ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จูกัดเหลียง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พระเจ้าเหี้ยนเต้
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน<ref>http://www.samkok911.com/2014/05/Zhuge-Liang-and-Crane-feather-fan-legend.html</ref> (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ<ref>http://4.bp.blogspot.com/-H80sPtrs3Q4/U372i3OAbeI/AAAAAAAAeng/3OONKXydfxs/s1600/Zhuge-Liang-%E0%B8%82%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%87.jpg</ref>
 
ขงเบ้ง (Zhuge Liang -(Kong Ming)) (ค.ศ. 181-234) มีชื่อจริงว่า จูเก๋อเหลียง โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น
 
ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย
บรรทัด 155:
# ในการบุกกิสานครั้งที่สาม ใช้เนินไม้แปลกสร้างกองทัพผีทำกลลวงทัพสุมาอี้จนแม้แต่ยอดขุนพล[[เตียวคับ]]ยังไม่กล้าบุก จนสามารถตีได้ค่ายใหญ่ของสุมาอี้ เปิดทางเข้าสู่กิสานได้เต็มตัว
# สร้างโคยนต์ม้ากลขึ้นใช้ลำเลียงเสบียงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการบุกกิสานในการบุกกิสานครั้งที่ 5
# ลวงทัพสุมาอี้ให้ออกรบ โดยซุ่มกำลังไว้ที่ช่องเขาระหว่างทาง ทำการเผาทัพสุมาอี้ในการบุกกิสานครั้งที่ 6 ในครั้งนี้สุมาอี้ [[สุมาสู]] และ[[สุมาเจียว]] บุตรทั้งสองของสุมาอี้ เกือบต้องมาสิ้นชีวิตที่ช่องเขานี้ แต่คงเป็นบุญญาภินิหารของตระกูลสุมาที่จะต้องให้กำเนิดพระมหากษัตริย์จักรพรรดิที่สามารถรวบรวมสามก๊กให้เป็นหนึ่งได้ ทำให้ฝนตกลงมาสามพ่อลูกตระกูลสุมาจึงหนีรอดไปได้
# ก่อนจูกัดเหลียงสิ้นชีวิตในการบุกกิสานครั้งที่ 6 นี้เองได้วางกลลวงสุมาอี้เพื่อทำให้กองทัพเคลื่อนกลับเซงโต๋ได้อย่างปลอดภัยโดยให้นำหุ่นไม้ของจูกัดเหลียงขึ้นนั่งบนรถประจำตัวโดยในจุดนี้ บางฉบับกล่าวว่าจูกัดเหลียงให้นำเอาศพของตนเองขึ้นนั่งบนรถ แล้วให้[[เกียงอุย]]เป็นทัพหลัง เมื่อเห็นทัพสุมาอี้เคลื่อนใกล้วเข้ามาตามตีก็ให้เข็นรถออกไปให้สุมาอี้เห็นทำให้สุมาอี้ที่เคยโดนกลลวงจนเกือบโดนเผาตายไม่กล้ายกทัพตามตีต่อเพราะคิดว่าจูกัดเหลียงยังมีชีวิตอยู่และเกรงกลัวจะต้องกลของจูกัดเหลียง และยังให้[[เตียวหงี]]กับ[[ม้าต้าย]]ทำกลลวงกบฏ[[อุยเอี๋ยน]]จนสามารถสังหารอุยเอี๋ยนได้ระหว่างทางกลับเซงโต๋นั่นเอง
 
บรรทัด 172:
== วัฒนธรรมสมัยนิยม ==
=== นักแสดงที่รับบทจูกัดเหลียงในละครและภาพยนตร์ ===
 
[[ไฟล์:ขงเบ้งรอฟังผลการรบ.jpg|thumb|ภาพจากทีวีซี่รีย์ 2010 จากนักแสดง ลู่อี้]]
 
* หลีฝ่าเฉิงแสดงเป็นขงเบ้งในเรื่อง จูกัดเหลียง ปี 1985
* เจิ้งเส้าชิว รับบทจูกัดเหลียงใน ขงเบ้ง ปี 1985
เส้น 189 ⟶ 186:
 
==ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์==
สถานที่พำนักของขงเบ้ง ที่ถูกบรรยายในวรรณกรรมว่าเป็นกระท่อมไม้ไผ่หรือกระท่อมหญ้าบนเขาโงลังกั๋ง ในปัจจุบันยังมีการถกเถียงกันอยู่ระหว่าง 2 ที่ คือ กู่หลงจง ตั้งอยู่ห่างจากเมือง[[เสียนหยาง]] [[มณฑลหูเป่ย]] ไปประมาณ 10.6 กิโลเมตร ทางตะวันตกเยืองไปทางใต้ ที่นั่นมีศาลขงเบ้งตั้งอยู่ทั้งศาลเก่าและศาลที่สร้างขึ้นใหม่ ณ ที่นี่เชื่อว่าเป็นสถานที่ ๆ ขงเบ้งเสนอ[[ยุทธศาสตร์หลงจง]]แก่เล่าปี่ และอีกที่หนึ่ง คือ [[โว่หลงกัง]] หรือเขาโงลังกั๋ง ใน[[มณฑลเหอหนาน]] อยู่ห่างจากเมือง[[หนานหยาง]] ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร<ref>{{cite web|url=https://www.youtube.com/watch?v=qrDLSq9_-ac|title=Spirit of Asia : เดินบนแผ่นดินสามก๊ก ตอนที่ 2 (17 ม.ค. 59)|date=2016-01-17|accessdate=2017-07-11|work=ไทยพีบีเอส}}</ref>
 
ขงเบ้งตัวตนจริงในประวัติศาสตร์แตกต่างจากบทบาทที่ปรากฏในวรรณกรรม โดยขงเบ้งไม่เคยวางกลอุบายการศึกแต่อย่างใด เพียงแต่นำทัพด้วยความสุขุมรอบคอบ และใช้เพียงกลยุทธธรรมดา ๆ การยืมลูกธนูแสนดอกจากโจโฉในศึกผาแดง ก็มิใช่ผลงานของขงเบ้ง แต่เป็นซุนกวน ผู้นำง่อก๊ก และเหตุการณ์นี้ก็เกิดหลังจากศึกผาแดงนานถึง 5 ปี โดยซุนกวนล่องเรือไปเผชิญหน้ากับกองทัพของโจโฉ โจโฉจึงสั่งยิงธนูเข้าใส่เรือของซุนกวน ซุนกวนได้หันข้างเรือรับ จนเมื่อหนักกราบเรือปริ่มน้ำแล้วก็ให้หันอีกข้างรับต่อ และเดินทางกลับได้โดยปลอดภัย อีกทั้งกลอุบายเมืองร้าง ที่ม้าเจ๊กเสียด่านเกเต๋งให้แก่สุมาอี้ แม่ทัพของวุยก๊กครั้งนั้นก็มิใช่สุมาอี้ หากแต่เป็น[[เตียวคับ]] เพราะขณะนั้นสุมาอี้อยู่ที่เมือง[[ลกเอี๋ยง]] ไกลจากที่เกิดเหตุนับพันกิโลเมตร ขงเบ้งมิได้ใช้กลยุทธอุบายหลอกล่อใด ๆ เพียงแต่ถอยทัพด้วยความรวดเร็วเท่านั้น<ref>หน้า 12 ต่างประเทศ, '''ขงเบ้ง' เก่งการรบและกลศึก ?'' โดย ดร.ประศาสน์ ตั้งมติธรรม. "เข้าใจโลก". '''กรุงเทพธุรกิจ''' ปีที่ 27 ฉบับที่ 9489: วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557</ref>
 
เส้น 234 ⟶ 233:
[[หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 3]]
[[หมวดหมู่:นักยุทธศาสตร์ทหาร]]
{{โครงสามก๊ก}}