ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 49:
 
== ประวัติ ==
ในสมัยโบราณนั้น เคยเป็นที่ตั้งของ[[ถูกปกครองและรุกรานหลายครั้งจากชนชาติไป๋หรืออาณาจักรน่านเจ้า]] มีเมืองหลวงอยู่ที่ [[หนองแส]] หรือ เมือง[[ต้าลี่]] ในประเทศจีนปัจจุบัน
ย้ำว่าน่านเจ้าไม่ใช่คนไทย ซึ่งคนไทยก็หลงตัวเองว่าเคยยิ่งใหญ่ทั้งที่น่านเจ้าหรือต้าหลี่เป็นชนชาติไป๋ ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพม่า และ ทิเบตมาก
 
สิบสองปันนานั้นได้เป็นราช[[อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง]] เมื่อประมาณ 825 ปีก่อน โดย พญาเจือง หรือสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1 ในตำราของไทย เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 ชาว[[มองโกล]]ได้รุกราน[[อาณาจักรล้านนา]] ส่วนสิบสองปันนานั้นจึงได้เป็นของมองโกล และก็ได้เป็นของจีนต่อมา(ตาม[[ประวัติศาสตร์จีน]])
 
การอ่อนแอของราชวงค์อาฬโวสวนตาลครั้งแรกเริ่มคราวสมัยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 3 (ท้าวอ้ายปุง) รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงค์อาฬโวสวนต๋าน จากนั้นเกิดความวุ่นวายเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ สุดท้ายถึงรัชกาลที่ 24 ท้าวอินเมิง (ท้าวอินเมือง) อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นมากที่สุด การขยายอาณาเขตเข้าไปยึดถึงเมือง[[เชียงตุง]] เมืองแถน ([[เดียนเบียนฟู]]) เชียงแสน ล้านช้าง จึงเป็นเหตุให้การอพยพ[[ชาวไทลื้อ]]จาก[[เชียงรุ่ง]]และอีกหลายหัวเมืองลื้อเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครอง หัวเมืองประเทศราช ซึ่งหากมองมาถึงปัจจุบันมีชาวไทลื้อกระจายไปทั่วทั้งเมืองแถน หัวเมืองทางเหนือของลาว ทุกเมือง รัฐฉานของพม่า จนถึง[[เชียงตุง]] และแถบไต้คง
 
สิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟูอยู่ 100 กว่าปี ก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวมองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้งในปี [[พ.ศ. 1835]] การสิ้นสุดอำนาจการปกครอง และการยอมรับอำนาจของมองโกล เมื่อรัชกาลที่ 33 เมื่อพระเจ้ากรุงจีนส่งตราหัวเสือ(จุ่มกาบหลาบคำ)มาให้เป็นตราแผ่นดินแทนตรานกหัสดีลิงก์ การเปลี่ยนชื่อเจ้าผู้ครองนคร จากชื่อภาษาไทลื้อ เป็นภาษาจีน เริ่มขึ้นในยุคนี้ เจ้าผู้ครองนครชาวไทลื้อถูกเรียกว่าเจ้าแสนหวีฟ้า