ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สารนาถ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
PanyaPangya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 77:
{{สถานที่สำคัญในพุทธภูมิ}}
 
สารนาถในสมัยพุทธกาล เรียกกันว่า '''ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน''' แปลว่า ป่าอันยกให้แก่หมู่กวาง และเป็นที่ชุมนุมฤๅษี เป็นสถานที่สงบและเป็นที่ชุมนุมของเหล่าฤๅษีและนักพรตต่าง ๆ ที่มาบำเพ็ญตบะและโยคะเพื่อเข้าถึงพรหมัน (ตามความเชื่อในคัมภีร์อุปนิษัทของพรามหณ์พราหมณ์) ทำให้เหล่า[[ปัญจวัคคีย์]]ที่ปลีกตัวมาจาก[[เจ้าชายสิทธัตถะ]] (ที่พระองค์หันมาเสวยอาหารและถูกปัญจวัคคีย์ดูถูกว่าไม่มีทางตรัสรู้) มาบำเพ็ญตบะที่นี่
 
สถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เกิดในบริเวณที่ตั้งของ '''กลุ่มพุทธสถานสารนาถ''' ภายในอาณาบริเวณของ[[ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน]] 9 [[กิโลเมตร]]เศษ ทางเหนือของ[[เมืองพาราณสี]] (เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของ[[ศาสนาฮินดู]]) [[รัฐอุตตรประเทศ]] [[ประเทศอินเดีย]]ในปัจจุบัน (หรือ [[แคว้นกาสี]] [[ชมพูทวีป]] ในสมัย[[พุทธกาล]]) '''สารนาถ''' จัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 (1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ) เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถเนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย (บ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค+นารถ = ที่อยู่ของสัตว์จำพวกกวาง) <ref>ไพโรจน์ คุ้มไพโรจน์.ตามรอยบาทพระศาสดา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ธรรมสภา, 2539.</ref> ภายในอาณาบริเวณสารนาถมี '''ธรรมเมกขสถูป''' เป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด เนื่องจากสันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระสัจจธรรมเป็นครั้งแรกที่นี่
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/สารนาถ"