ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาวโจร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Phyblas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 102:
{{Starbox end}}
 
'''ดาวซิริอุส''' ({{lang-en|Sirius}}) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งใน[[ภาษาไทย]]ว่า '''ดาวโจร'''<ref>วิภู รุโจปการ. (2547). ''เอกภพ เพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของจักรวาล''. บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น จำกัด. หน้า 233</ref> เป็น[[ดาวฤกษ์]]ที่สว่างที่สุดในตอนกลางคืนและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่า[[ความส่องสว่างปรากฏ|ระดับความสว่าง]]อยู่ที่ -1.47 ซึ่งสว่างเกือบเป็นสองเท่าของ[[ดาวคาโนปัสปุส]] ดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับสอง ชื่อ ''ซิริอุส'' มาจาก[[ภาษากรีกโบราณ]]ว่า "เซริออส" (''Σείριος'') มีชื่อตาม[[ระบบเบเยอร์ไบเยอร์]]ว่า '''อัลฟา คานิส เมเจอริส''' (α Canis Majoris หรือ α CMa) ความจริงดาวที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าว่าเป็นดาวดวงเดียวนั้นเป็น[[ระบบดาวคู่]] ประกอบด้วยดาวสีขาวในลำดับหลัก (Main Sequence) ประเภท A1V ชื่อว่า '''ซิริอุส เอ''' (Sirius A) กับดาวแคระขาวสีจาง ๆ ในประเภท DA2 ชื่อว่า '''ซิริอุส บี''' (Sirius B)
 
การที่ดาวซิริอุสเป็นดาวที่สว่างที่สุด นอกจากความสามารถในการส่องสว่างของมันเองแล้ว มันยังอยู่ใกล้[[ดวงอาทิตย์]]ของเรามาก คือห่างไปเพียง 2.6 [[พาร์เซก]] (ประมาณ 8.6 [[ปีแสง]]) ระบบดาวซิริอุสถือว่าเป็นระบบดาวเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดกลุ่มหนึ่ง ดาวซิริอุสเอมีมวลประมาณ 2 เท่าของดวงอาทิตย์ และมีค่า[[ความส่องสว่างสัมบูรณ์|ความสว่างสัมบูรณ์]] เท่ากับ 1.42 หรือคิดเป็น 25 เท่าของความสว่างของดวงอาทิตย์<ref name="age">Liebert, J.; Young, P. A.; Arnett, D.; Holberg, J. B.; Williams, K. A. (2005). [http://adsabs.harvard.edu/abs/2005ApJ...630L..69L "The Age and Progenitor Mass of Sirius B"]. ''The Astrophysical Journal'' '''630''' (1): L69-L72.</ref> แต่มันก็ยังมีความสว่างต่ำกว่าดาวฤกษ์สว่างดวงอื่น เช่น [[คาโนปัสปุส]] หรือ [[ไรเจล]] ระบบดาวซิริอุสมีอายุเก่าแก่ราว 200-300 ล้านปี<ref name="age" /> แต่เดิมประกอบด้วยดาวสีน้ำเงินสว่างสองดวง ดวงที่มีมวลมากกว่าคือ ซิริอุสบี เผาผลาญเชื้อเพลิงจนหมดและกลายเป็น[[ดาวยักษ์แดง]] ก่อนจะหดตัวลงและกลายเป็น[[ดาวแคระขาว]]เช่นในปัจจุบันตั้งแต่เมื่อ 120 ล้านปีที่แล้ว<ref name="age" />
 
ดาวซิริอุสเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในอีกชื่อหนึ่งว่า '''ดาวสุนัขใหญ่''' สื่อถึงชื่อกลุ่มดาวที่มันสังกัดอยู่ คือ Canis Major ([[ภาษาละติน]] แปลว่า สุนัขใหญ่)<ref>Richard Hinckley Allen (1899). ''[http://books.google.com/books?id=5xQuAAAAIAAJ Star-names and Their Meanings]''. New York: G. E. Stechert, 117.</ref> เป็นดาวที่มีเรื่องเล่าตำนานและนิทานพื้นบ้านเกี่ยวข้องมากมายยิ่งกว่าดาวฤกษ์อื่นๆ นอกเหนือจากดวงอาทิตย์ การปรากฏของดาวซิริอุสที่ขอบฟ้ายามรุ่งสาง เป็นสัญลักษณ์บอกฤดูน้ำหลากของ[[แม่น้ำไนล์]]ใน[[อียิปต์โบราณ]] และเป็นวันสำคัญคือ "วันสุนัข" ใน[[ฤดูร้อน]]ของ[[กรีซโบราณ]] ส่วนชาวอาหรับเผ่า[[คุซาอะหฺ]]ก่อน[[อิสลาม]]กาลก็ได้สักการบูชาดาวดวงนี้ โดยเรียกว่า อัชชิอฺรอ ส่วน[[ชาวโพลินีเชียน]]ใช้ในการระบุการเข้าสู่[[ฤดูหนาว]] ทั้งยังเป็นดาวสำคัญที่ใช้นำทางสำหรับการเดินทางใน[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ดาวโจร"