ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสาชิงช้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 66:
 
== ความสำคัญทางโบราณคดี ==
 
การรื้อถอนเสาชิงช้าคู่เดิมเมื่อปี [[พ.ศ. 2549]] เป็นโอกาสที่ทำให้มีการศึกษาทางโบราณคดีของเสาชิงช้ามากขึ้น โดยเฉพาะร่องรอยแนวถนนและท่อน้ำเดิม เนื่องจากการรื้อถอนหรือก่อสร้างโบราณสถานในเขตเมืองพระนครต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากรในการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่นั้นๆ
 
นักโบราณคดีได้ทำการขุดแต่งในระดับแนวพื้นเดิมที่ยังเหลือร่องรอย และแต่งด้านหน้าติดกันด้านทิศใต้ (ด้านวัดสุทัศน์) และทิศเหนือ (ด้านศาลาว่าการ กทม.) ในการตรวจสอบชั้นดินเบื้องต้น ได้เชิญนายชาติชาย ร่มสน ผู้เชี่ยวชาญชั้นดินทางวัฒนธรรมมาช่วยในการวิเคราะห์ สรุปรายละเอียดเบื้องต้นได้ดังนี้
* ชั้นดินด้านทิศใต้ (ด้านวัดสุทัศน์) ปรากฏลักษณะร่องรอยกิจกรรม 3 สมัย กล่าวคือ
** สมัยที่หนึ่ง 1 เป็นชั้นแนวอิฐขนาดใหญ่ เรียงสลับตามแนวนอน ก่อซ้อนกันประมาณ 3 ชั้น และมีการก่ออิฐในแนวตั้งยกเป็นขอบ ใต้ชั้นแนวอิฐเป็นชั้นดินเหนียว
** สมัยที่สอง 2 เป็นชั้นพื้นปรากฏเป็นแนวในแกนตะวันออก-ตะวันตก ลักษณะเป็นหินกรวดหลายขนาดผสม[[ปูนขาว]] เทปูเป็นพื้น ใต้ลงไปเป็นชั้นอิฐบดวางทับอยู่บนชั้นดินเหนียว
** สมัยที่สาม 3 เป็นท่อน้ำเหล็กที่วางอยู่ในชั้นอิฐสมัยที่หนึ่ง 1 เป็นลักษณะเจาะชั้นอิฐลงไปเพื่อวางท่อเหล็ก
 
* ชั้นดินด้านทิศเหนือ(ด้านศาลาว่าการ กทม.) ปรากฏร่องรอยกิจกรรม 2 สมัย คือ
** สมัยที่หนึ่ง 1 (ตรงกับสมัยที่สองของชั้นดินด้านทิศเหนือ) เป็นชั้นพื้น ลักษณะการเรียงตัวของชั้นดิน คล้ายสมัยที่สองด้านเหนือ คือชั้นบนสุดเป็นหินกรวดผสมปูนรองลงไปเป็นชั้นปูนขาว ใต้ชั้นปูนขาวเป็นอิฐก่อสอปูนวางแนวเหนือ-ใต้ ประมาณ 9-11 ชั้น
** สมัยที่สอง 2 (ตรงกับสมัยที่สามของชั้นดินด้านทิศเหนือ) เป็นส่วนของท่อน้ำเหล็ก ปรากฏลักษณะการตัดเป็นช่องสี่เหลี่ยมลงไปในชั้นดินสมัยที่หนึ่ง เพื่อวางท่อน้ำ
 
ในรายงานดังกล่าวตั้งข้อสังเกตด้วยว่าพบแนวอิฐด้านนอกวางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก 1 แผ่น โดยแนวดังกล่าวจะเว้นช่องว่าง จากนั้นจึงก่อแนวอิฐอีก 1 ชั้น วางตัวในลักษณะเดียวกัน โดยชั้นบนสุดจะใช้อิฐก่อตะแคงปิดด้านบนของช่องดังกล่าว
 
สรุปชั้นดินเบื้องต้นได้ว่าแนวอิฐในสมัยที่หนึ่ง 1 (ด้านวัดสุทัศน์) น่าจะเป็นแนวถนนเดิมที่มีมาก่อนสมัย [[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 4]] ส่วนแนวพื้นสมัยที่สอง 2 (ด้านวัดสุทัศน์) น่าจะเป็นแนวถนนที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีรางระบายน้ำอยู่ขอบถนน อาจมีการปรับพื้นที่ด้วยการอัดดินเหนียวเพื่อให้ได้ระดับแล้วจึงเทชั้นถนน ส่วนท่อเหล็กสมัยที่สามน่าจะเป็นท่อประปาที่สร้างขึ้นในสมัยหลังคือสมัย [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 5]] สร้างขึ้นหลังจากมีการสร้างถนนแล้ว
 
ช่วงท้ายของรายงานชี้แจงว่าได้มีการบันทึกภาพถ่ายพร้อมทั้งรายละเอียดทุกขั้นตอน นอกจากนี้ยังได้ทำแผนผังหลุม แผนผังชั้นดิน ลายเส้นแนวอิฐ รวมถึงเก็บตัวอย่างดินในแต่ละชั้นและอิฐ เพื่อนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ หลังจากนั้นจึงจะนำผลวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการมาวิเคราะห์ร่วมกับหลักฐานอื่น เช่น เอกสาร แผนผังและรูปถ่ายโบราณ เพื่อจะประมวลเป็นรายงานเบื้องต้นต่อไป
 
การค้นพบร่องรอยแนวถนนโบราณก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 และท่อน้ำเหล็กสมัยรัชกาลที่ 5 อันเนื่องมาจากการรื้อถอนเสาชิงช้าเมื่อปี [[พ.ศ. 2549]] จึงเป็นผลดีสำหรับการเพิ่มเติมข้อมูลวิชาการโบราณคดีเมือง และหากเป็นไปตามเป้าประสงค์ของ กทม. โอกาสที่ผืนดินนี้จะถูกขุดแต่งทางโบราณคดีอีกครั้งก็น่าจะเป็นเวลากว่า 1 ศตวรรษข้างหน้า
 
== ภูมิทัศน์โดยรอบเสาชิงช้า ==