ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GünniX (คุย | ส่วนร่วม)
ThucydidesNeo (คุย | ส่วนร่วม)
แก้คำสะกดผิด
บรรทัด 6:
คำว่า “เรอเนสซองซ์” เป็นคำสมัยใหม่ที่มาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในงานของนักประวัติศาสตร์เช่น[[เจคอป เบิร์คฮาร์ดท์]] (Jacob Burckhardt) ที่มาของขบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเริ่มจากการวิวัฒนาการทางวรรณกรรมของผู้ก่อตั้งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ วัฒนธรรมด้านอื่นๆของอิตาลีในขณะนั้นยังคงเป็นวัฒนธรรมของยุคกลาง ปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยามิได้แพร่หลายอย่างเต็มที่จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 คำว่า “เรอเนสซองซ์” หรือ “Rinascimento” ในภาษาอิตาลีหมายความว่า “เกิดใหม่” และเป็นสมัยที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในการฟื้นฟูความสนใจในวัฒนธรรมของกรีกโรมันหลังจากสมัยที่[[นักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์]] (Renaissance humanist) ตั้งชื่อว่า[[ยุคมืด]] (Dark Ages) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแต่จำกัดอยู่แต่ในกลุ่มชนชั้นสูงและทิ้งให้ประชากรส่วนใหญ่ในยุโรปยังมีความเป็นอยู่ที่ไม่ต่างจากสมัยกลางที่ผ่านมา
 
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเริ่มใน[[ทัสเคนี]]โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่[[ฟลอเรนซ์]]และ[[เซียนา]] และต่อมาใน[[เวนิส]]ที่มีผลเป็นอันมาก เพราะงานต่างๆ ของ[[กรีกโบราณ]]ถูกนำไปรวบรวมไว้ที่เวนิสซึ่งทำให้กลายเป็นแหล่งความรู้ต่างๆ ที่ใหม่ๆ ให้แก่[[ลัทธิมนุษยนิยม|นักมนุษยนิยม]] ผู้คงแก่เรียนในเวนิสในขณะนั้น ต่อมาปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยาก็มามีอิทธิพลใน[[กรุงโรม]] ที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ มากมายที่ส่วนใหญ่โดยการอุปถัมภ์ของพระสันตปาปาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรุ่งเรืองที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากนั้นก็ลดถอยลงหลังจากการรุกรานจากต่างประเทศที่ก่อให้สงครามในอิตาลี แต่การฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีก็มิได้หยุดนิ่งลงแต่เผยแพร่ไปทั่วยุโรปและเริ่ม[[สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือ]]ของยุโรปและ[[สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอังกฤษ]]และประเทศอื่นๆ ในยุโรป
 
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในความสำเร็จทางด้าน[[วัฒนธรรม]] [[วรรณกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา]]ของอิตาลีรวม[[ลัทธิมนุษยนิยม|นักมนุษยนิยม]]ผู้มีชื่อเสียงเช่น[[เปตราก]]ที่รู้จักกันดีในงาน[[ซอนเน็ต]] “Il Canzoniere”; [[จิโอวานนิ บอคคาซิโอ]] (Giovanni Boccaccio) ในงานเรื่องเล่า “Decameron” และ[[นักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์]]เช่น[[โปลิซิอาโน]] (Poliziano), [[มาร์ซิลิโอ ฟิซิโน]] (Marsilio Ficino), [[โลเร็นโซ วาลลา]] (Lorenzo Valla), [[อัลโด มานูซิโอ]] (Aldo Manuzio), [[โพจจิโอ บราชชิโอลินิ]] (Poggio Bracciolini) นอกจากนั้นก็มีนักประพันธ์[[มหากาพย์เรอเนสซองซ์]]เช่น[[บัลดัสซาเร คาสติกลิโอเน]] (Baldassare Castiglione) (“The Book of the Courtier”), [[ลุโดวิโค อริโอสโต]] (Ludovico Ariosto) (“Orlando Furioso”) และ[[ทอร์ควาโท ทาสโซ]] (Torquato Tasso) (“Jerusalem Delivered”) และนักประพันธ์ร้อยแก้วเช่น[[นิคโคโล มาเคียเวลลี]] (“The Prince”) [[จิตรกรรมเรอเนสซองซ์อิตาลี]]เป็นจิตรกรรมที่มีอิทธิพลต่อ[[จิตรกรรมตะวันตก]]ต่อมาอีกหลายร้อยปี โดยมีจิตรกรเช่น[[ไมเคิล แอนเจโล]], [[ราฟาเอล]], [[ซานโดร บอตติเชลลี]], [[ทิเชียน]] และ[[เลโอนาร์โด ดา วินชี]] และเช่นเดียวกันกับ[[สถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา]] โดยมีสถาปนิกเช่น[[อันเดรอา ปัลลาดีโอ]] และงานเช่น[[มหาวิหารฟลอเรนซ์]] และ[[มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์]]ในกรุงโรม ในขณะเดียวกันนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเห็นว่าเป็นสมัยของความหดตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมามีความก้าวหน้ามากกว่าในวัฒนธรรมของโปรเตสแตนต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17