ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ 6 ตุลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 19:
จลาจลและปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วงในและบริเวณหน้า[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ท่าพระจันทร์ และ[[ท้องสนามหลวง]] ขณะที่นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยกำลังชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับประเทศของจอมพล [[ถนอม กิตติขจร]] อดีต[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] ที่สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน ซึ่งมีทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืน ถูกทุบตี หรือถูกทำให้พิการ<ref name="Handley236">Handley, Paul M. ''[[The King Never Smiles]]: A Biography of Thailand's Bhumibol Adulyadej''. Yale University Press. ISBN 0-300-10682-3, p. 236.</ref>
 
หนึ่งวันก่อนเหตุการณ์ มีการตีพิมพ์ภาพถ่ายการแขวนคอจำลองโดยผู้ประท้วงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในสื่อ สำหรับหลายฝ่าย นักศึกษาในภาพถ่ายนั้นเหมือนกับกำลังแขวนคอหุ่นจำลอง[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร]]([[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลากรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร]]) เป็นผลให้กำลังกึ่งทหารที่โกรธแค้นมาชุมนุมกันนอกมหาวิทยาลัยในเย็นนั้น
 
พลตำรวจโท [[ชุมพล โลหะชาละ]] รองอธิบดี[[กรมตำรวจ]] สั่งการโจมตีในรุ่งเช้าและอนุญาตให้ยิงอย่างเสรีในวิทยาเขต [[คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน|คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง]] นำโดย พลเรือเอก [[สงัด ชลออยู่]] [[รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]] ยึดอำนาจทันทีหลังสิ้นสุดเหตุการณ์ สมาชิกของคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองนั้นมีความคิดสายกลางกว่า กลุ่มของพลตรี [[ประมาณ อดิเรกสาร]] และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองกลุ่ม ยังเป็นที่เข้าใจไม่มากนัก<ref name="Handley236"/> คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองแต่งตั้ง[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]] ผู้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่ยึดมั่นในหลักการ และผู้ที่พระมหากษัตริย์โปรด เป็นนายกรัฐมนตรี