระของพ่ออยู่หัว เพราะต้องทรงแบกรับความทุกข์ ความโศก และโรคภัยของประชาชนทั้งปวง'''
 
'''3.[[พระแสงขรรค์ชัยศรี]]''' เป็นพระขรรค์โบราณ '''สัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญ''' เชื่อกันว่าเป็นพระราชศาสตราคู่บ้านคู่เมืองของเขมรสมัยพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ โดยจมอยู่ในทะเลสาบเมืองนครเสียมราฐมาเป็นเวลานานเท่าใดไม่มีใครทราบ ชาวประมงที่เมืองนั้นทอดแหขึ้นมาได้ องค์พระขรรค์ยังดี หาได้เกิดสนิมผุกร่อนเสียไปมากมาย ดังนั้นท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบองและนครเสียมราฐ จึงให้พระยาพระเขมรเชิญเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 1 ในปี 2327 และโปรดเกล้าฯให้ช่างทำด้ามพระขรรค์หุ้มทองคำลงยาราชาวดีลายเทพนม ทำฝักหุ้มทองคำลงยาราชาวดีประดับมณีขึ้นด้วยฝีมืออันงดงามประณีต และโปรดเกล้าฯให้เชิญเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อปี 2328
 
พระขรรค์หมายถึง '''พระสติปัญญาความรอบรู้ในการปกครองบ้านเมือง''' พระแสงองค์นี้มีประวัติอันเก่าแก่ เดิมตกจมอยู่ในทะเลสาบเขมร (Tonle sap) ที่เมืองเสียมราฐ (เสียมเรียบ) ประเทศกัมพูชา วันหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2327 ชาวประมงได้ทอดแหแล้วเห็นพระขรรค์องค์นี้ ชาวประมงผู้นั้นจึงนำมาถวาย เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) เจ้าเมืองเสียมราฐ และเจ้าเมืองเสียมราฐได้นำทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 
 
เมื่อวันที่พระแสงองค์นี้มาถึงกรุงเทพมหานคร ได้เกิดฟ้าผ่าในพระนครถึง 7 แห่ง เช่นที่ ประตูวิเศษไชยศรีในพระราชฐานชั้นนอก และประตูพิมานไชยศรี ในพระราชฐานชั้นกลาง ซึ่งเป็นทางที่อัญเชิญ พระแสงองค์นี้ผ่านไป เพื่อเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง 
 
พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นพระแสงศาสตราวุธที่สำคัญที่สุด ในพระราชพิธีที่สำคัญ ได้แก่ [[พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา]] และ [[พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]] 
 
องค์พระแสงขรรค์ชัยศรียาว 64.5 เซนติเมตร เมื่อประกอบด้ามแล้ว ยาว 69.8 เซนติเมตร หนัก 1.3 กิโลกรัม ยามเมื่อสวมฝักยาว 101 เซนติเมตร หนัก 1.9 กิโลกรัม 
 
'''4.[[วาลวีชนี]] '''ของเดิมที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 เป็นพัดใบตาลแบบที่เรียกกันว่า พัชนีฝักมะขาม เป็นใบตาลปิดทอง ขอบขลิบทองคำ ด้ามก็ทำด้วยทองคำ ต่อมารัชกาลที่ 4 ทรงพระราชดำริว่า “วาลวิชนี” นั้นไม่ควรจะเป็นพัดใบตาล ควรจะเป็นเครื่องโบกปัดที่ทำด้วยขนจามรี เพราะวาลแปลว่าขนโคชนิดหนึ่ง ภาษาไทยเรียกว่าจามรี จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระแส้จามรีขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และให้ใช้ควบคู่กันทั้งพัดใบตาลและพระแส้จามรี เรียกของสองสิ่งนี้รวมกันว่า “วาลวีชนี”
 
 '''สัญลักษณ์แห่งการทรงบันดาลความอยู่เย็นเป็นสุข ปัดเป่าผองภัยให้สิ้นไปจากพสกนิกร''' เป็นเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ประเภท'''ราชูปโภค'''
 
'''5.[[ธารพระกร]] '''เป็นไม้ชัยพฤกษ์หุ้มทองคำตลอด ปลายสุดของธารพระกรทำเป็นส้อมสามง่ามเป็นรูปทรงมัน  ลักษณะเหมือนกับไม้เท้าพระภิกษุ สำหรับใช้ในการชักมหาบังสุกุล ธารพระกรองค์นี้สร้างขึ้นเป็นเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ต่อมาในรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯให้สร้างธารพระกรทองคำขึ้นใหม่อีกองค์หนึ่ง ลักษณะใกล้ไปทางพระแสงดาบยอดทำเป็นรูปเทวดาชักยอดออกจากองค์ธารพระกร แล้วกลายเป็นพระแสงเสน่า (เป็นมีดสำหรับขว้าง)
 
'''สัญลักษณ์แห่งปัญญา''' เป็นเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ประเภทเครื่องราชูปโภค แต่เดิมเรียกว่า ธารพระกรชัยพฤกษ์
 
'''[[ฉลองพระบาท]]''' เป็นฉลองพระบาทเชิงงอน ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดีฝังเพชร สร้างขึ้นเป็นเครื่องราชเบญจราชกกุธภัณฑ์มาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชครูพราหมณ์พิธีเป็นผู้สวมฉลองพระบาทนี้ถวาย
 
'''สัญลักษณ์แห่งการทรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพในทุกหนทุกแห่ง''' – เป็นเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ประเภทเครื่องราชูปโภค ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดีฝังเพชร หนัก ๖๕๐ กรัม ทำมาจากเกือกแก้ว ที่หมายถึง ผืนแผ่นดินอันเป็นที่รองรับเขาพระสุเมรุ และเป็นที่อยู่อาศัยของอาณาประชาราษฎร์ทั่วทั้งแว่นแคว้น โดยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตามแบบประเพณีอินเดียโบราณ
 
ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก[[รัชกาลที่ 2]] มีทั้ง[[ฉัตร]]และ[[ธารพระกร]] [[พระแสงขรรค์]] [[พระแสงดาบ]] [[วาลวีชนี]] [[พระมหาพิชัยมงกุฎ]] และ[[ฉลองพระบาท]] รวมเป็น 7 สิ่ง
 
ในการระบุเครื่องเบญจสิริราชกกุธภัณฑ์นั้น มีว่าไว้สองแบบ คือ 
 
แบบแรก ประกอบด้วย 
 
๑. พระมหาพิชัยมงกุฏ 
 
๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี 
 
๓. ธารพระกร 
 
๔. วาลวิชนีและพระแส้ 
 
๕. ฉลองพระบาทเชิงงอน 
 
แบบที่สอง ประกอบด้วย 
 
๑. พระมหาเศวตฉัตร 
 
๒. พระมหาพิชัยมงกุฏ 
 
๓. พระแสงขรรค์ชัยศรี 
 
๔. วาลวิชนีและพระแส้ 
 
๕. ฉลองพระบาทเชิงงอน 
 
เครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์เหล่านี้ พระมหาราชครูพิธีเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราช ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยเรียงลำดับดังนี้ 
 
1. พระมหาพิชัยมงกุฏ โดยทูลเกล้าฯ ถวายหลังที่ทรงรับพระปรมาภิไธยขนานนาม และทรงรับที่จะดำรงสิริราชสมบัติ 
 
2. พระแสงขรรค์ชัยศรี 
 
3. ธารพระกร 
 
4. วาลวิชนีและพระแส้ 
 
5. ฉลองพระบาทเชิงงอน พระมหาราชครูพิธี เป็นผู้สวมถวาย 
 
เครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์จัดเก็บรักษาไว้ที่ท้องพระโรงพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในหมู่พระมหามณเฑียรภายในพระบรมมหาราชวัง 
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[เครื่องราชกกุธภัณฑ์]]
* http://www.sookjai.com/index.php?topic=133275.0;wap2
* [[ฉัตร]]
* [[พระมหาพิชัยมงกุฎ]]
* [[พระแสงขรรค์ชัยศรี]]
* [[วาลวีชนี]]
* [[ธารพระกร]]
* [[ฉลองพระบาท]]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-14-27758.html
 
https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20090301020518AAWNmSc
 
http://www.tnews.co.th/contents/215997
[[หมวดหมู่:เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทย| ]]