ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐบาลโชกุนอาชิกางะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
การปกครองส่วนกลาง
บรรทัด 49:
ห้วงเวลาใต้การปกครองของรัฐบาลโชกุนนี้รู้จักกันในชื่อ [[ยุคมุโระมะชิ]] ซึ่งมาจากชื่อถนนมุโระมะชิ ในนครเคียวโตะ
 
== โครงสร้างการบริหาร ==
[[อะชิกะงะ ทะกะอุจิ]] สามารถจัดตั้งรัฐบาลโชกุนของเขาได้ อันเนื่องมาจากการต่อต้านของจักรพรรดิต่อ[[รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ]] รัฐบาลก่อนหน้า ดังนั้นรัฐบาลโชกุนอะชิกะงะจึงได้แบ่งอำนาจและหน่วยงานราชการให้กับฝ่ายราชสำนักมากกว่าสมัยคะมะกุระ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ เป็นรัฐบาลโชกุนที่มีอำนาจน้อยกว่า[[รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ]] หรือ [[รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ]] ซึ่ง[[ระบบศักดินา]]ส่วนกลางที่ใช้ในสมัยคะมะกุระก็ถูกแทนที่ด้วยระบบ[[ไดเมียว]] (ข้าหลวงของแต่ละท้องที่) ดังนั้นอำนาจทางการทหารของรัฐบาลโชกุนอะชิกะงะก็ขึ้นอยู่กับความจงรักภักดีของไดเมียว
 
รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะประกอบด้วย สถาบันโชกุนเป็นผู้นำสูงสุดของรัฐบาล การปกครองของรัฐบาลโชกุนฯแบ่งออกเป็นสองฝ่ายได้แก่ การปกครองส่วนกลาง และการปกครองส่วนภูมิภาค
== รายนามโชกุน ==
 
== โชกุนและ''คังเร'' ==
เมื่อ[[อะชิกะงะ ทะกะอุจิ]] ({{ญี่ปุ่น|足利 尊氏|Ashikaga Takauji}} ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น''เซอิไทโชงุง'' ({{ญี่ปุ่น|征夷大将軍|Seii Taishōgun}} ) เป็นจุดเริ่มต้นของรัฐบาลโชกุนฯ หรือ ''บะกุฟุ'' โดยที่โชกุนนั้นมาจากตระกูลอะชิกะงะ ซึ่งอ้างสิทธิ์ในตำแหน่งโชกุนผ่านการสืบเชื้อสายจากตระกูลเซวะเง็งจิ ({{ญี่ปุ่น|清和源氏|Seiwa Genji}} ) ในช่วงสิบปีแรกของรัฐบาลโชกุนประเทศญี่ปุ่นยังคงตกอยู่ในช่วงสงครามระหว่างพระราชวงศ์ฝ่ายเหนือและฝ่าย ในยุคราชวงศ์เหนือใต้ ({{ญี่ปุ่น|南北朝|Nanboku-chō}}) มีการแบ่งอำนาจกับระหว่างปฐมโชกุนทะกะอุจิและน้องชายคือ อะชิกะงะ ทะดะโยะชิ ({{ญี่ปุ่น|足利 直義|Ashikaga Tadayoshi}}) โดยที่โชกุนทะกะอุจิดูแลเรื่องการทหารและการสงคราม ในขณะที่ทะดะโญะชิน้องชายดูแลเรื่องการบริหาร สองพี่น้องตระกูลอะชิกะงะปกครองญี่ปุ่นร่วมกันเป็นเวลาประมาณสิบปีจนกระทั่งสงครามปีคันโน ({{ญี่ปุ่น|観応の擾乱|Kannō no shōran}}) โชกุนมะกะอุจิได้สร้างตำแหน่ง''ชิซึจิ'' ({{ญี่ปุ่น|執事|Shitsuji}}) หรือผู้สำเร็จราชการแทนโชกุนขึ้นมาแทนที่ทะดะโยะชิผู้เป็นน้องชาย ทำหน้าที่ในด้านการบริหารแทนโชกุน
 
ใน[[ค.ศ. 1362]] โชกุนคนต่อมา [[อะชิกะงะ โยะชิอะกิระ]] จัดตั้งตำแหน่ง ''คังเร'' ({{ญี่ปุ่น|管領|Kanrei}}) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนโชกุนแทนที่''ชิซึจิ'' โดยเพื่อป้องกันไม่ให้ตระกูลใหญ่ตระกูลเดียวมีอำนาจดังที่เป็นในยุคคะมะกุระ ผู้ดำรงตำแหน่ง''คังเร''จึงเวียนมาจากสามตระกูลได้แต่ โฮะโซะกะวะ ({{ญี่ปุ่น|細川|Hosokawa}}) ฮะตะเกะยะมะ ({{ญี่ปุ่น|畠山|Hatakeyama}}) และชิบะ ({{ญี่ปุ่น|志波|Shiba}}) อำนาจของ''คังเร''มีแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย ในสมัยของโชกุน[[อะชิกะงะ โยะชิมิสึ]] ({{ญี่ปุ่น|足利 義満|Ashikaga Yoshimitsu}}) ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งโชกุนด้วยอายุเพียงเก้าปี ''คังเร''โฮะโซะกะวะ โยะริยุกิ ({{ญี่ปุ่น|細川 頼之|Hosokawa Yoriyuki}}) จึงเป็นผู้ปกครองรัฐบาลโชกุนในทางพฤตินัย เมื่อโชกุนโยะชิมิสึเติบโตมีอำนาจเต็มแล้ว อำนาจของ''คังเร''จึงลดลง หลังจากสงครามปีโอนิง ({{ญี่ปุ่น|応仁の乱|Ōnin no Ran}}) อำนาจของสถาบันโชกุนลดลงมาก ''คังเร''จึงขึ้นมามีอำนาจเหนือโชกุนสามารถปลดเปลี่ยนและตั้งโชกุนใหม่ได้ตามต้องการ
 
=== รายนามโชกุน ===
# [[อะชิกะงะ ทะกะอุจิ]], ปี 1338–1358
# [[อะชิกะงะ โยะชิอะกิระ]], ปี 1359–1368
เส้น 68 ⟶ 74:
# [[อะชิกะงะ โยะชิฮิเดะ]], ปี 1568
# [[อะชิกะงะ โยะชิอะกิ]], ปี 1568–1573
 
== การปกครองส่วนกลาง ==
รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะมีฐานที่มั่นตั้งอยู่ที่เมืองเกียวโต การปกครองส่วนกลางของรัฐบาลโชกุนฯมีหน้าที่ดูแลเรื่องเกี่ยวกับโชกุนและนครหลวง การปกครองส่วนกลางของรัฐบาลโชกุนอะชิกะงะนั้น ได้รับแบบอย่างโดบส่วนใหญ่มาจาก[[รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ]] มีองค์กรต่างๆที่สำคัญดังนี้
* ''ซะมุไร-โดะโกะโระ'' ({{ญี่ปุ่น|侍所|Samurai-dokoro}}) เป็นสภาซึ่งดูแลกิจการของซะมุไรทั้งปวง เป็นตำรวจนครบาลภายในเมืองเกียวโต และเกณฑ์ไพร่พลจัดทัพของรัฐบาลโชกุนฯในการสู้รบต่างๆ สมาชิกในสภา''ซะมุไร-โดะโกะโระ''ได้รับการแต่งตั้งจากโชกุนและมาจากตระกูลใหญ่ที่สำคัญในยุคมุโระมะชิสี่ตระกูล เรียกว่า ''ชิชิกิ'' ({{ญี่ปุ่น|四職|Shishiki}}) ได้แก่ ตระกูลอิชชิกิ ({{ญี่ปุ่น|一色|Isshiki}}) ตระกูลยะมะนะ ({{ญี่ปุ่น|山名|Yamana}}) ตระกูลอะกะมะซึ ({{ญี่ปุ่น|赤松|Akamatsu}}) และตระกูลเคียวโงะกุ ({{ญี่ปุ่น|京極|Kyōgoku}}) หัวหน้าของสภา''ซะมุไร-โดะโกะโระ'' เรียกว่าโทนิง ({{ญี่ปุ่น|頭人|Tōnin}}) ซึ่งมีอำนาจใน''บะกุฟุ''รองจากโชกุนและ''คังเร''
* ''เฮียวโจชู'' ({{ญี่ปุ่น|評定衆|Hyōjōshū}}) และ ''ฮิกิซึเกะชู'' ({{ญี่ปุ่น|引付衆|Hikitsuke-shū}}) มีหน้าตัดสินคดีความฟ้องร้องต่างๆของซะมุไร โดยที่''ฮิกิซึเกะชู''ส่งสำนวนคดีความให้แก่''เฮียวโจชู''เป็นผู้ตัดสิน
* ''มังโดะโกะโระ'' ({{ญี่ปุ่น|政所|Mandokoro}}) เป็นสภาทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารและการเงินของรัฐบาลโชกุนฯ หัวหน้าสภา''มังโดะโกะโระ'' เรียกว่า ''มังโดะโกะโระ-ชิซิจิ'' ({{ญี่ปุ่น|政所執事|Mandokoro-shitsuji}}) ซึ่งเป็นตำแหน่งของตระกูลอิเซะ ({{ญี่ปุ่น|伊勢|Ise}})
* ''มงชูโจ'' ({{ญี่ปุ่น|問注所|Monchūjo}})
 
== อ้างอิง ==