ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วณิพก (อัลบั้ม)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TPCheenmanee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 22:
อัลบั้มชุดนี้ส่งผลให้คาราบาวเป็นที่รู้จักในหมู่คนฟังอย่างกว้างขวาง โดยเพลงที่โด่งดังที่สุด ได้แก่ '''วณิพก''' โดยทำดนตรีเป็นจังหวะ '''สามช่า''' ซึ่งผสมผสานดนตรีแนว ช่า ช่า ช่า จากลาตินอเมริกาเข้ากับดนตรีรำวงของไทยอย่างลงตัว อีกทั้งเนื้อหาของเพลงที่เข้าถึงจิตใจของคนฟังได้เป็นอย่างดี บทเพลงของคาราบาวจึงมีเอกลักษณ์สะท้อนภาพของสังคมไทยเข้ากับความสนุกสนานของดนตรี และ บทเพลงนี้ยังสามารถแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในดิสโก้เธค ซึ่งไม่มีเพลงเพื่อชีวิตเพลงใดเปิดแผ่นมาก่อน ทำให้เพลงจังหวะสามช่ากลับมาคึกคัก เพราะหลังจากนั้นคาราบาวก็ได้นำเพลงนี้มาร้องบันทึกเสียงอยู่บ่อย ๆ และได้มีศิลปินท่านอื่น ๆ นำเพลงนี้ไปร้องต่อในสตูดิโออัลบั้มของตัวเองอีกด้วย เช่น [[มัม ลาโคนิคส์]] , [[ทีโบน (วงดนตรี)|ทีโบน]] ในอัลบั้มของพวกเขา เป็นต้น<ref>http://www.9dern.com/rsa/view.php?id=143</ref> รวมุถึงมีการนำทำนองของเพลงนี้ไปปรับใช้ในเพลงของตนเอง เช่น [[อู๋ เสรีชน]] ที่นำทำนองของเพลงนี้ไปปรับใช้กับเพลง '''เมืองถูกเผาเราถูกฆ่า''' ซึ่งขับร้องโดยนาย [[จตุพร พรหมพันธุ์]] หนึ่งในแกนนำของกลุ่ม[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]] (นปช.) ซึ่งเนื้อร้องก็มีเนื้อหากล่าวถึงเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2553
 
นอกจากนี้ บทเพลงอื่นๆ ในอัลบั้มก็ได้มีการร้องและทำดนตรีขึ้นใหม่ในภายหลัง อาทิเพลง '''ไม้ไผ่''' ซึ่งร้องโดย ต้อย - [[เศรษฐา ศิระฉายา]] อดีตนักร้องนำวง ดิ อิมพอสซิเบิ้ล รวมถึงเพลง '''จับกัง''' ซึ่งร้องโดย อานนท์ สายแสงจันทร์ หรือ ปู แบล็คเฮด ในอัลบั้มพิเศษ [[มนต์เพลงคาราบาว 25 ปี]] ในปี พ.ศ. 2550 และเพลง '''ดอกจาน''' ที่ดนตรีออกไปทางแนวลูกทุ่งอย่างเด่นชัด โดยแอ๊ด - [[ยืนยง โอภากุล]] ก็เคยนำมาร้องอีกครั้งในอัลบั้มเดี่ยวชุดพิเศษองเขา '''ก้นบึ้ง''' ในปี พ.ศ. 2533
 
ในปี 2546 งานเพลงชุดนี้ถูกนำมาปรับปรุงคุณภาพเสียงด้วยระบบดิจิตอล และ วางจำหน่ายอีกครั้งโดย [[วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์]]