ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญาสามฝั่งแกน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Zxcvbn~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Zxcvbn~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
พญาสามฝั่งแกนเป็นเจ้าผู้ครองนครแห่งราชวงศ์มังรายลำดับที่ 8 และเป็นลำดับที่ 32 แห่งราชวงศ์ลวจังกราช ประสูติเมื่อ พ.ศ.1941 ครองราชสมบัติ 31 ปี ทิวงคต พ.ศ. 1990 สิริพระชนมายุได้ 49 พรรษา<ref>ลำจุล ฮวบเจริญ.(2550).เกร็ดพงศาวดารล้านนา.กรุงเทพฯ: The Knowledge Center.</ref>
== พระนามพญาสามฝั่งแกน ==
=== [[นามเรียกขาน]] ===
 
ในตำนานเก่าแก่แต่โบราณได้เรียกนามของพญาสามฝั่งแกนต่างกันไปนาๆ เช่น “ ดิษฐกุมาร” หรือ “เจ้าดิส” ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ “พระเจ้าสามปรายงค์แม่ใน” ตำนานไม่ปรากฏนาม เรียกว่า และ “พญาสามประหญาฝั่งแกน” ในหนังสือประวัติศาสตร์ล้านนา ของสรัสวดี อ๋องสกุล เป็นต้น
 
=== [[พระนามและสถานที่ประสูติ]] ===
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับวัดเมธังกราวาส จังหวัดแพร่ กล่าวถึงที่มาของพระนามพญาสามฝั่งแกนว่า ทรงได้รับการตั้งพระนามตามสถานที่ประสูติ ช่วงนั้นพระราชมารดาของพระองค์ทรงครรภ์ได้ 8 เดือน เจ้าแสนเมืองมาพาไปประพาสตามหัวเมืองต่างๆ ถึงสิบสองปันนาลื้อ พอล่วง 7 เดือนผ่านไป จึงเสด็จกลับมาที่พันนาสามฝั่งแกน และประสูติราชบุตรที่นั่น ในปัจจุบันสันนิษฐานว่าอยู่ที่ ตำบลอินทขิล อำเภอ แม่แตง จังหวัด เชียงใหม่ โดยบริเวณเมืองเก่านี้มีแม่น้ำสามสาย ได้แก่ 1. แม่น้ำแกน 2. แม่น้ำปิง และ3. แม่น้ำสงัด หรืองัด
ในงานวิจัย “รายงานการสำรวจพื้นฐาน ทุ่งพันแอกพันเฝือเมืองแกน” ของศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ วิทยาลัยครูเชียงใหม่(2525)ได้สันนิษฐานว่าพระนามของพระองค์อาจมาจากทั้งชื่อเมืองพันนาฝั่งแกน หรือชื่อแม่น้ำสามฝั่งแกน ในกรณีของชื่อแม่น้ำแกน อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ วิทยาลัยครูเชียงใหม่ สันนิษฐานว่า ‘อาจมาจากคำว่า “กั่งแก๊น” ซึ่งตำนานเมืองแกนกล่าวว่า เป็นอาการคับแค้นใจของประชาชนในเมืองแกนที่ถูกศัตรูรุกราน แล้วกวาดต้อนผู้คนไปทำให้พลัดพรากกัน หรืออาจมาจากคำว่า “แก๊น” แปลว่ากลาง’