ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แอนนา ลีโอโนเวนส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เจ้าชายต้นกล้า (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 88:
 
==การถูกวิพากษ์วิจารณ์==
จากละครและภาพยนตร์นั้น ทำให้แหม่มแอนนาถูกโจมตี ผู้ที่โจมตี แอนนาในเรื่องนี้อย่างชัดเจนที่สุดคือ W.S. Bristowe ในหนังสือเรื่อง "ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์" (แปลจาก Louis and the kingKing of Siam) รวมถึง[[มัลคอล์ม สมิธ]] (Malcolm Smith) และ [[เอ.บี. กริสโวลด์]] (A.B. Griswold)
 
=== บทบาทในราชสำนัก ===
ภาพลักษณ์ของแอนนาในฐานะ "ครูฝรั่งวังหลวง" มีหน้าที่ในการถวายพระอักษรภาษาอังกฤษให้กับพระราชโอรส พระราชธิดา และเจ้าจอมหม่อมห้าม ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมาย แต่ยังมีงานรองอีกอย่างหนึ่งคือเป็น[[เลขานุการ]]ในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว <ref name="แอนนา เลียวโนเวนส์ ใครว่าหล่อนตอแหล?">[http://www.matichon.co.th/art/art.php?srctag=0604010147&srcday=2007/03/01&search=no ศิลปวัฒนธรรม: แอนนา เลียวโนเวนส์ ใครว่าหล่อนตอแหล?]</ref>
 
โดยมีข้อสงสัยในหมู่นักวิชาการว่า แอนนามีบทบาทอย่างไรในราชสำนักสยาม แอนนาผลักดันหรือชี้แนะอะไรบ้าง และทำจริงตามที่เขียนไว้ในหนังสือหรือไม่ เมื่อมีการสอบสวนเรื่องนี้โดยนักวิชาการ ก็ได้บทสรุปที่เชื่อกันว่าแอนนาแท้จริงแล้วไม่ได้มีบทบาทอะไรมากไปกว่าครูสอนภาษาอังกฤษ <ref name="แอนนา เลียวโนเวนส์ ใครว่าหล่อนตอแหล?"/>
 
[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงมีความเห็นเกี่ยวกับหนังสือ 2 เล่มนี้ว่า
{{คำพูด|''แหม่มแอนนาอาจมีความจำเป็นต้องหาเงินมาเลี้ยงลูก จึงปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นให้มีรสชาติพอที่จะขายสำนักพิมพ์ได้ ตอนที่นางสอนหนังสืออยู่ในราชสำนักก็มิได้มีอิทธิพลมากมายถึงขนาดที่พระเจ้าอยู่หัวจะต้องไปใส่พระทัยรับฟัง เป็นไปได้ว่าสิ่งที่นางเขียนออกมานั้น ก็คือเรื่องที่ต้องการถวายความเห็นเป็นการย้อนหลัง เพราะจริงๆ แล้วไม่เคยมีโอกาสได้พูดออกมาเลย''}} <ref>[[จีระนันท์ พิตรปรีชา]]. ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์. ประพันธ์สาส์น, 2542.</ref>
 
=== เรื่องจริงหรือเรื่องเท็จ ===
แอนนาถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าโป้ปดมดเท็จ บิดเบือนเรื่องที่เขียนในหนังสือทั้ง 2 เล่ม นักวิชาการหลายท่านได้ตรวจสอบความจริงหลักฐาน ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงหนังสือ 2 เล่มเท่านั้น ยังลุกลามไปถึงสิ่งที่แอนนาไม่ได้เขียน จาก[[นิยาย]]ที่มาร์กาเร็ตแต่งขึ้นเพิ่มเติมภายหลัง ทำให้แหม่มแอนนาถูกโจมตีอย่างหนักว่าปั้นแต่งเรื่องราวโกหกเกี่ยวกับราชสำนักสยาม หมิ่นพระเกียรติ[[พระมหากษัตริย์]]ไทย รวมทั้งสร้างประวัติเท็จให้ตนเองทั้งทางด้าน สถานที่เกิด สีผิว และอื่นๆ
 
[[ชีวประวัติ]]ของแหม่มแอนนาที่ W.S. Bristowe กล่าวหาว่าโป้ปดขึ้นนั้น ปรากฏอยู่ใน[[นวนิยาย]]เรื่อง The King and I ซึ่งเป็น "นิยาย" ที่มาร์กาเร็ตแต่งขึ้นเพิ่มเติมภายหลัง ดังที่ Bristowe เขียนไว้ว่า "ประวัติแหม่มแอนนาที่เล่ามา ล้วนได้จากบันทึกของเธอเอง ซึ่งมาร์กาเร็ต แลนดอน นำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่" มิได้มีอยู่ในหนังสือทั้ง 2 เล่มของแหม่มแอนนาแต่อย่างใด ในหนังสือของแหม่มแอนนาเองแทบจะไม่มีข้อความที่กล่าวถึงชีวประวัติของตนเองเลย <ref>[http://www.matichon.co.th/art/art.php?srctag=0643010247&srcday=2005%2F09%2F01&search=no ศิลปวัฒนธรรม: ปอกเปลือกชีวิต แอนนา เลียวโนเวนส์ ใครว่าหล่อนตอแหล]</ref>
ในหนังสือของแหม่มแอนนาเองแทบจะไม่มีข้อความที่กล่าวถึงชีวประวัติของตนเองเลย <ref>[http://www.matichon.co.th/art/art.php?srctag=0643010247&srcday=2005%2F09%2F01&search=no ศิลปวัฒนธรรม: ปอกเปลือกชีวิต แอนนา เลียวโนเวนส์ ใครว่าหล่อนตอแหล]</ref>
 
หากย้อนกลับไปดูจุดเริ่มต้นของหนังสือ "The English Governess at the Siamese Court" ซึ่งแอนนาเขียนเป็นบทความลงในนิตยสาร "The Atlantic Montly" ตั้งแต่ปี 2411 ก็จะพบว่าสิ่งที่แอนนารู้เห็นในราชสำนักสยามนั้นอยู่ในระดับ "หลักฐานทางประวัติศาสตร์" ได้ <ref name="แอนนา เลียวโนเวนส์ ใครว่าหล่อนตอแหล?"/>
 
== อ้างอิง ==