ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศญี่ปุ่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Longlivethekingofthailand (คุย | ส่วนร่วม)
Tagging 55 dead links using Checklinks
บรรทัด 112:
ระหว่าง พ.ศ. 1337 จนถึง พ.ศ. 1728 ซึ่งเป็น[[ยุคเฮอัง]]นั้น ถือได้ว่าเป็นยุคทองของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นยุคสมัยที่วัฒนธรรมของญี่ปุ่นเองเริ่มพัฒนาขึ้น สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดมากที่สุดคือ การประดิษฐ์ตัวอักษร [[ฮิระงะนะ]] ซึ่งทำให้เกิดวรรณกรรมที่แต่งโดยตัวอักษรนี้เป็นจำนวนมาก เช่นในช่วงกลาง[[พุทธศตวรรษที่ 16]] ได้มีการแต่งนวนิยายเรื่อง[[ตำนานเก็นจิ#นิทานเก็นจิ|นิทานเก็นจิ]] (源氏物語) ขึ้น ซึ่งเป็นนิยายที่บรรยายเกี่ยวกับการใช้ชีวิต การปกครองของ[[ตระกูลฟุจิวะระ]] และบทกลอนที่ถูกใช้เป็นเนื้อเพลงของเพลงชาติญี่ปุ่น [[คิมิงะโยะ]] ก็ถูกแต่งขึ้นในช่วงนี้เช่นเดียวกัน<ref>{{cite book |author=Conrad Totman |year=2002 |title=A History of Japan |publisher=Blackwell |pages=122–123 | isbn=978-1405123594}}</ref>
 
=== ยุคศักดินาสมศักดิสัส ===
อิอิ[[ไฟล์:Japan Kyoto Kinkakuji DSC00108.jpg|thumb|220px|[[วัดคิงกะกุ]] ในเมือง[[เคียวโตะ]]]]
 
ยุคศักดินาญี่ปุ่นเริ่มต้นจากการที่ผู้ปกครองทางการทหารเริ่มมีอำนาจขึ้น พ.ศ. 1728 หลังจากการพ่ายแพ้ของ[[ตระกูลไทระ]] [[มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ]] ได้แต่งตั้งตนเองเป็น[[โชกุน]] และสร้างรัฐบาลทหารในเมือง[[คะมะกุระ]] ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ[[ยุคคะมะกุระ]]ซึ่งมีการปกครองแบบ[[ศักดินา]] แต่รัฐบาลคะมะกุระก็ไม่สามารถปกครองทั้งประเทศได้ เพราะพวกราชวงศ์ยังคงมีอำนาจอยู่ในภาคตะวันตก หลังจากการเสียชีวิตของโชกุนโยะริโตโมะ [[ตระกูลโฮโจ]]ได้ก้าวขึ้นมาเป็น[[ชิกเก็ง|ผู้สำเร็จราชการให้โชกุน]] รัฐบาลคะมะกุระสามารถต่อต้านการรุกรานของ[[จักรวรรดิมองโกล]]ใน พ.ศ. 1817 และ พ.ศ. 1824 โดยได้รับความช่วยเหลือจากพายุ[[คะมิกะเซะ]]ซึ่งทำให้กองทัพมองโกลประสบความเสียหายอย่างมาก<ref>[http://www.taots.co.uk/content/view/25/30/ Mongol Invasion 1274-1281] The Age of the Samurai</ref>