ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอศรีเมืองใหม่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boss teerapat (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7085619 สร้างโดย JBot (พูดคุย)
Boss teerapat (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 27:
 
== ประวัติศาสตร์ ==
[[อำเภอศรีเมืองใหม่]] เดิมมีฐานะเป็นเมือง ชื่อ "เมืองโขงเจียม" ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่ออำเภอศรีเมืองใหม่ ใน ปี 2500 จนถึงปัจจุบัน "เมืองโขงเจียม" เป็นอำเภอเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน มีกลุ่มคนดังเดิม เผ่าชนพื้นเมือง เผ่าบลู ส่วย ข่า ลาว เมื่อปลายปี พ.ศ.2314 กลุ่มคนอพยพหนีจากเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ลงมาทางใต้โดยแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเดินทางมาทางบก ได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอนมดแดงอันเป็นที่ตั้งของเมืองอุบลราชธานีในปัจจุบัน อีกกลุ่มหนึ่งอพยพลงมาตามลำแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนหินตั้ง เพื่อประกอบอาชีพทำไร่ทำนา ทำสวน เดิมทีชื่อ "บ้านโขลงเจียง" โดยมี สมมุติฐานจาก ประวัติศาสตร์ลาว เขตนครจำปาศักดิ์ ในสมัยเจ้าสร้อยศรีสมุทร พุทธางกรู(เจ้าหน่อกษัตริย์) ได้แต่งตั้งให้ท้าวหลวง ซึ่งเป็นบุตรพระละงุมให้เป็นขุนนักเฒ่า ไปรักษา "บ้านโขลงเจียง" ประมาณ พ.ศ.2256 โดยทั่วไปชาวบ้านเรียกบ้านโขลงเจียงว่า บ้ามเจียมใต้ มีผู้ปกครองกี่คนในช่วงต่อมาไม่ปรากฏ ครั้นถึงสมัยของขุนนักราชมาอินทร์ผู้รักษา "บ้านโขลงเจียง" ได้กระทำความผิดฉกรรจ์ เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ (โย่) จึงจับมาลงโทษปลดออก แล้วจึงมีหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขอตั้งท้าวมหาอินทร์บุตรขุนนักอินทวงษ์ ให้เป็นพระกำแหงสงคราม แล้วยกฐานะ "บ้านโขลงเจียง" ขึ้นเป็นเมือง "โขงเจียม" ในปี พ.ศ.2364 ขึ้นตรงต่อนครจำปาศักดิ์
ต่อมาในปี พ.ศ.2369 เกิดขบถอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปราบขบถ เสร็จสิ้นแล้ว ในปี พ.ศ.2371 จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เมืองโขงเจียมขึ้นตรงต่อเมืองเขมราฐในคราวปรับปรุงการปกครอง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ระหว่างปี พ.ศ.2443-2445 ได้มีการลดฐานะจากเมืองโขงเจียมเป็นอำเภอโขงเจียมขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี
ในสมัยพระกำแหงสงครามเป็นผู้ปกครองเมืองโขงเจียม ได้ไปตั้งบ้านใหม่ขึ้นอีกบ้านหนึ่งชื่อว่าบ้านเจียมเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นบ้านนาแวง ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ ในปัจจุบัน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจากการเก็บส่วย ในเขตรับผิดชอบมีอาณาเขตกว้างขวางไม่สะดวกในการเก็บส่วย เขตเมืองโขงเจียม (อ.เขมราฐบางส่วน โพธิ์ไทร ศรีเมืองใหม่ โขงเจียม สิรินธรบางส่วน ในปัจจุบัน)พระกำแหงสงครามได้อยู่รักษาบ้านเจียมเหนือตลอด ส่วนบ้านเจียมใต้ได้มีผู้รักษาบ้านเจียมใต้สืบต่อมา พอสืบเรื่องราวได้ว่ามีชื่อดังต่อไปนี้ 1. หลวงเจ้าก่ำ 2. พระคง 3. อุปฮาดจันทา
ต่อมาในปี พ.ศ.2444 ได้เกิดขบถผีบุญ ซึ่งขณะนั้นเจ้าอุปฮาดจันทา เป็นผู้รักษาเมืองถูกฆ่า เมื่อบ้านเมืองสงบ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ท้าวบุญธิสารวงษ์เจียม เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอโขงเจียม ในปี พ.ศ.2454
*ในปีพ.ศ.2450 ไทยเสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส ชาวบ้านที่รักความเป็นไทได้พากันอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนที่บ้านคันนกหอ ให้ชื่อว่าเมืองสุวรรณวารี โดยการนำของเจ้าอุปฮาด(คำพัน) และพระอุบลกิจประชากร ช่วงนั้นอำเภอโขงเจียมได้แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ส่วนคือ
บรรทัด 35:
*ส่วนที่ 2 พระราชพงศา อยู่ที่บ้านคำไหล บ้านจารย์ทัย หรือเมืองวารินชำราบ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีเมืองใหม่ มีหน้าที่เก็บส่วย ตำบลวาริน และตำบลคำไหล
*ส่วนที่ 3 เจ้าอุปฮาด (คำพัน) อยู่ที่บ้านคันนกหอ ถูกยกฐานะเป็นเมืองสุวรรณวารี มีหน้าที่เก็บส่วย ตำบลบ้านด่าน และตำบลห้วยยาง
ในปี พ.ศ.2457 ท้าวบุญธิสาร วงษ์เจียม กระทำความผิดทางราชการจึงสั่งปลดหลวงศรีอาชญาซึ่งอยู่บ้านสุวรรณวารี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอโขงเจียม จากนั้นจึงได้ย้ายที่ว่าการจากบ้านนาคอ ตำบลหนามแท่ง (เขตศรีเมืองใหม่ในปัจจุบัน) ไปตั้งที่ทำการอยู่เมืองสุวรรณวารีและเปลี่ยนชื่ออำเภอโขงเจียมว่าอำเภอสุวรรณวารี ในปีพ.ศ.2458 เกิดฟ้าผ่ากุฏิวัดบ้านสุวรรณวารี ทำให้พระมี พระพันธ์ และสามเณรศรีจันทร์ ถึงแก่มรณภาพไปพร้อมกับไฟไหม้กุฏิ ในปีเดียวกันนั้นหลวงศรีอาชญา ผู้เป็นนายอำเภอชรามากจึงได้ถึงแก่กรรม พวกชาวบ้านพากันขวัญเสียหาว่าเป็นเมืองอาถรรพ์จึงพากันอพยพหนีและเห็นว่าสถานที่ตั้งอำเภอสุวรรณวารี ที่เดิมไม่เหมาะสมจะเป็นที่ตั้งอำเภอต่อไป จึงพิจารณาเลือกเอาบ้านด่านปากมูลเป็นที่ตั้งที่ทำการอำเภอแห่งใหม่ แต่ยังคงเรียกว่า อำเภอสุวรรณวารี เช่นเดิม
ในปี พ.ศ.2458 ทางราชการได้แต่งตั้งให้หลวงแกล้วกาญจนเขต (ม.ร.ว.คอย อรุณวงศ์ ณ อยุธยา) เป็นนายอำเภอสุวรรณวารี ครั้นถึง พ.ศ.2482 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอสุวรรณวารีเป็นอำเภอโขงเจียม เพื่อรักษาชื่อเมืองโขงเจียมเดิมไว้
มูลเหตุที่เลือกเอาบ้านด่านปากมูล เป็นที่ตั้งอำเภอเพราะบ้านด่านปากมูล ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำมูล ซึ่งไหลมาบรรจบแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นทางคมนาคม ที่เข้าสู่จังหวัดอุบลราชธานี สะดวกแก่การตรวจตราบุคคล และสินค้าที่ผ่านเข้าออกระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว (เป็นอำเภอที่ย้ายที่ทำการบ่อยครั้งทั้งในเขตอำเภอศรีเมืองใหม่ปัจจุบันและเขตอำเภอโขงเจียมบ่อยครั้ง)
* ในปีพ.ศ.2500 นายผล ไตรสาร ซึ่งเป็นนายอำเภอโขงเจียมขณะนั้น ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอโขงเจียมไปตั้งที่บ้านคำบอน (ร่องคำหมาจอก) ตำบลนาคำ ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอศรีเมืองใหม่ ในปัจจุบัน จัดการการปกครองเป็น 7 ตำบลคือ ตำบลนาคำ ตำบลวาริน ตำบลคำไหล ตำบลสงยาง ตำบลเอือดใหญ่ ตำบลลาดควาย และตำบลหนามแท่ง
สาเหตุที่ย้ายที่ทำการอำเภอไปตั้งที่บ้านคำบอน เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าที่ตั้งอำเภอเดิมไม่ได้เป็นศูนย์กลางในการปกครองหมู่บ้าน ไม่สะดวกต่อการติดต่อประสานงานในระดับอำเภอและจังหวัด ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ร่องคำหมาจอก อำเภอโขงเจียม แห่งใหม่ ขณะเดียวกันที่ตั้ง อำเภอโขงเจียมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ ณ บ้านด่านปากมูล ทางราชการประกาศตั้งให้เป็น กิ่งอำเภอบ้านด่าน มีเขตปกครองแบ่งได้ 3 ตำบล คือ ตำบลโขงเจียม ตำบลห้วยยาง และตำบลนาโพธิ์กลาง มีนายจิตร สุวรรณไลละ ทำหน้าที่เป็นปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่ง ต่อมาในปีพ.ศ.2502 ได้รับยกฐานะให้เป็นอำเภอบ้านด่าน มีเขตการปกครองแบ่งได้ 6 ตำบล คือ ตำบลโขงเจียม ตำบลคำเขื่อนแก้ว ตำบลหนองแสงใหญ่ ตำบลห้วยไผ่ ตำบลห้วยยาง และตำบลนาโพธิ์กลาง
เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2514 ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า คำว่าโขงเจียมเป็นชื่อดั้งเดิมของอำเภอบ้านด่าน เพื่อความเหมาะสม จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอโขงเจียมในขณะนั่นให้เป็น "อำเภอศรีเมืองใหม่" แล้วคืนชื่อโขงเจียมให้กับชาวอำเภอบ้านด่าน จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอโขงเจียมเป็น "อำเภอศรีเมืองใหม่" ส่วนกิ่งอำเภอบ้านด่าน ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านด่านปากมูล ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "อำเภอโขงเจียม" อีกครั้งจนถึงปัจจุบัน
ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ร่องคำหมาจอก อำเภอโขงเจียม แห่งใหม่ ขณะเดียวกันที่ตั้งอำเภอโขงเจียมเดิมซึ่งตั้งอยู่ ณ บ้านด่านปากมูล ทางราชการประกาศตั้งให้เป็น กิ่งอำเภอบ้านด่าน มีเขตปกครองแบ่งได้ 3 ตำบล คือ ตำบลโขงเจียม ตำบลห้วยยาง และตำบลนาโพธิ์กลาง มีนายจิตร สุวรรณไลละ ทำหน้าที่เป็นปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่ง ต่อมาในปีพ.ศ.2502 ได้รับยกฐานะให้เป็นอำเภอบ้านด่าน มีเขตการปกครองแบ่งได้ 6 ตำบล คือ ตำบลโขงเจียม ตำบลคำเขื่อนแก้ว ตำบลหนองแสงใหญ่ ตำบลห้วยไผ่ ตำบลห้วยยาง และตำบลนาโพธิ์กลาง
* คำว่า "ศรีเมืองใหม่" หมายถึง "ที่อยู่อาศัย (เมือง) ที่สร้างขึ้นใหม่ ที่เพียบพร้อมด้วยความสุขความเจริญและความสง่างาม"
เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2514 ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า คำว่าโขงเจียมเป็นชื่อดั้งเดิมของอำเภอบ้านด่าน เพื่อความเหมาะสม จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอโขงเจียมให้เป็นอำเภอศรีเมืองใหม่ แล้วคืนชื่อโขงเจียมให้กับชาวอำเภอบ้านด่าน จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอโขงเจียมเป็น "อำเภอศรีเมืองใหม่" ส่วนอำเภอบ้านด่าน ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านด่านปากมูล ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอโขงเจียม" อีกครั้งจนถึงปัจจุบัน
*คำว่า "ศรีเมืองใหม่" หมายถึง "ที่อยู่อาศัย (เมือง) ที่สร้างขึ้นใหม่ ที่เพียบพร้อมด้วยความสุขความเจริญและความสง่างาม"
 
== ภูมิศาสตร์ ==