ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือไฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ [[เอเชียตะวันออก]], ภาคเหนือของ[[เอเชียใต้]] จนถึง[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] คือ ภาคใต้และภาคตะวันออกของ[[จีน]], [[เนปาล]], [[ภูฏาน]], [[พม่า]], [[ไทย]], [[ลาว]], [[กัมพูชา]], [[เวียดนาม]], [[มาเลเซีย]]และ[[เกาะสุมาตรา]]<ref name="nowell96">{{cite book |author= Nowell, K., Jackson, P. |year= 1996 |title= 'Wild Cats: status survey and conservation action plan |publisher=IUCN/SSC Cat Specialist Group, Gland, Switzerland |url=http://www.catsg.org/catsgportal/cat-website/catfolk/temmin01.htm}} </ref>
 
เสือไฟ สามารถปรับตัวให้อยู่ในป่าได้ทุกสภาพ เช่น [[ป่าดิบ|ป่าดิบแล้ง]], [[ป่าดิบชื้น]], [[ป่าเบญจพรรณ]] สามารถปีนต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว แต่จะล่าเหยื่อบนพื้นดินมากกว่าล่าบน[[ต้นไม้]] และยังพบได้ถึงระดับถึงความสูงกว่า 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลใน[[เทือกเขาหิมาลัย]]<ref>Baral H.S. and Shah K.B. (2008) ''Wild Mammals of Nepal.'' Himalayan Nature, Kathmandu.</ref> เมื่อเวลาเดินจะยกหางขึ้นเหมือน[[แมวบ้าน]] อาหารของเสือไฟมักเป็น[[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]]ขนาดเล็ก เช่น [[หนู]], [[กระต่าย]], ลูก[[เก้ง]]และนกเล็ก ๆ ที่หากินตามพื้นดิน ในบางครั้งอาจล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวได้ [[หมูป่า]]ขนาดเล็กและลูก[[กวางป่า]]ได้ด้วย รวมถึงล่า[[ปศุสัตว์]]ที่มนุษย์เลี้ยงได้ด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.dailynews.co.th/Content/regional/282280/%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9|title=ตื่นเสือไฟบุกชุมชนขย้ำกินหัวใจหมู|date=20 November 2014|accessdate=21 November 2014|publisher=เดลินิวส์}}</ref> ในต้นปี [[พ.ศ. 2558]] ที่[[อำเภอห้วยยอด]] [[จังหวัดตรัง]]เคยปรากฏข่าวว่าเสือไฟโจมตี[[ช้างเอเชีย|ช้าง]]พังที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้จนล้ม<ref name=ช้าง>{{cite web|work=กรุงเทพธุรกิจ|url=http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/626756|title=เสือไฟกัดช้างตาย|date=2015-01-08|accessdate=2017-07-09}}</ref> มักอาศัยตามลำพัง ยกเว้นช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่พบเห็นว่าอยู่ด้วยกัน 2–3 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน 95 วัน ออกลูกครั้งละ 1–2 ตัว ตามโพรงไม้ที่มีความปลอดภัย ปกติเสือไฟจะล่าเหยื่อเพียงลำพัง แต่ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่ ก็อาจล่าเป็นคู่ได้<ref name="ช่อง 7"/>
 
==ชนิดย่อย==
บรรทัด 44:
 
นอกจากนี้แล้ว ยังมีความเชื่ออีกว่าเสือไฟเป็นตัวการที่ก่อให้เกิด[[ไฟป่า]] ดอยหรือป่าผืนใดที่เสือไฟปรากฏ ไม่ช้าจะเกิดไฟป่า<ref>หน้า ๐๗๒, ''คืนสุขวัยเยาว์ ผืนป่าตะวันตก'' โดย ธเนศ งามสม. อ.ส.ท. พฤศจิกายน ๒๕๕๗: ปีที่ ๕๕ ฉบับที่ ๔</ref>
 
ใน[[ภาษาใต้]] เสือไฟถูกเรียกว่า "คางคูด" เชื่อกันว่าเป็นสัตว์ดุร้าย มักใช้เป็นคำขู่หลอกให้เด็ก ๆ กลัว โดยคางคูดนี้เป็นชื่อโดยรวม ๆ ของสัตว์กินเนื้อขนาดเล็กที่ปรากฏตัวในเวลากลางคืน ร่วมกับ[[เสือดำ]], [[มูสัง]] หรือ[[ชะมด]]<ref>{{cite web|url=http://siamensis.org/node/34944|work=สยามเอนซิส|title=คางคูด คืออะไรครับ|date=2012-01-07|author= Lhong |accessdate=2017-07-09}}</ref><ref name=ช้าง/>
 
ที่จีน เสือไฟถูกมองว่าเป็น[[เสือดาว]]ชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า "แมวหิน" หรือ "เสือดาวเหลือง" ในตัวที่มีขนสีดำหรือเข้มเรียกว่า "เสือดาวดำ" และตัวที่ปรากฏลายจุดเรียกว่า "เสือดาวงา"<ref name=WCoW/>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เสือไฟ"