ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันเข้าพรรษา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 16:
== ความสำคัญ ==
ความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าพรรษา
# ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้[[ภิกษุ]]สงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
# หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
# เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติ[[ปฏิบัติธรรม]]สำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียน[[พระธรรมวินัย]]ตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง [[วันออกพรรษา]]
#
# เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับ[[กุลบุตร]]ผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่[[พระพุทธศาสนา]]ต่อไป
# เพื่อให้[[พุทธศาสนิกชน]] ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวาย[[จตุปัจจัย]]ไทยธรรม งดเว้น[[อบายมุข]] และมีโอกาสได้ฟัง[[พระธรรมเทศนา]]ตลอดเวลาเข้าพรรษา
 
== มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าอนุญาตการจำพรรษาแก่พระสงฆ์ ==
[[ไฟล์:Buddhist monks in Phetchabun.jpg|170px|thumb|left|ในสมัยก่อน การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในฤดูฝน มีความยากลำบาก และเป็นช่วงฤดูทำ[[ไร่]][[นา]]ของชาวบ้าน [[พระพุทธเจ้า]]จึงวางระเบียบให้พระสงฆ์หยุดการเดินทางเพื่อประจำอยู่ ณ สถานที่ใดที่หนึ่งในช่วง[[ฤดูฝน]]]]
 
ในสมัยต้น[[พุทธกาล]] พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงวางระเบียบเรื่องการเข้าพรรษาไว้ แต่การเข้าพรรษานั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกปฏิบัติกันมาโดยปกติเนื่องด้วยพุทธจริยาวัตรในอันที่จะไม่ออกไปจาริกตามสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงฤดูฝนอยู่แล้ว เพราะการคมนาคมมีความลำบาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ในช่วงต้นพุทธกาลมีจำนวนน้อยและส่วนใหญ่เป็นพระอริยะบุคคล จึงทราบดีว่าสิ่งใดที่พระสงฆ์ควรหรือไม่ควรกระทำ
 
ต่อมาเมื่อมีพระสงฆ์มากขึ้น และด้วยพระพุทธจริยาที่[[พระพุทธเจ้า]]จะไม่ทรงบัญญัติพระวินัยล่วงหน้า ทำให้พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้ทรงบัญญัติเรื่องให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษาไว้ด้วย จึงเกิดเหตุการณ์กลุ่มพระสงฆ์[[ฉัพพัคคีย์]]พากันออกเดินทางเผยแผ่[[พระพุทธศาสนา]]ในที่ต่าง ๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ทำให้ชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวก[[พระสงฆ์]]ในพระพุทธศาสนาไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่[[นักบวช]]ใน[[ศาสนา]]อื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่[[พระภิกษุสงฆ์]][[จาริก]]ไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อ[[พระพุทธเจ้า]]ทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้[[ภิกษุ]]ประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง เป็นเวลา 3 เดือนดังกล่าว<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 '''วัสสูปนายิกขันธกะ''' - เรื่องภิกษุหลายรูป. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=5450&Z=5501&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 11-6-52</ref>
 
== การเข้าพรรษาของพระสงฆ์ตามพระวินัยปิฎก ==
ตามพระวินัย พระสงฆ์รูปใดไม่เข้าจำพรรษาอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงปรับอาบัติแก่พระสงฆ์รูปนั้นด้วยอาบัติทุกกฎ<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 '''วัสสูปนายิกขันธกะ''' ทรงปรับอาบัติแก่พระผู้ไม่จำพรรษา. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=5450&Z=5501&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 1-7-52</ref><ref>มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
. (2555). '''เข้าพรรษาและสัตตาหกรณียะ'''
. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=1949&Itemid=148</ref>
 
และ[[พระสงฆ์]]ที่อธิษฐานรับคำเข้า[[จำพรรษา]]แล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนด คือ ''ก่อนรุ่งสว่าง'' ก็จะถือว่าพระ[[ภิกษุ]]รูปนั้น'''"ขาดพรรษา"''' และต้องอาบัติทุกกฎเพราะรับคำนั้น รวมทั้งพระสงฆ์รูปนั้นจะไม่ได้รับอานิสงส์พรรษา ไม่ได้อานิสงส์กฐินตามพระวินัย และทั้งยังห้ามไม่ให้นับพรรษาที่ขาดนั้นอีกด้วย<ref>[http://www.fungdham.com/download/book/article/jarun/030.doc เทศนาเรื่องกฐิน-พระราชสุทธิญาณมงคล]. เว็บไซต์จรัญ jarun.org. เรียกข้อมูลเมื่อ 17-6-52</ref>
 
=== ประเภทของการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ ===
 
การเข้าพรรษาตามพระวินัยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท <ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 '''วัสสูปนายิกขันธกะ''' - การจำพรรษา 2 อย่าง. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=5450&Z=5501&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 11-6-52</ref><ref>ศ.พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ, ''[http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1260 ปุริมพรรษา]{{dead link|date=May 2017}}'', อ้างอิงจากหน้าเว็บเมื่อ 2 กรกฎาคม 2549</ref> คือ
 
# '''ปุริมพรรษา''' (เขียนอีกอย่างว่า '''บุริมพรรษา''') คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปี[[อธิกมาส]] คือ มีเดือน 8 สองหน จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง) จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับ[[กฐิน]]ซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
 
# '''ปัจฉิมพรรษา''' คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน
 
=== ข้อยกเว้นการจำพรรษาของพระสงฆ์ ===
แม้การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุโดยตรง ที่จะละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม แต่ว่าในการจำพรรษาของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษานั้น อาจมีกรณีจำเป็นบางอย่าง ทำให้พระ[[ภิกษุ]]ผู้[[จำพรรษา]]ต้องออกจากสถานที่จำพรรษาเพื่อไปค้างที่อื่น พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษาโดยมีเหตุจำเป็นเฉพาะกรณี ๆ ไป ตามที่ทรงระบุไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการพระศาสนาหรือการอุปัฏฐานบิดามารดา แต่ทั้งนี้ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน การออกนอกที่จำพรรษาล่วงวันเช่นนี้เรียกว่า "'''สัตตาหกรณียะ'''" ซึ่งเหตุที่ทรงระบุว่าจะออกจากที่จำพรรษาไปได้ชั่วคราวนั้นเช่น
 
# การไปรักษาพยาบาล หาอาหารให้[[ภิกษุ]]หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย เป็นต้น กรณีนี้ทำได้กับ[[สหธรรมิก 5]] และมารดาบิดา
# การไประงับ[[ภิกษุ]][[สามเณร]]ที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ กรณีนี้ทำได้กับ[[สหธรรมิก 5]]
# การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อม[[กุฏิ]]ที่ชำรุด หรือ การไป[[ทำสังฆกรรม]] เช่น สวด[[ญัตติจตุตถกรรมวาจา]]ให้พระผู้ต้องการอยู่[[ปริวาส]] เป็นต้น
# หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปให้ทายกได้ให้ทาน รับศีล ฟังเทสนาธรรมได้ กรณีนี้หากโยมไม่มานิมนต์ ก็จะไปค้างไม่ได้.
 
ซึ่งหากพระสงฆ์ออกจากอาวาสแม้โดยสัตตาหกรณียะล่วงกำหนด 7 วันตามพระวินัย ก็ถือว่า ขาดพรรษา และเป็นอาบัติทุกกฎเพราะรับคำ (รับคำอธิษฐานเข้าพรรษาแต่ทำไม่ได้)
 
ในกรณีที่พระสงฆ์สัตตาหกรณียะและกลับมาตามกำหนดแล้ว ไม่ถือว่าเป็นอาบัติ และสามารถกลับมาจำพรรษาต่อเนื่องไปได้ และหากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องออกจากที่จำพรรษาไปได้ตามวินัยอีก ก็สามารถทำได้โดยสัตตาหกรณียะ แต่ต้องกลับมาภายในเจ็ดวัน เพื่อไม่ให้พรรษาขาดและไม่เป็นอาบัติทุกกฎดังกล่าวแล้ว
 
=== อานิสงส์การจำพรรษาของพระสงฆ์ที่จำครบพรรษา ===
 
เมื่อพระสงฆ์จำพรรษาครบไตรมาสได้ปวารณาออกพรรษาและได้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ หรือข้อยกเว้นพระวินัย 5 ข้อ<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ หัวข้อประจำขันธกะ. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=3214&Z=3257&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 17-6-52</ref> คือ
 
# เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา (ออกจากวัดไปโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์รูปอื่นก่อนได้)
# เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวรครบสำรับ 3 ผืน
# ฉันคณะโภชน์ได้ (ล้อมวงฉันได้)
# เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ยกเว้นสิกขาบทข้อนิสสัคคิยปาจิตตีย์บางข้อ)
# จีวรลาภอันเกิดในที่นั้นเป็นของภิกษุ (เมื่อมีผู้มาถวายจีวรเกินกว่าไตรครองสามารถเก็บไว้ได้โดยไม่ต้องสละเข้ากองกลาง)
 
== การถือปฏิบัติการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน ==
การเข้าพรรษานั้นปรากฏในพระไตรปิฎกเถรวาท ซึ่งพระสงฆ์ในนิกายเถรวาททุกประเทศจะถือการปฏิบัติการเข้าจำพรรษาเหมือนกัน (แต่อาจมีความแตกต่างกันบ้างในการให้ความสำคัญและรายละเอียดประเพณีปฏิบัติของแต่ละท้องถิ่น)
 
=== การเตรียมตัวเข้าจำพรรษาของพระสงฆ์ในปัจจุบัน ===
[[ไฟล์:Buddhist monk in Buddhist church.jpg|170px|thumb|เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พระสงฆ์ในวัดจะรวมตัวกันอธิษฐานจำพรรษาภายในวิหารหรืออุโบสถของวัด]]
การเข้าจำพรรษาคือการตั้งใจเพื่ออยู่จำ ณ [[อาวาส]]ใดอาวาสหนึ่งหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเป็นประจำตลอดพรรษา 3 เดือน<ref>[http://www.dra.go.th/ewtadmin/ewt/dra_buddha/main.php?filename=buddha_7_3 วันเข้าพรรษา - ศาสนาพุทธ]</ref> ดังนั้นก่อนเข้าจำพรรษาพระสงฆ์ในวัดจะเตรียมตัวโดยการซ่อมแซมเสนาสนะปัดกวาดเช็ดถูให้เรียบร้อยก่อนถึงวันเข้าพรรษา<ref>[http://lib.vit.src.ku.ac.th/actonline56/khaopansa56/khaopansa56.asp แรม 1 ค่ำ เดือน 8 วันเข้าพรรษา - นิทรรศการออนไลน์]{{dead link|date=May 2017}}</ref>
 
เมื่อถึงวันเข้าพรรษา ส่วนใหญ่[[พระสงฆ์]]จะลงประกอบพิธีอธิษฐานจำพรรษาหลัง[[สวดมนต์ทำวัตรเย็น]]เป็นพิธีเฉพาะของพระสงฆ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะลงประกอบพิธี ณ [[อุโบสถ]] หรือสถานที่ใดตามแต่จะสมควรภายในอาวาสที่จะจำพรรษา โดยเมื่อทำวัตรเย็นประจำวันเสร็จแล้ว[[เจ้าอาวาส]]จะประกาศเรื่อง '''วัสสูปนายิกา''' คือการกำหนดบอกให้ให้พระสงฆ์ทั้งปวงรู้ถึงข้อกำหนดในการเข้าพรรษา<ref>[http://www.rakjung.com/important-day-no205.html วันเข้าพรรษา ประวัติ และความเป็นมา - รักจัง]</ref> โดยมีสาระสำคัญดังนี้
 
# แจ้งให้ทราบเรื่องการเข้าจำพรรษาแก่พระสงฆ์ในอาราม
# แสดงความเป็นมาและเนื้อหาของวัสสูปนายิกาตามพระวินัยปิฏก
# กำหนดบอกอาณาเขตของวัด ที่พระสงฆ์จะรักษาอรุณ หรือรักษาพรรษาให้ชัดเจน (รักษาอรุณคือต้องอยู่ในอาวาสที่กำหนดก่อนอรุณขึ้น จึงจะไม่ขาดพรรษา)
# หากมีภิกษุผู้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ก็ทำการสมมุติเสนาสนคาหาปกะ (เจ้าหน้าที่สงฆ์) เพื่อให้เป็นผู้กำหนดให้พระสงฆ์รูปใดจำพรรษา ณ สถานที่ใดในวัด
 
เมื่อแจ้งเรื่องดังกล่าวเสร็จแล้ว อาจจะมีการทำสามีจิกรรม คือกล่าวขอขมาโทษซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการแสดงความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างพระเถระและพระผู้น้อย และเป็นการสร้างสามัคคีกันในหมู่คณะด้วย<ref>[http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?group_id=1&NEWSID=9190 ผู้บริหารคณาจารย์ มจร ทำสามีจิกรรมเทศกาลเข้าพรรษา]</ref>
 
จากนั้นจึงทำการอธิษฐานพรรษา เป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุด โดยการเปล่งวาจาว่าจะอยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส โดยพระสงฆ์สามเณรทั้งอารามกราบพระประธาน 3 ครั้งแล้ว เจ้าอาวาสจะนำตั้งนโม 3 จบ และนำเปล่งคำอธิษฐานพรรษาพร้อมกันเป็นภาษาบาลีว่า
 
{{คำพูด|อิมสฺมิ{{˚}} อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ <u>อุเปมิ</u><br /> (ถ้ากล่าวหลายคนใช้: <u>อุเปม</u>)}}
 
หลังจากนี้ ในแต่ละวัดจะมีข้อปฏิบัติแตกต่างกันไป บางวัดอาจจะมีการเจริญพระพุทธมนต์ต่อ และเมื่อเสร็จแล้วอาจจะมีการสักการะสถูปเจดีย์ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ภายในวัดอีกตามแต่จะเห็นสมควร
 
เมื่อพระสงฆ์สามเณรกลับเสนาสนะของตนแล้ว อาจจะอธิษฐานพรรษาซ้ำอีกเฉพาะเสนาสนะของตนก็ได้ โดยกล่าววาจาอธิษฐานเป็นภาษาบาลีว่า
 
{{คำพูด|อิมสฺมิ{{˚}} วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ <u>อุเปมิ</u><br /> (ถ้ากล่าวหลายคนใช้: <u>อุเปม</u>)}}
 
[[ไฟล์:Wat Su Tat.jpg|150px|thumb|left|[[การสอบธรรมสนามหลวง]]จะจัดขึ้นในช่วงหลังออกพรรษา เพื่อวัดความรู้นักธรรมที่พระสงฆ์เล่าเรียนมาตลอดพรรษากาล]]
 
เป็นอันเสร็จพิธีอธิษฐานเข้าจำพรรษาสำหรับพระสงฆ์ และพระสงฆ์จะต้องรักษาอรุณไม่ให้ขาดตลอด 3 เดือนนับจากนี้ โดยจะต้องรักษาผ้าไตรจีวรตลอดพรรษากาล คือ ต้องอยู่กับผ้าครองจนกว่าจะรุ่งอรุณด้วย<ref>[http://www.thaistudyfocus.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B2/ วันเข้าพรรษา Thai Study Focus]</ref>
 
=== การศึกษาพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษาในปัจจุบัน ===
ในอดีต การเข้าพรรษามีประโยชน์แก่พระสงฆ์ในด้านการศึกษาพระธรรมวินัย โดยการที่พระสงฆ์จากที่ต่าง ๆ มาอยู่จำพรรษารวมกันในที่ใดที่หนึ่ง พระสงฆ์เหล่านั้นก็จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้และถ่ายองค์ความรู้ตามพระธรรมวินัยให้แก่กัน
 
มาในปัจจุบัน การศึกษาพระธรรมวินัยในช่วงเข้าพรรษาในประเทศไทยก็ยังจัดเป็นกิจสำคัญของพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ที่อุปสมบททุกรูป แม้จะอุปสมบทเพียงเพื่อชั่วเข้าพรรษาสามเดือน ก็จะต้องศึกษาพระธรรมวินัยเพิ่มเติม ปัจจุบันพระธรรมวินัยถูกจัดเป็นหลักสูตรของคณะสงฆ์ ในหลักสูตร พระธรรม จะเรียกว่า ธรรมวิภาค พระวินัย เรียกว่า วินัยมุข รวมเรียกว่า "นักธรรม" ชั้นต่าง ๆ โดยจะมีการสอบไล่ความรู้พระปริยัติธรรมในช่วงออกพรรษา เรียกว่า [[การสอบธรรมสนามหลวง]] ในช่วงวันขึ้น 9 - 12 ค่ำ เดือน 11 (จัดสอบนักธรรมชั้นตรีสำหรับพระภิกษุสามเณร) และช่วงวันแรม 2 - 5 ค่ำ เดือน 12 (จัดสอบนักธรรมชั้นโทและ[[นักธรรมเอก|เอก]] สำหรับพระภิกษุสามเณร) <ref>[http://www.gongtham.org/my_data/mydata_book/exam49/index_exam49.htm กำหนดการสอบธรรมสนามหลวง]{{dead link|date=May 2017}}. สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. เรียกข้อมูลเมื่อ 1-7-52</ref>
 
ปัจจุบันการศึกษาเฉพาะในชั้นนักธรรมตรีสำหรับพระนวกะ หรือพระบวชใหม่ จะจัดสอบในช่วงปลายฤดูเข้าพรรษา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่จะลาสิกขาบทหลังออกพรรษา จะได้ตั้งใจเรียนพระธรรมวินัยเพื่อสอบไล่ให้ได้นักธรรมในชั้นนี้ด้วย<ref>[http://buachatrsangkapan.com/index.php?ContentID=ContentID-13070409260039971 สังฆภัณฑ์ - การศึกษาพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษาในปัจจุบัน]</ref>
 
== การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาในประเทศไทย ==
[[ไฟล์:Ramkhamhaeng-Script1.png|180px|thumb|สำเนาศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช)]]
 
การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเริ่มมีมาแต่แรกที่รับพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาในดินแดนประเทศไทย ซึ่งอาจมีปฏิบัติประเพณีนี้มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่มาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าชาวไทยได้ถือปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศลในเทศกาลเข้าพรรษาในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังปรากฏความในศิลาจารึกหลักที่ 1 (ด้านที่ 2) ดังนี้
 
{{คำพูด|... คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มันโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทังชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทังหลายทังผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อ<u>'''พรรษา'''</u>ทุกคน เมื่อโอกพรรษากรานกฐินเดือนณื่งจี่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐิน โอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัตกฐินเถิงอไรญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียง เรียงกันแต่อไรญิกพู้นเท้าหัวลาน ดมบังคมกลองด้วยเสียงพาทย์เสียงพีณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากปตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก ...|คำอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ ๒<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำเนื่องในโอกาส ๗๐๐ ปี ลายสือไทย กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.๒๕๒๗</ref><ref>[http://scitech.rmutsv.ac.th/majorSci/generalstudy/sila.doc คุณค่าและภาษาในศิลาจารึกหลักที่ ๑ - อลิสา เลี้ยงรื่นรมย์ ]{{dead link|date=May 2017}}. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช. เรียกข้อมูลเมื่อ 17-6-52</ref>}}
 
นอกจากนี้ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ยังได้กล่าวถึงการเทศกาลเข้าพรรษาในสมัยสุโขทัยไว้อีกว่า "เมื่อถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ทั้งทหารบก และทหารเรือก็จัดขบวนแห่เทียนจำนำพรรษา ทั้งใส่คานหาบไปและลงเรือ ประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ ประดับ ธงทิว ตีกลอง เป่าแตรสังข์ แห่ไป ครั้นถึงพระอารามแล้วก็ยกต้นเทียนนั้นเข้าไปถวายในพระอุโบสถ หอพระธรรมและพระวิหาร จุดตามให้สว่างไสวในที่นั้น ๆ ตลอด ๓ เดือน ดังนี้ทุกพระอาราม" ซึ่งตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์นั้นสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์โดยมี ตามความที่[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ได้ทรงอธิบายเกี่ยวกับเค้าโครงของหนังสือนี้ว่าแม้มีเค้าโครงมาจากสมัยสุโขทัย แต่รายละเอียดมีการแต่งเสริมกันขึ้นมาในสมัยอยุธยาหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น<ref>[http://www.duangden.com/EthicalLecture/531-4.html คำบรรยายรายวิชาแนวคิดทางจริยศาสตร์ในสังคมไทย]{{dead link|date=May 2017}} (SHES 531 History of Ethical Thoughts in Thai Society). ภาควิชามนุษยศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยมหิดล]]. เรียกข้อมูลเมื่อ 4-5-52</ref>
 
=== ประเพณีเนื่องด้วยการเข้าพรรษาในประเทศไทย ===
 
ในประเทศไทยมีประเพณีมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจำพรรษาของพระสงฆ์ไทยมาช้านาน ดังปรากฏประเพณีมากมายที่เกี่ยวกับการเข้าจำพรรษา เช่น '''ประเพณีถวายเทียนพรรษา''' แก่พระสงฆ์เพื่อจุดบูชาตามอารามและเพื่อถวายให้พระสงฆ์สามเณรนำไปจุดเพื่ออ่านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในระหว่างเข้าจำพรรษา '''ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน''' หรือผ้าวัสสิกสาฏก แก่พระสงฆ์ก่อนเข้าพรรษา เพื่อให้พระสงฆ์นำไปใช้สรงน้ำฝนในพรรษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่พุทธศาสนิกชนไทยถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีคือ '''[[ประเพณีถวายผ้ากฐิน]]''' ที่จัดหลังพระสงฆ์ปวารณาออกพรรษา เพื่อถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ที่จำครบพรรษาจะได้กรานและได้รับอานิสงส์กฐิน เป็นต้น
 
==== ประเพณีถวายเทียนพรรษา ====
{{วิกิซอร์ซ|คำถวายเทียนพรรษา|คำถวายเทียนพรรษา}}
[[ไฟล์:Thawai Thian Phansa 3.jpg|150px|thumb|เทียนพรรษาในปัจจุบันใช้ประโยชน์เพียงจุดบูชาพระพุทธปฏิมา ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาพระธรรมเหมือนในอดีตอีกแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันเริ่มมีชาวพุทธนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างไปถวายแก่พระสงฆ์แทนเทียนพรรษาซึ่งจะให้ประโยชน์มากกว่าใช้จุดบูชาเท่านั้น]]
มีประเพณีหนึ่งที่เนื่องด้วยวันเข้าพรรษาและจัดเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ '''ประเพณีหล่อเทียนพรรษา''' สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชา[[พระประธาน]]ในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นงานประเพณี "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ
 
การถวายเทียนเพื่อจุดตามประทีปเป็นพุทธบูชานั้น มาจากอานิสงส์การถวายเทียนเพื่อจุดเป็นพุทธบูชา ที่ปรากฏความในพระไตรปิฎก<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ '''อนุรุทธเถราปทานที่ ๖'''. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=757&Z=782]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 1-7-52</ref>และในคัมภีร์อรรถกถา ว่าพระอนุรุทธะเถระ เคยถวายเทียนบูชาทำให้ได้รับอานิสงส์มากมาย รวมถึงได้เป็นผู้มีจักษุทิพย์ (ตาทิพย์) ด้วย<ref>อรรถกถาพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน '''อนุรุทธเถราปทาน'''. อรรถกถาพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=6]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 1-7-52</ref> ด้วยการพรรณาอานิสงส์ดังกล่าว อาจทำให้ชาวพุทธนิยมจุดประทีปเป็นพุทธบูชามานานแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าการทำเทียนพรรษาในประเทศไทยถวายเริ่มมีมาแต่สมัยใด แต่ปรากฏความในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ที่พรรณาการบำเพ็ญกุศลในช่วงเข้าพรรษาว่ามีการถวายเทียนพรรษาด้วย
 
ในประเทศไทย การถวายเทียนเข้าพรรษาจัดเป็นพิธีใหญ่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยรัตนโกสินทร์การถวายเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญ โดยจะเรียกว่าพุ่มเทียน<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]]. [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/018/264.PDF การพระราชกุศลถวายพุ่มเข้าพรรษา]. เล่มที่ ๑๙ ตอนที่ ๑๗ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ หน้าที่ ๓๓๑</ref> มีการพระราชทานถวายพุ่มเทียนรวมพึงโคมเพื่อจุดบูชาตามอารามต่าง ๆ ทั้งในพระนครและหัวเมือง ซึ่งพิธีนี้ยังคงมีมาจนปัจจุบัน
 
การถวายเทียนพรรษาโดยแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ นั้น มีมาแต่โบราณ เดิมเป็นประเพณีราชสำนักดังที่ปรากฏในเทียนรุ่งเทียนหลวงตามพระอารามต่าง ๆ สำหรับเทียนแกะสลักที่ปรากฏว่ามีการจัดทำประกวดกันเป็นเรื่องราวใหญ่โตในปัจจุบันนั้น พึ่งเริ่มมีเมื่อปี [[พ.ศ. 2483]] ใน[[จังหวัดอุบลราชธานี]] โดยนายโพธิ์ ส่งศรี ได้เริ่มทำแม่พิมพ์ปูนซีเมนต์เพื่อหล่อขี้ผึ้งเป็นทำลวดลายไทยไปประดับติดพิมพ์บนเทียนพรรษา นับเป็นการจัดทำเทียนพรรษาแกะสลักของช่างราษฏร์เป็นครั้งแรก และนายสวน คูณผล ได้ทำลวดลายนูนสลับสีต่าง ๆ เข้าประกวดจนชนะเลิศ ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2497]] จึงเริ่มมีการทำเทียนพรรษาติดพิมพ์ประกวดแบบพิสดารโดยนายประดับ ก้อนแก้ว คือทำเป็นรูปพุทธประวัติติดพิมพ์จนได้รับรางวัลชนะเลิศติดต่อกันมาหลายปี จนปี [[พ.ศ. 2502]] นายคำหมา แสงงาม ช่างแกะสลัก ได้ทำเทียนพรรษาแบบแกะสลักมาประกวดเป็นครั้งแรกจนได้รับรางวัลชนะเลิศ จากนั้นจึงได้มีการแยกประเภทการประกวดต้นเทียนเป็นสองแบบคือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก จนในช่วงหลังปี [[พ.ศ. 2511]] นายอุตสาห์ และนายสมัย แสงวิจิตร ได้เริ่มมีการจัดทำเทียนพรรษาขนาดใหญ่โต ทำเป็นหุ่นและเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของเทียนพรรษาขนาดใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบัน<ref>สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. ''การหล่อเทียนพรรษา''. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2547</ref>
 
ในอดีต การหล่อเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพิธีสำคัญที่ชาวพุทธจะมารวมตัวกันนำขี้ผึ้งมาหลอมรวมเป็นแท่งเทียนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ แต่ในปัจจุบันชาวพุทธส่วนใหญ่จะนิยมการซื้อหาเทียนพรรษาจากร้านสังฆภัณฑ์ โดยบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนไปซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างถวายแก่พระสงฆ์แทนด้วย ซึ่งนับเป็นการปรับเปลี่ยนที่ได้ประโยชน์แก่พระสงฆ์โดยตรง เพราะปัจจุบันไม่ได้มีการนำเทียนมาจุดเพื่ออ่านหนังสืออีกแล้ว พระสงฆ์คงนำเทียนไปจุดบูชาตามอุโบสถวิหารเท่านั้น
 
==== ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน (ก่อนเข้าพรรษา) ====
{{วิกิซอร์ซ|คำถวายผ้าอาบน้ำฝน|คำถวายผ้าอาบน้ำฝน}}
'''ผ้าอาบน้ำฝน''' หรือ '''ผ้าวัสสิกสาฏก''' คือผ้าเปลี่ยนสำหรับสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ เป็นผ้าลักษณะเดียวกับ[[ผ้าสบง]] โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง [[อัฏฐบริขาร]] ซึ่งได้แก่ [[สบง]] [[จีวร]] [[สังฆาฏิ]] [[เข็ม]] [[บาตร]] [[รัดประคด]] หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น พระสงฆ์ที่มีเพียงสบงผืนเดียวจะอาบน้ำฝนจำเป็นต้องเปลือยกาย ทำให้ดูไม่งามและเหมือนนักบวชนอกศาสนา [[นางวิสาขามหาอุบาสิกา]]จึงคิดถวาย '''"ผ้าวัสสิกสาฏก"''' หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า '''[[ผ้าอาบน้ำฝน]]''' เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยนกับผ้าสบงปกติ จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยปรากฏสาเหตุความเป็นมาของการถวายผ้าอาบน้ำฝนใน[[พระไตรปิฎก]]ดังนี้
 
ครั้งหนึ่งสมัยพุทธกาล พระศาสดาประทับ ณ [[พระเชตวันมหาวิหาร]] นางวิสาขาได้มาฟังธรรม แล้วทูลอาราธนาพระศาสดาและหมู่สงฆ์ไปฉันที่บ้านของนางในวันรุ่งขึ้น เช้าวันนั้น เกิดฝนตกครั้งใหญ่ ตกในทวีปทั้ง 4 พระศาสดาจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายสรงสนานกาย พระสงฆ์ทั้งหลายที่ไม่มีผ้าอาบน้ำฝนจึงออกมาสรงน้ำฝนโดยร่างเปลือยกายอยู่
 
พอดีกับนางวิสาขามหาอุบสิกาสั่งให้นางทาสีไปนิมนต์ภิกษุมารับภัตตาหารที่บ้านของตน เมื่อนางทาสีไปถึงที่วัดเห็นภิกษุเปลื้องผ้าสรงสนานกาย ก็เข้าใจว่า ในอารามมีแต่พวกชีเปลือย (อาชีวกนอกพระพุทธศาสนา) ไม่มีภิกษุอยู่จึงกลับบ้าน ส่วนนางวิสาขานั้นเป็นสตรีที่ฉลาดรู้แจ้งในเหตุการณ์ทั้งปวง เมื่อถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในวันนั้นแล้ว จึงได้โอกาสอันควรทูลขอพร 8 ประการต่อพระศาสดา
 
พระศาสดาทรงอนุญาตพร 8 ประการคือ<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ '''เรื่องนางวิสาขา มิคารมาตา'''-พระพุทธานุญาตผ้าวัสสิกสาฎก. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=5&A=4005&Z=4131]. เข้าถึงเมื่อ 11-6-52</ref><ref>อรรถกถาพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ '''สุรุจิชาดก'''. อรรถกถาพระไตรปิฏก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1942]. เข้าถึงเมื่อ 11-6-52</ref>
 
[[ไฟล์:Novice in the Buddhist religion takes a bath.jpg|170px|thumb|left|ผ้าอาบน้ำฝนมีเพื่อใช้ผลัดกับผ้าสบงปกติ เพื่อปกปิดความเปลือยกายในเวลาสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ (ปกติตามพระวินัย พระสงฆ์จะมีไตรจีวรได้เพียงรูปละ 1 สำรับเท่านั้น)]]
 
# ขอถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่พระสงฆ์เพื่อปกปิดความเปลือยกาย
# ขอถวายภัตแต่พระอาคันตุกะ เนื่องจากพระอาคันตุกะไม่ชำนาญหนทาง
# ขอถวายคมิกภัตแก่พระผู้เตรียมตัวเดินทาง เพื่อจะได้ไม่พลัดจากหมู่เกวียน
# ขอถวายคิลานภัตแก่พระอาพาธ เพื่อไม่ให้อาการอาพาธกำเริบ
# ขอถวายภัตแก่พระผู้พยาบาลพระอาพาธ เพื่อให้ท่านนำคิลานภัตไปถวายพระอาพาธได้ตามเวลา และพระผู้พยาบาลจะได้ไม่อดอาหาร
# ขอถวายคิลานเภสัชแก่พระอาพาธ เพื่อให้อาการอาพาธทุเลาลง
# ขอถวายยาคูเป็นประจำแก่สงฆ์
# ขอถวายผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่ภิกษุณีสงฆ์เพื่อปกปิดความไม่งามและไม่ให้ถูกเย้ยยัน
 
โดยนางวิสาขาได้ให้เหตุผลการถวายผ้าอาบน้ำฝนว่า เพื่อให้ใช้ปกปิดความเปลือยกายในเวลาสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ที่ดูไม่งามดังกล่าว ดังนั้น นางวิสาขาจึงเป็นอุบาสิกาคนแรกที่ได้รับอนุญาตให้ถวายผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์
 
ผ้าอาบน้ำฝน จึงถือเป็นบริขารพิเศษที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสงฆ์ได้ใช้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำให้ถูกต้องตามพระวินัยปิฎก มิเช่นนั้นพระสงฆ์จะต้องอาบัตินิคสัคคิยปาจิตตีย์ คือ ต้องทำผ้ากว้างยาวให้ถูกขนาดตามพระวินัย คือ ยาว 6 [[คืบพระสุคต]] กว้าง 2 คืบครึ่ง ตามมาตราปัจจุบันคือ ยาว 4 ศอก 3 กระเบียด กว้าง 1 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว 1 กระเบียดเศษ ถ้าหากมีขนาดใหญ่กว่านี้ พระสงฆ์ต้องตัดให้ได้ขนาด จึงจะปลงอาบัติได้
 
นอกจากนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงวางกรอบเวลาในการแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนไว้ด้วย หากพระสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนมาได้ภายนอกกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องอาบัติ โดยพระพุทธเจ้ายังได้ทรงวางกรอบเวลาในการแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนไว้ว่า หากพระสงฆ์แสวงหาผ้าอาบน้ำฝนมาใช้ได้ภายนอกกำหนดเวลาดังกล่าว จะต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ กล่าวคือ ทรงวางกรอบเวลาหรือเขตกาลไว้ 3 เขตกาล<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ '''ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๔'''-ทรงบัญญัติสิกขาบท. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=3648&Z=3770&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 1-7-52</ref> คือ
 
* '''เขตกาลที่จะแสวงหา''' ช่วงปลายฤดูร้อน ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 7 ถึงวันเพ็ญเดือน 8 รวมเวลา 1 เดือน
* '''เขตกาลที่จะทำนุ่งห่ม''' ช่วงกึ่งเดือนปลายฤดูร้อน ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันเพ็ญเดือน 8 รวมเวลาประมาณ 15 วัน
* '''เขตกาลที่จะอธิษฐานใช้สอย''' ช่วงเข้าพรรษา ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันเพ็ญเดือน 12 รวมเวลา 4 เดือน
 
ด้วยกรอบพระพุทธานุญาตและกรอบเวลาตามพระวินัยดังกล่าว เมื่อถึงเวลาที่พระสงฆ์ต้องแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน พุทธศานิกชนจึงถือโอกาสบำเพ็ญกุศลด้วยการจัดหาผ้าอาบน้ำฝนมาถวายแก่พระสงฆ์ จนเป็นประเพณีสำคัญเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษามาจนปัจจุบัน
 
==== ประเพณีถวายผ้าจำนำพรรษา (หลังออกพรรษา) ====
{{วิกิซอร์ซ|คำถวายผ้าจำนำพรรษา|คำถวายผ้าจำนำพรรษา}}
'''ผ้าจำนำพรรษา''' หรือ '''ผ้าวัสสาวาสิกสาฎก'''<ref>พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BC%E9%D2]. เข้าถึงเมื่อ 1-7-52</ref> เป็นผ้าไตรจีวรที่ถวายแก่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ที่ผ่านวันปวารณาไปแล้ว หรือที่ผ่านวันปวารณาและได้กรานและอนุโมทนากฐินแล้ว ซึ่งผ้าจำนำพรรษานี้พระสงฆ์สามารถรับได้ภายในกำหนด 5 เดือน ที่เป็นเขตอานิสงส์กฐิน คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
 
แต่สำหรับพระสงฆ์ที่จำพรรษาครบ 3 เดือน และผ่านวันปวารณาไปแล้ว ซึ่งไม่ได้กรานและอนุโมทนากฐิน ก็สามารถรับและใช้ผ้าจำนำพรรษาได้เช่นกัน แต่สามารถรับได้ในช่วงกำหนดเพียง 1 เดือน ในเขต[[จีวรกาล]]สำหรับผู้ไม่ได้กราน[[กฐิน]]เท่านั้น
 
การถวายผ้าจำนำพรรษาในช่วงดังกล่าว เพื่ออนุเคราะห์แก่พระสงฆ์ที่ต้องการจีวรมาเปลี่ยนของเก่าที่ชำรุด พุทธศาสนิกชนจึงนิยมถวายผ้าจำนำพรรษามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ในประเทศไทยก็ปรากฏว่ามีพระราชประเพณีการถวายผ้าจำนำพรรษาแก่พระสงฆ์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ตามความที่ปรากฏในหนังสือพระราชนิพนธ์พระราชพิธี 12 เดือน ซึ่งปัจจุบันแม้ทางราชสำนักได้งดประเพณีนี้ไปแล้ว แต่ประเพณีนี้ก็ยังคงมีอยู่สำหรับชาวบ้านทั่วไป โดยนิยมถวายเป็นผ้าไตรแก่พระสงฆ์หลังพิธีงานกฐิน แต่เป็นที่สังเกตว่าปัจจุบันจะเข้าใจผิดว่าผ้าจำนำพรรษาคือผ้าอาบน้ำฝน ซึ่งความจริงแล้วมีความเป็นมาและพระวินัยที่แตกต่างกันสิ้นเชิง<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๘ ทรงอนุญาตอัจเจกจีวร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=4159&Z=4291]. เข้าถึงเมื่อ 1-7-52</ref>
 
==== ประเพณีถวายผ้าอัจเจกจีวร (ระหว่างเข้าพรรษา) ====
{{วิกิซอร์ซ|คำถวายผ้าอัจเจกจีวร|คำถวายผ้าอัจเจกจีวร}}
'''ผ้าอัจเจกจีวร''' แปลว่า จีวรรีบร้อน หรือผ้าด่วน<ref>พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%D1%A8%E0%A8%A1%A8%D5%C7%C3]. เข้าถึงเมื่อ 1-7-52</ref> คือผ้าจำนำพรรษาที่ถวายล่วงหน้าในช่วงเข้าพรรษา ก่อนกำหนดจีวรกาลปกติ ด้วยเหตุรีบร้อนของผู้ถวาย เช่น ผู้ถวายจะไปรบทัพหรือเจ็บไข้ไม่ไว้ใจว่าจะมีชีวิตรอดหรือไม่ชีวิต หรือเป็นบุคคลที่พึ่งเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา ควรรับไว้ฉลองศรัทธา
 
อัจเจกจีวรเช่นนี้ พระวินัยอนุญาตให้พระสงฆ์รับเก็บไว้ได้ แต่ต้องรับก่อนวันปวารณาไม่เกิน 10 วัน (คือตั้งแต่ขึ้น 6 ค่ำ ถึง 15 ค่ำเดือน 11) และต้องนำมาใช้ภายในช่วงจีวรกาล<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ '''สิกขาบทที่ ๒ แห่งปัตตวรรค นิสสัคคิยปาจิตตีย์'''. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=4159&Z=4291]. เข้าถึงเมื่อ 1-7-52</ref>
 
ผ้าอัจเจกจีวรนี้ เป็นผ้าที่มีความมุ่งหมายเดียวกับผ้าจำนำพรรษา เพียงแต่ถวายก่อนฤดูจีวรกาลด้วยวัตถุประสงค์รีบด่วนด้วยความไม่แน่ใจในชีวิต ซึ่งประเพณีนี้คงมีสืบมาแต่สมัยพุทธกาล ปัจจุบันไม่ปรากฏเป็นพิธีใหญ่ เพราะเป็นการถวายด้วยสาเหตุส่วนตัวเฉพาะรายไป ส่วนมากจะมีเจ้าภาพผู้ถวายเพียงคนเดียวและเป็นคนป่วยหนักที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า
 
== วันเข้าพรรษาในปฏิทินสุริยคติไทย ==
อย่างไรก็ตาม บางประเทศที่นับถือพุทธศาสนาอาจกำหนดวันไม่ตรงกับของไทยในบางปี เนื่องจากประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งบนโลกที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไป
<center>{{รอบปีนักษัตร|start=2539
|7-30|7-20|7-9|7-28|7-17|7-6|7-25|7-14|8-1|7-22|7-11|7-30
|7-18|7-8|7-27|7-16|8-3|7-23|7-12|7-31|7-20|7-9|7-28|7-17
|7-5|7-25|7-14|8-2|7-21|7-11|6-30|7-19|7-7|6-26|7-16|7-5
}}
</center>
 
== การประกอบพิธีทางศาสนาในช่วงพรรษากาลในประเทศไทย ==
แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของ[[ภิกษุ]] แต่[[พุทธศาสนิกชน]]ก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส โดยการจัดเตรียมสิ่งของเพื่อนำไปถวายแก่พระสงฆ์ที่จะจำพรรษา การตั้งใจรักษาศีล 5 หรือศีล 8 และตั้งใจบำเพ็ญความดี เข้าวัดฟังธรรมตลอดพรรษากาล ซึ่งไม่เฉพาะแต่ชาวบ้านทั่วไปเท่านั้น สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ให้ความสำคัญกับการเข้าพรรษาของพระสงฆ์เป็นอย่างมากเช่นกัน
 
=== พระราชพิธี ===
[[ไฟล์:Royal_Candies_of_King_Bhumibol_Adulyadej.JPG|thumb|150px|left|[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] ทรงเจิมเทียนพรรษาที่จะทรงอุทิศพระราชทานไปจุดบูชาพระรัตนตรัยและพุทธเจดีย์สถาน ตามพระอารามหลวงต่าง ๆ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]]
การพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันเข้าพรรษานี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า '''พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา'''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00090539.PDF หมายกำหนดการ ที่ ๑๑/๒๕๔๕ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๔๕], เล่ม ๑๑๙, ตอน พิเศษ ๖๗ ง , ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕, หน้า ๓๐</ref> ซึ่งเดิมก่อน [[พ.ศ. 2501]] เรียกเพียง '''การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันเข้าพรรษา'''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2499/D/057/2067.PDF หมายกำหนดการ พระราชกุศลเข้าวรรษา ๒๔๙๙], เล่ม ๗๓, ตอน ๕๗, ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙, หน้า ๒๐๖๗</ref> แต่หลังจากที่ทางคณะสงฆ์มีการกำหนดให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง (ก่อนหน้าวันเข้าพรรษา 1 วัน) ในปี พ.ศ. 2501 แล้ว<ref name="อาสาฬสังฆนายก">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/D/057/2169.PDF ประกาศสำนักสังฆนายก เรื่อง กำหนดพิธีอาสาฬหบูชา], เล่ม ๗๕, ตอน ๕๗, ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑, หน้า ๒๑๖๙</ref> [[สำนักพระราชวัง]]จึงได้กำหนดเพิ่มการบำเพ็ญพระราชกุศลในวันอาสฬหบูชาเพิ่มเติมขึ้นมาด้วยอีกวันหนึ่ง<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/D/058/1.PDF หมายกำหนดการ ที่ ๑๒/๒๕๐๑ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศการเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๐๑], เล่ม ๗๕, ตอน ๕๘ ง ฉบับพิเศษ, ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑, หน้า ๑</ref> รวมเป็นสองวัน
 
การพระราชพิธีนี้โดยปกติมี [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]] เป็นองค์ประธานในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/D/060/99.PDF หมายกำหนดการ ที่ ๑๔/๒๕๓๙ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๓๙], เล่ม ๑๑๔, ตอน พิเศษ ๖๑ ง, ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐, หน้า ๘๙</ref> และบางครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/B/014/193.PDF หมายกำหนดการ ที่ ๑๗/๑/๒๕๕๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับเปลี่ยนแปลง)], เล่ม ๑๒๕, ตอน ๑๔ ข , ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑๙๓</ref> โดยสถานที่ประกอบพระราชพิธีหลักจะจัดใน[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] [[วัดบวรนิเวศวิหาร]] และภายใน[[พระบรมมหาราชวัง]] การสำคัญของพระราชพิธีคือการถวายพุ่มเทียนเครื่องบูชาแก่[[พระพุทธปฏิมา]]และ[[พระราชาคณะ]] รวมทั้งการพระราชทานภัตตาหารแก่พระราชาคณะ [[ฐานานุกรม]] [[เปรียญ]] ซึ่งรับอาราธานามารับ[[บิณฑบาต]]ใน[[พระบรมมหาราชวัง]]จำนวน 150 รูป ในวันเข้าพรรษาทุกปี<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00126547.PDF หมายกำหนดการ ที่ ๑๓/๒๕๔๖ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา พุทธศักราช ๒๕๔๖], เล่ม ๑๒๐, ตอน พิเศษ ๗๖ ง, ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖, หน้า ๗๘</ref> เป็นต้น ซึ่งการพระราชพิธีนี้เป็นการแสดงออกถึงพระราชศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา ขององค์[[พระมหากษัตริย์]]ไทยผู้ทรงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 
=== พิธีสามัญ ===
[[ไฟล์:Tienpansa.gif|thumb|ประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี]]
เมื่อถึงวันเข้าพรรษา [[พุทธศาสนิกชน]]นิยมไป[[ทำบุญ]][[ตักบาตร]] ถวายเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน โดยมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระ[[ภิกษุ]] [[สามเณร]] หรือมีการช่วยพระทำความสะอาด[[เสนาสนะ]] ซ่อมแซม[[กุฏิ]][[วิหาร]]และอื่นๆ โดยนิยมไปร่วมทำบุญตักบาตร [[ฟังเทศน์]] ฟังธรรมและรักษา[[อุโบสถศีล]]กันที่[[วัด]] บางคนอาจตั้งใจงดเว้น[[อบายมุข]]ต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น ซึ่งพอสรุปกิจที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในพรรษากาลได้ดังนี้
 
# ร่วมกิจกรรมทำเทียนพรรษาหรือหลอดไฟถวายแก่พระสงฆ์
# ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่[[ภิกษุ]][[สามเณร]]
# ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟัง[[พระธรรมเทศนา]] รักษา[[อุโบสถศีล]] ตลอดพรรษากาล
# อธิษฐานตั้งใจทำความดี หรืองดการทำชั่วอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น งดเว้น[[อบายมุข]]ต่าง ๆ เป็นต้น
 
== วันเข้าพรรษาในประเทศอื่น ๆ ==
ในปัจจุบัน มี[[พระสงฆ์]]จากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะพระสงฆ์จาก[[ประเทศไทย]] [[พม่า]] [[ศรีลังกา]] และบางส่วนของ[[ญี่ปุ่น]] จะไปทำพิธีวันเข้าพรรษาที่[[ประเทศอินเดีย]]และ[[ประเทศเนปาล]] ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น [[พุทธคยา]] เมือง[[ราชคฤห์]] [[สารนาถ]] เมือง[[กุสินารา]] สวน[[ลุมพินี]] เมือง[[กบิลพัสดุ์]] เมือง[[สาวัตถี]] และกรุง[[นิวเดลี]] เป็นต้น<ref name="จำพรรษาในอินเดีย">[http://www.komchadluek.net/detail/20120927/140984/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%28%E0%B9%92%29.html#.UfplEdKmgZZ เข้าพรรษา ณ แดนพุทธภูมิ(๒)]</ref> ขณะเดียวกันในส่วนอื่น ๆ ของ[[ประเทศอินเดีย]] ต่างก็ถือว่าวันเข้าพรรษาเป็นวันเริ่มต้นการถือศีลและปฏิบัติธรรมไปจนครบ 3 เดือน และกำหนดให้วันเข้าพรรษาให้เป็นวันเริ่มการทำความดีเช่นเดียวกัน<ref name="จำพรรษาในอินเดีย"/>
 
สำหรับใน[[ประเทศอินเดีย]]นั้น ไม่ได้กำหนดให้วันเข้าพรรษาและ[[วันอาสาฬหบูชา]]เป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศเหมือนกับ[[วันวิสาขบูชา]]<ref>[http://www.oknation.net/blog/mylifeandwork/2009/08/08/entry-1 เข้าพรรษา ณ แดนพุทธภูมิ]</ref> ส่วนประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้ ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันเข้าพรรษาและ[[วันอาสาฬหบูชา]]ให้เท่าเทียมกับ[[วันวิสาขบูชา]]ด้วย
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* ปัณณวัฒน์. ''ปฏิทิน 100 ปี พ.ศ. 2468-2568 คัมภีร์พยากรณ์คู่บ้าน.'' กรุงเทพฯ : ไพลิน, 2550. ISBN 974-455-535-1
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[วันอาสาฬหบูชา]] (วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก่อนหน้าวันเข้าพรรษา 1 วัน)
* [[กฐิน]] อานิสงส์สำหรับพระภิกษุผู้อยู่จำครบพรรษา
* [[วันออกพรรษา]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Vassa}}
 
* พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 '''วัสสูปนายิกขันธกะ'''. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=5450&Z=5501&pagebreak=0]
* [http://www.songpak16.com/aticle/kaopansa.htm วันเข้าพรรษา]{{dead link|date=May 2017}}.โดย พระธรรมคุณาภรณ์ (เอื้อน หาสธมโม) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
* [http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=248 วันเข้าพรรษา]{{dead link|date=May 2017}} โดย ศ. ดร.กาญจนา นาคสกุล
* [http://www.culture.go.th/study.php?&YY=2548&MM=7&DD=4 วันเข้าพรรษา : ช่วงอธิษฐานจิต "ทำดี ละชั่ว"]{{dead link|date=May 2017}}
 
{{วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย}}
{{วันหยุดราชการไทย}}
[[หมวดหมู่:วันสำคัญทางศาสนาพุทธ|ขเข้าพรรษา]]
[[หมวดหมู่:วันสำคัญทางศาสนาที่นับโดยปฏิทินจันทรคติ]]