ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกียวกูองโฮโซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Gyokuon-ban.jpg|thumbnail|แผ่นเสียงบันทึกกระแสพระราชดำรัส "เกียวกุอง โฮโซ" ของจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์ไว์ที่พิพิธภัณฑ์ของ[[เอ็นเอชเค]]]]
'''เกียวกุอง โฮโซ''' ({{ญี่ปุ่น|''Gyokuon-hōsō''|玉音放送|Gyokuon-hōsō}}) หรือ "การออกอากาศพระสุรเสียง" เป็นการออกอากาศ "พระราชดำรัสว่าด้วยการสิ้นสุดสงครามมหาเอเชียบูรพา" ({{ญี่ปุ่น|大東亜戦争終結ノ詔書|Daitōa-sensō-shūketsu-no-shōsho}}) ของ[[จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ]]แห่ง[[จักรวรรดิญี่ปุ่น]] ทางระบบวิทยุกระจายเสียง โดยทรงประกาศต่อชาวญี่ปุ่นว่ารัฐบาลญี่ปุ่นได้ยอมรับ[[ปฏิญญาพ็อทซ์ดัม]] ซึ่งต้องการให้ทหารญี่ปุ่น[[การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข|ยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข]]เพื่อยุติ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] พระราชดำรัสดังกล่าวได้รับการเผยแพร่เมื่อเที่ยงวันตาม[[เวลามาตรฐานญี่ปุ่น]] วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจาก[[ยุทธการโอะกินะวะ]] [[การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ|การทิ้งระเบิดปรมาณู]]ถล่ม[[ฮิโระชิมะ]]และ[[นะงะซะกิ]] และการประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นของ[[สหภาพโซเวียต]]
 
พระราชดำรัสของจักรพรรดิฮิโระฮิโตะอาจถือได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่จักรพรรดิญี่ปุ่นมีพระราชดำรัสแก่สามัญชน แม้ว่าจะเป็นพระราชดำรัสผ่าน[[แผ่นเสียง]]ก็ตาม พระราชดำรัสดังกล่าวเผยแพร่ในรูปแบบทางการและใช้[[ภาษาญี่ปุ่น]]ที่ค่อนข้างพ้นสมัยซึ่งใช้กันในราชสำนักจักรพรรดิแต่โบราณ นอกเหนือจากนั้น พระราชดำรัสของจักรพรรดิฮิโระฮิโตะมิได้หมายความถึงการยอมจำนนโดยตรง แต่ตรัสว่าพระองค์ได้พระราชทานคำแนะนำแก่รัฐบาลในการยอมรับข้อตกลงของปฏิญญาพอตสดัมทั้งหมด สิ่งทำให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้ฟังจำนวนมากซึ่งไม่ทราบว่าญี่ปุ่นได้ยอมจำนนหรือพระจักรพรรดิทรงเรียกร้องให้ประชาชนต่อต้านการรุกรานของข้าศึกต่อไป คุณภาพเสียงที่ต่ำของการออกอากาศวิทยุ เช่นเดียวกับภาษาอย่างเป็นทางการที่ใช้กันในราชสำนัก เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสงสัย