ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอนครไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Samai2008 (คุย | ส่วนร่วม)
Samai2008 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 28:
== ประวัติ ==
ขอมเป็นชนชั้นปกครองเมืองของชาวไทยต่างๆอยู่ก่อน ต่อมา[[พ่อขุนศรีนาวนำถุม]]เป็นคนแรกที่รวบรวมเมืองแถบลุ่มแม่น้ำยมแม่น้ำน่านจัดตั้ง[[อาณาจักรสุโขทัย]]ขึ้น ต่อมาถูก[[ขอมสบาดโขลญลำพง]]ยึดอำนาจได้เป็นผู้ปกครองอาณาจักรสุโขทัย ขอมจึงกลับมามีอำนาจอีก ทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์(พ่อขุนบางกลางหาว) ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าเมืองบางยาง คือ นครไทยในปัจจุบัน จึงมือร่วมกับพ่อขุนผาเมือง(พระราชโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถุม) เจ้าเมืองลุ่ม เมืองหล่มเก่าในปัจจุบัน ยกทัพไปชิงเอาคืน โดยพ่อขุนบางกลางหาวไปตีเมืองศรีสัชนาลัย พ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัย ได้ชัยชนะทั้งสองเมือง พ่อขุนผาเมืองยกเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาว พ่อขุนบางกลางหาวก็ขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย ในพ.ศ. 1792 เฉลิมพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
 
มีหลักฐานที่สำคัญคือ วัดกลางศรีพุทธาราม ซึ่งตั้งอยู่ห่างจาก ที่ว่าการ อ.นครไทย ประมาณ 500 เมตร มีต้นจำปาขาวใหญ่ อยู่ต้นหนึ่งมีความ เชื่อกันว่า มีอายุมานานพร้อมกับ พ่อขุนบาง กลางหาว เริ่มสร้างเมืองบางยาง นั่นเอง ซึ่งพิสูจน์ แล้วว่า มีอายุประมาณ 700 ปีเศษ หลักฐานที่สำคัญ ว่าเมืองบางยางได้เปลี่ยนชื่อเป็น "นครไทย" มีปรากฏอยู่ ต้นจำปาขาว ในพงศาวดาร ฉบับหลวง ประเสริฐ ว่าศักราช 839 ระกา(พ.ศ. 2020) แรกตั้งเมือง นครไทย พ.ศ. 2020 นี้เป็นระยะที่อยู่ในรัชสมัยของ สมเด็จพระ บรมไตรโลกนารถ ซึ่งพระองค์ทรงเป็น นักอักษรศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ ซึ่งได้จัดการปกครองบริเวณ หัวเมือง ต่างๆ นอกเมืองหลวงให้เป็นระเบียบแบบแผนที่แน่นอน เพื่อให้ง่ายแก่การ ปกครองควบคุม ตรวจตรา จึงได้ยกฐานะ เมืองบางยาง เป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองปกครอง แล้วเปลี่ยน ชื่อใหม่ว่า "เมืองนครไทย" เช่นเดียวกับเมืองอื่นๆ ซึ่งพระองค์ ทรงเปลี่ยน มาแล้ว เช่นเมืองสองแคว เป็นเมืองพิษณุโลก เมืองสระหลวงเป็นเมืองพระจิตร และเมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองอุตรดิตถ์ เป็นต้น นับแต่ พ.ศ. 2020 เป็นต้นมา เมืองนครไทยก็มีฐานะเป็นเมืองที่มีเจ้าเมือง หรือผู้ว่าราชการเมือง ปกครองเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ลด ฐานะ เมืองนครไทยมาเป็น "อำเภอเมืองนครไทย" แล้วแต่งตั้งนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง นายอำเภอคนแรก คือ หลวงพิทักษ์กิจบุรเทศ (เป๋า บุญรัตนพันธ์) และเป็นอำเภอนครไทย เมื่อ พ.ศ. 2497 เพื่อให้เหมาะสมกับการ เรียก ชื่อตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน