ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิลเลียม เชกสเปียร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 109:
 
== ลักษณะการ ==
ลักษณะการประพันธ์บทละครยุคแรกๆ ของเชกสเปียร์เป็นไปตามสมัยนิยมในยุคของเขา โดยใช้ถ้อยคำภาษาที่มิได้ส่งออกมาจากภาวะในใจของตัวละครหรือตามบทบาทอันแท้จริง<ref>วูล์ฟกัง เคลเมน (2005). ''Shakespeare's Dramatic Art: Collected Essays'', 150. ลอนดอน; นิวยอร์ก: Routledge. ISBN 0-415-35278-9.</ref> คำพรรณนาในบทกวีก็เต็มไปด้วยอุปมาอุปไมยอันเพราะพริ้ง ภาษาที่ใช้เป็นลักษณะของสุนทรพจน์อันไพเราะมากเสียกว่าจะเป็นบทพูดจาสนทนากันตามจริง
 
แต่ต่อมาไม่นาน เชกสเปียร์เริ่มปรับปรุงวิถีทางดั้งเดิมเหล่านั้นเสียใหม่ตามจุดประสงค์ส่วนตัว การรำพึงรำพันกับตัวเองใน ''ริชาร์ดที่ 3'' มีพื้นฐานมาจากวิธีการบรรยายจิตสำนึกของตัวละครในละครยุคกลาง ในขณะเดียวกันก็มีการแสดงบุคลิกตัวละครอย่างชัดแจ้งในระหว่างการรำพันนั้น การเปลี่ยนแปลงนี้มิได้เกิดขึ้นทันทีทันใดในบทละครเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เชกสเปียร์ค่อยๆ ผสมผสานวิธีการทั้งสองนี้เข้าด้วยกันไปเรื่อยๆ ในระหว่างการทำงาน ตัวอย่างที่ดีที่สุดเห็นจะได้แก่บทละครเรื่อง ''โรมิโอกับจูเลียต''<ref>วูล์ฟกัง เคลเมน(2005). ''Shakespeare's Imagery''. ลอนดอน; นิวยอร์ก: Routledge, 29. ISBN 0-415-35280-0.</ref> ช่วงกลางทศวรรษ 1590 ระหว่างที่เขาประพันธ์เรื่อง ''โรมิโอกับจูเลียต'', ''ริชาร์ดที่ 3'' และ ''ฝัน ณ คืนกลางฤดูร้อน'' เชกสเปียร์เริ่มแต่งบทกวีที่มีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น เขาค่อยๆ ปรับระดับการอุปมาและการพรรณนาให้เหมาะสมกับลักษณะของตัวละครและเนื้อเรื่องของเขา