ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนพล อินทฤทธิ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
McVega-01 (คุย | ส่วนร่วม)
McVega-01 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 26:
เสือได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในปี [[พ.ศ. 2537]] เมื่อได้ออกอัลบั้มชุดแรกในชีวิตกับทางอาร์เอส ในชื่อชุด ''[[ทีของเสือ]]'' มีเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น ''รักคงยังไม่พอ'', ''กระดาษห่อไฟ'', ''ชีวิตหนี้'', ''เรือลำหนึ่ง'', ''18 ฝน'' เป็นต้น และได้เล่น[[คอนเสิร์ต]][[ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต]] ครั้งที่ 2 ในชื่อ ''เสืออำพัน'' ในเดือน[[สิงหาคม]] ปีเดียวกัน ที่[[สนามกีฬากองทัพบก]] ร่วมกับเป้–[[สุรัช ทับวัง]] และเจี๊ยบ–[[พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร]] ด้วย
 
ในปี [[พ.ศ. 2541]] เสือได้ย้ายสังกัดไปเซ็นสัญญากับค่ายเมกเกอร์เฮดในเครือแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (ปัจจุบันคือ [[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่]]) และได้ออกอัลบั้มชุดที่สอง ชื่อ ''ใจดีสู้เสือ'' มีเพลงที่ได้รับความนิยม คือ ''เศษ'', ''ใจดีสู้เสือ'', ''ดูโง่โง่'', ''มีอะไรยั่งยืน'' เป็นต้น นับในปี พ.ศ. 2546 เสือ ได้ขึ้นเป็นการสูญเสียบุคลากรคนสำคัญของผู้บริหารค่ายมิวสิก อาร์เอสมี่ ในเครือ โปรโมชั่นจีเอ็มเอ็ม ครั้งหนึ่งทีเดียวแกรมมี่
 
จากนั้น ได้ทำงานเบื้องหลังควบคู่ไปกับการออกอัลบั้มต่อไป โดยมี [[จิตติพล บัวเนียม]] เป็นโปรดิวเซอร์ในการออกอัลบั้มเพลง และได้ขึ้นเป็นผู้บริหารค่ายมิวสิก อาร์มี่ ในเครือแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
 
บทเพลงของเสือเกือบทุกเพลงจะเขียนเองโดยตลอด มักมีกลิ่นอายของ[[เพลงเพื่อชีวิต]]เจือปน มีภาษาและเนื้อหาเป็นเอกลักษณ์ของตน สะท้อนถึงปัญหาการใช้ชีวิตในสังคม และมุมมองการใช้ชีวิตด้วย แม้จะไม่มีใครจัดว่าเสือเป็นศิลปินนักดนตรีเพื่อชีวิตก็ตาม แต่ผลงานเพลงคุณภาพแต่ละอัลบั้มที่เสือทำ ล้วนแล้วมาจากความตั้งใจจริง