ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอ็มควอเทียร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tonsone (คุย | ส่วนร่วม)
→‎การออกแบบ: คิว สเตเดียม ถูกเปลี่ยนเป็น สปอร์ตมอลล์ แล้ว
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
พื้นที่โครงการเอ็มควอเทียร์จะประกอบไปด้วยอาคารศูนย์การค้าทั้งหมดสามอาคาร ดังนี้
 
* '''อาคารฮีลิกส์ควอเทียร์ (The Helix Quartier) ''' หรืออาคาร A (ด้านหน้าฝั่งซอยสุขุมวิท 35) เป็นอาคารที่ตั้งของร้านค้าระดับลักชัวรี่ ร้านค้าสินค้าไอที ร้านค้าบริการ และสถาบันความงามตั้งแต่ชั้น G-4 ส่วนชั้น 5 จะเป็นที่ตั้งของสวนลอยฟ้า ควอเทียร์ฮีลิกส์ วอเตอร์ การ์เดน โดย [[ธนาคารกสิกรไทย]] ซึ่งเป็นจุดเด่นของอาคาร และตั้งแต่ชั้นนี้เป็นต้นไป ลักษณะทางเดินของอาคารจะเป็นแบบเกลียว โดยที่ผู้มาใช้บริการสามารถเดินขึ้นจากชั้นสวนลอยฟ้าไปจนถึงชั้นบนสุดได้โดยการเดินวนรอบไปตามทางลาด ซึ่งตลอดทางลาดจะเป็นร้านอาหารตลอดทาง ชั้นใต้ดินของอาคารนี้เป็นที่ตั้งของลานจอดรถอัตโนมัติพร้อมห้องรับรอง โดยเอ็มควอเทียร์จะเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกในประเทศไทยที่นำระบบจอดรถอัตโนมัติมาใช้งาน การตกแต่งภายในใช้สีขาวทองแบบเดียวกับเอ็มโพเรียม
 
* '''อาคารกลาสควอเทียร์ (The Glass Quartier) ''' หรืออาคาร B (ด้านหน้าฝั่งธนาคารออมสินสาขาพร้อมพงษ์) เป็นที่ตั้งของร้านค้าระดับกลาง-บน ร้านค้าแฟชั่น ศูนย์อาหาร ศูนย์ออกกำลังกายเวอร์จินแอคทีฟ ฟิตเนส ความสูง 3 ชั้น ศูนย์ออกกำลังกายบ๊าวซ์อิงค์ แทมโพรีนอารีนา และอาคารสำนักงานภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์ ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานความสูง 30 ชั้น บริหารงานโดยกลุ่มภิรัชบุรี มีห้องรับรองกลางที่ชั้น M โดยเริ่มนับชั้นอาคารสำนักงานที่ชั้น 15 และมีลิฟต์โดยสารความเร็วสูง เช่นเดียวกับอาคารระฟ้าทั่วไป นอกจากนี้ยังมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์รวมถึงจุดชมทัศนียภาพ หรือ สกายคลิฟฟ์ที่ชั้นดาดฟ้า และห้องรับรองส่วนตัวอยู่ที่ชั้น 45 จุดเด่นคือตกแต่งอาคารด้วยกระจกทั้งหมดตั้งแต่ด้านหน้าอาคารยาวไปจนถึงอาคารวอเตอร์ฟอลควอเทียร์ อีกทั้งยังสามารถมองเห็นกิจกรรมภายในอาคารได้จากฝั่งซอยสุขุมวิท 37 ทั้งหมด ภายในตกแต่งด้วยสีสันฉูดฉาด ตัดกับสีขาวทองอันเป็นสัญลักษณ์กลางของศูนย์ฯ