ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วีระ ธีรภัทร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ข้อมูลปลอม
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ไฟล์:Veera Theerapat.jpg|thumb|วีระ ธีรภัทร (ใส่แว่น)]]
*
 
'''วีระ ธีรภัทร''' [[นักจัดรายการวิทยุ]] [[นักเขียน]] คอลัมนิสต์ และพิธีกร[[ชาวไทย]] ผู้มีลีลาและเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง
 
== ประวัติ ==
มีชื่อจริงว่า '''วีระ ธีระภัทรานนท์''' เกิดเมื่อวันที่ [[22 เมษายน]] [[พ.ศ. 2500]] ที่[[จังหวัดพิจิตร]] ชีวิตครอบครัวสมรสแล้ว แต่ยังไม่มีบุตร ปัจจุบันมีบ้านพักอยู่ที่[[จังหวัดนนทบุรี]] มีกิจกรรมยามว่างที่ชื่นชอบคือ [[การว่ายน้ำ]]
 
=== การศึกษา ===
วีระจบการศึกษาจาก[[โรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์]] และจบชั้น[[มัธยมศึกษา|มัธยม]]จาก[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] เมื่อปีการศึกษา พ.ศ. 2516 และสำเร็จปริญญา[[คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|รัฐศาสตรบัณฑิต]] (ทฤษฎีการเมือง และปรัชญาการเมือง) จาก[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2521]]
 
=== การทำงาน ===
วีระเริ่มการทำงานโดยเป็น ผู้ช่วยบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ ของ[[หนังสือพิมพ์]][[มติชนรายวัน]] ในปี [[พ.ศ. 2522]] จากนั้นย้ายไปอยู่ที่ฝ่ายข่าวต่างประเทศ หนังสือพิมพ์[[เดลินิวส์]] ในปี [[พ.ศ. 2527]] เนื่องจากมีความสามารถในการใช้[[ภาษาอังกฤษ]]เป็นพิเศษ จึงมีโอกาสติดตามคณะ ผู้บริหารประเทศและนักการเมือง ไปทำข่าวยังต่างประเทศ และมีความสนิทสนมกับหลายคน ในยุคที่[[เปรม ติณสูลานนท์|พลเอก เปรม ติณสูลานนท์]] เป็น[[รายนามนายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรี]]
 
จนกระทั่งเมื่อเดลินิวส์เปิดหน้าข่าว[[เศรษฐกิจ]]ขึ้น ก็ได้รับมอบหมายให้เป็นบรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจคนแรก มีคอลัมน์ประจำชื่อ "ปากท้องชาวบ้าน" ในทุก[[วันจันทร์]]-[[วันศุกร์]] โดยศึกษาเรื่องเศรษฐกิจด้วยตนเอง และเข้ารับการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ จนแตกฉาน เช่นหลักสูตรนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ของ[[สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2535]] เป็นต้น จนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญทาง[[ตลาดหลักทรัพย์]]คนหนึ่ง มีผลงานหนังสือหลายเล่ม ทั้งที่เขียนเอง และแปลจากภาษาอังกฤษ ทั้งเคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ระหว่างปี [[พ.ศ. 2531]]-[[พ.ศ. 2532|2532]]
 
ต่อมาราวปี [[พ.ศ. 2537]] วีระลาออกจากเดลินิวส์ ไปดำรงตำแหน่งบรรณาธิการอำนวยการ[[หนังสือพิมพ์วัฏจักร]] และจัดรายการวิทยุเป็นครั้งแรก เมื่อต้นปี [[พ.ศ. 2538]] ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 101.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ในชื่อรายการ "คุยเฟื่องเรื่องเงิน" ทุก[[วันศุกร์]] เวลา 09.00-11.00 น. จากนั้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2541]] หนังสือพิมพ์วัฏจักรปิดกิจการ วีระจึงออกมาจัดรายการ "คุยกันจันทร์ถึงศุกร์" ทางเอฟเอ็ม 97.0 เมกะเฮิร์ตซ์ "ตรีนิตีเรดิโอ" (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น แฟมิลีเรดิโอ) ในช่วงบ่ายวันทำงาน ตั้งแต่เดือนตุลาคม ซึ่งสามารถตอบปัญหาให้ผู้โทรศัพท์เข้ารายการได้ทุกเรื่อง ทั้งเศรษฐกิจ การเงิน [[การเมือง]] สังคม หรือเรื่องปกิณกะอื่น ๆ ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น คือโผงผางเสียงดัง ทั้งยังตำหนิผู้โทรศัพท์เข้ารายการบางรายด้วย โดยในช่วง [[พ.ศ. 2541]]-[[พ.ศ. 2543|2543]] กล่าวกันว่าเป็นรายการวิทยุ ที่มีผู้ฟังมากที่สุดในช่วงบ่ายในคลื่นเอฟเอ็ม ที่มิใช่รายการเพลง<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Politics/PoliticsQAQuestion.asp?QAID=1102|title= อยากทราบประวัติของคุณวีระในรายการคุยกับวีระครับ|work=ผู้จัดการออนไลน์}}</ref> และยังจัดรายการ "เงินทองต้องรู้" ทาง[[วิทยุเนชั่น]] เอฟเอ็ม 90.5 เมกะเฮิร์ตซ์ เวลา 10.00-11.30 น. อีกรายการหนึ่ง
 
จากนั้นในราวปี [[พ.ศ. 2542]]-[[พ.ศ. 2544|2544]] วีระเริ่มเขียนคอลัมน์ "เงินทองต้องรู้" และ "ปากท้องของเรา" ในหนังสือพิมพ์[[กรุงเทพธุรกิจ]] และเขียนคอลัมน์ "หอมปากหอมคอ" ประจำในหนังสือพิมพ์[[คมชัดลึก]]ด้วย นอกจากนั้น วีระยังเคยเป็นวิทยากรในรายการ "บ้านเลขที่ 5" อยู่ช่วงหนึ่ง รวมถึงเคยเป็นพิธีกร[[รายการโทรทัศน์]]กับอุ้ม-[[สิริยากร พุกกะเวส]] ในช่วงสาย[[วันเสาร์]] และยังเป็นวิทยากรคุยเรื่องเศรษฐกิจ ในรายการ "[[สยามเช้านี้]]" และ "[[สยามทูเดย์]]" ด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ออกอากาศทาง [[ททบ.5]] ระยะต่อมา เข้าร่วมเป็นพิธีกรรายการ "[[ตาสว่าง (รายการโทรทัศน์)|ตาสว่าง]]" เริ่มตั้งแต่ [[23 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2551]]
 
ระยะหลัง วีระลดความร้อนแรงในการจัดรายการลง โดยให้เหตุผลว่าเบื่อและอิ่มตัวแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อรายการทางเอฟเอ็ม 97.0 เมกะเฮิร์ตซ์เป็น "คุยได้คุยดี" และเปลี่ยนรูปแบบไปเป็น การเล่าเหตุการณ์[[ประวัติศาสตร์]] [[ศิลปวัฒนธรรม]] และ[[การท่องเที่ยว]]มากขึ้น ซึ่งต่อมารายการยุติลง ตั้งแต่วันที่ [[31 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2551]] เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตรายการ หมดสัญญาเช่าคลื่นกับ[[สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย]] จากนั้นเมื่อเดือน[[พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2551]] ร่วมจัดรายการ "ข่าวเป็นข่าว" เพิ่มขึ้นทางเอฟเอ็ม 105 เมกะเฮิร์ทซ์ "วิสดอมเรดิโอ" กับหลานชายคือ ณัฐพงษ์ ธีระภัทรานนท์ ในเวลา 08.00-09.00 น. ต่อมารายการยุติลงเมื่อวันที่ [[31 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2551]] เนื่องจากณัฐพงษ์เปลี่ยนไปทำงาน[[ผู้ประกาศข่าว|ผู้ประกาศ]]และพิธีกรข่าวทางโทรทัศน์
 
ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551 วีระเป็นวิทยากรเศรษฐกิจในรายการตลาดเช้าข่าวสด ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ในทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดีเวลา 06.00-07.30 น. ต่อมายุติการร่วมรายการ และตัวรายการเปลี่ยนชื่อไปแล้ว, วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ไปร่วมจัดรายการ [[เช้านี้...ที่หมอชิต]] ทางช่อง 7 ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 06.00-07.30 น. ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยเขาร่วมรายการในช่วงข่าวเศรษฐกิจ เฉพาะวันจันทร์-พุธ-ศุกร์ เวลา 06.50-07.00 น. ต่อมายุติการร่วมรายการ ในวันที่ 30 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยให้เหตุผลว่า งานมากเกินไปจนทำไม่ไหว จากนั้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นพิธีกรสนทนารายการ "คุยนอกทำเนียบ" ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.30-21.00 น. ปัจจุบันยุติรายการแล้ว
 
เริ่มจัดรายการคุยได้คุยดี Talk News & Music ทาง[[สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ]] [[คลื่นความคิด]] เอฟเอ็ม 96.5 เมกะเฮิร์ตซ์ ทุก[[วันจันทร์]]-[[วันศุกร์]] [[เวลา]] 14.00-16.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551 โดยหลังจากนั้นสามวัน ทางรายการสัมภาษณ์พิเศษ นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช เกี่ยวกับ[[การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551|การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]] ในวันที่ 4 กันยายน นอกจากนี้ เนื่องในวาระครบรอบ 1 ปีของรายการนี้ จึงมีการจัดทำ[[ซีดี|คอมแพ็กต์ดิสก์]] บันทึกเสียงที่เจ้าตัวเล่าประวัติการทำงานของตนเอง เพื่อแจกให้ผู้ฟังรายการ โดยให้เหตุผลว่า ประวัติของตนที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ มีความคลาดเคลื่อนในหลายส่วน
 
วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551 วีระเริ่มเขียนคอลัมน์ "สีซอให้ควายฟัง" ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อคอลัมน์เป็น "เล่าเท่าที่รู้" โดยให้เหตุผลว่า คนอ่านอาจเข้าใจผิด คิดว่าผู้เขียนว่าคนอ่านเป็นควาย ต่อมาเจ้าตัวเขียนในคอลัมน์ว่า จะยุติการเขียนคอลัมน์นี้ ในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เป็นวันสุดท้าย เนื่องจากงานรัดตัว และช่วงนี้ไม่มีประเด็นน่าสนใจที่จะเขียนถึง
 
=== คณะกรรมการ ปปง. ===
วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในฐานะบังคับบัญชาสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอรายชื่อบุคคลเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จำนวน 9 คน และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานด้านนิติบัญญัติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามลำดับเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป โดยวีระเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อด้วย
 
วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทั้ง 9 คน เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติอีกชั้นหนึ่ง
 
หลัง[[การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553|เหตุการณ์สลายการชุมนุมทางการเมืองวันที่ 19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน]] วีระกล่าวทางรายการวิทยุที่ตนจัดหลายรายการว่าจะทยอยเลิกงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากรู้สึกว่าสถานการณ์ สภาพแวดล้อม และความรู้สึกของตนเอง ไม่เหมาะสมที่จะจัดรายการแบบนี้อีกต่อไป อย่างไรก็ตามในเดือนตุลาคมเจ้าตัวกล่าวว่าจะไม่เลิกจัดรายการคุยได้คุยดีแต่จะหยุดพักสองเดือนหรือหยุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนและกลับมาจัดใหม่ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2554
 
วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณารายงานการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบคุณสมบัติผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จำนวน 9 คน ตามที่ ครม.เสนอมาและคณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาเสร็จแล้ว โดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อ จำนวน 9 คน ด้วยวิธีลงคะแนนลับผ่านซองลงคะแนน ด้วยคะแนนเสียงข้างมาก โดย รศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ได้ 245 คะแนนต่อ 88 งดออกเสียง 5 นายถาวร พานิชพันธ์ ได้ 242 ต่อ 88 งดออกเสียง 6 นายตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ ได้ 237 ต่อ 90 งดออกเสียง 6 นายบัญชา เสือวรรณศรี ได้ 342 ต่อ 5 งดออกเสียง 4 นายวีระ ธีระภัทรานนท์ ได้ 200 ต่อ 126 งดออกเสียง 12 พล.ต.อ.สมชาย ประภัสภักดี ได้ 339 ต่อ 8 งดออกเสียง 5 รศ.จุราพร ไวยนันท์ได้ 342 ต่อ 5 งดออกเสียง 4 นายวินัย ดำรงค์มงคลกุล ได้ 344 ต่อ 5 งดออกเสียง 4 และ นายมนัส สุขสวัสดิ์ได้ 354 ต่อ 5 งดออกเสียง 4 และขั้นตอนต่อจากนี้จะเสนอให้วุฒิสภาเห็นชอบต่อไป
 
วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553 วุฒิสภาให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จำนวน 9 คน ตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ
 
วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554 วีระกลับมาจัดรายการคุยได้คุยดี Talk News & Music ทางคลื่น 96.5 จนถึงปัจจุบัน และยังมีรายการวิเคราะห์เศรษฐกิจการเงินที่สถานีโทรทัน์[[นาว 26]] ของทาง[[เครือเนชั่น]]ด้วย
 
== งานเขียนและงานแปลที่เคยตีพิมพ์ ==
{{บน}}
* โลกแห่งชีวิต
* คนใหม่
* บันทึกแห่งชีวิต
* เปิดโปงเขี้ยวเล็บโซเวียต
* รวมข้อเขียนชุด รวยด้วยหุ้น (4 เล่ม)
* รวยแล้วถึงรู้
* รวยได้ถ้ารู้มาก่อน
* รวยคนเดียว
* คุยเฟื่องเรื่องเงิน (2 เล่ม)
* เกิดมารวย
* พูดจาภาษาน้ำมัน
* เงินทองต้องรู้ (3 เล่ม)
* เรื่องเก่าเล่าใหม่ รวมคอลัมน์ในกรุงเทพธุรกิจ
* ปากท้องชาวบ้าน
* ปากท้องของเรา
* เล่าเรื่องเงินปนเรื่องหุ้น
{{กลาง}}
* คุยเฟื่องเรื่องทอง :คู่มือเพื่อการลงทุนกับทอง
* จากยุ่งกลายเป็นรุ่ง บทเรียนเศรษฐกิจไทย พิสิฐ ลี้อาธรรม เขียน วีระ ธีรภัทร แปล
* หอมปาก หอมคอ (6 เล่ม)
* เที่ยวเขมร
* เรื่องเล่าจากมหากาพย์มหาภารตะ เล่ม 1 ตอน กำเนิดพี่น้องเการพและปาณฑพ
* เรื่องเล่าจากมหากาพย์มหาภารตะ เล่ม 2 ตอน เหตุแห่งสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร
* เรื่องเล่าจากมหากาพย์มหาภารตะ เล่ม 3 ตอน สงครามบนทุ่งกุรุเกษตร
* เรื่องเล่าจากมหากาพย์มหาภารตะ เล่ม 4 ตอน อวสานสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร
* เล่าเท่าที่รู้ วิพากษ์เศรษฐกิจโลก วิจารณ์เศรษฐกิจไทย ในสถานการณ์วิกฤต
* เล่าเท่าที่รู้ 2 วิพากษ์เศรษฐกิจโลก วิจารณ์เศรษฐกิจไทย ในสถานการณ์วิกฤต
{{ล่าง}}
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
*ประวัติจากหลังปกหนังสือ ''เรื่องเก่าเล่าใหม่ รวมคอลัมน์ในกรุงเทพธุรกิจ'' ([[พ.ศ. 2544]])
*[[ตลับเทป|เทปบันทึกเสียง]] ''25 ปีแห่งการงาน'' บอกเล่าถึงประวัติของตัวเองในวาระ 25 ปี แห่งการทำงาน
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.oknation.net/blog/vera เว็บบล็อกส่วนตัว]
* [http://www.nationradioonline.com/index.php วิทยุเนชั่น]
* [http://www.trinityradio.com วิทยุแฟมิลี่ เรดิโอ]
* [http://www.wisdom105.com วิทยุวิสดอม เรดิโอ]
* [http://radio.mcot.net/fm965 วิทยุคลื่นความคิด]
 
{{เกิดปี|2500}}{{alive}}
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดพิจิตร]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]