ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเมกุฏิสุทธิวงศ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์แทบไม่ปรากฏพระราชประวัติในช่วงต้นเลย ทราบแต่เพียงว่าแต่เดิมเป็นเจ้านายจาก[[เมืองนาย]]<ref>สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. ''พม่ารบไทย''. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554. หน้า 289</ref>ใน[[รัฐชาน|หัวเมืองเงี้ยว]]ซึ่งมีเชื้อสาย[[ราชวงศ์มังราย]] ไม่ปรากฏพระนามพระราชชนก ทราบแต่เพียงว่าพระราชชนกนั้นสืบเชื้อสายมาจาก[[ขุนเครือ]] ซึ่งเป็นพระราชโอรสใน[[พญามังราย]]ที่ไปครองเมืองนาย อันเป็นดินแดนที่มี[[ชาวไทใหญ่]]อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ภายหลังขุนเครือทรงพยายามที่จะชิงราชบัลลังก์ของ[[พญาไชยสงคราม]]พระเชษฐาแต่ไม่สำเร็จ และถูกเจ้าน้ำท่วมสังหารในเวลาต่อมา<ref>อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต). ''ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่''. กรุงเทพฯ : ตรัสวิน, 2543, หน้า 45</ref><ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2539. หน้า 148</ref> บางแห่งก็ว่ายึดสำเร็จ แต่ภายหลังถูกจับได้ จึงถูกขังไว้จนถึงแก่กรรม<ref name="สรัสวดี">สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2539. หน้า 237-238</ref> อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเมืองนายจะมีเจ้านายเป็นเครือญาติกับกษัตริย์ล้านนา<ref>เสมอชัย พูลสุวรรณ. ''รัฐฉาน (เมืองไต) : พลวัติของชาติพันธุ์ในบริบทประวัติศาสตร์และการเมืองร่วมสมัย''. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2552, หน้า 18</ref> ทว่าเมืองนายคุกคามเมืองเชียงใหม่ในบางโอกาส บางครั้งก็ตกเป็น[[รัฐบรรณาการ]]ของล้านนาในช่วงเวลาที่ล้านนารุ่งเรือง<ref name="สรัสวดี"/>
 
ส่วนพระราชชนนีของพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ก็ไม่ปรากฏพระนามเช่นกัน แต่พระราชชนนีนี้ยังมีพระชนม์ชีพอยู่จนกระทั่งพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์เสวยราชย์ครองล้านนา ปรากฏพระนามในจารึกวัดพระธาตุศรีจอมทองว่า "พระอัครราชมาดา พระมหาเทวีเจ้า"<ref name="จารึก"/> ซึ่ง ดร. [[สุเนตร ชุตินธรานนท์]]ได้สันนิษฐานว่าพระราชชนนีของพระองค์คือ[[พระนางวิสุทธิเทวี]] ที่ครองเมืองเชียงใหม่ต่อจากพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์หลังถูก[[พระเจ้าบุเรงนอง]]ยึดครอง โดยให้เหตุผลว่าเป็นหลักประกันเพื่อมิให้เจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่คิดแข็งเมืองต่อพม่า<ref name="ชนนี">สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. ''พม่ารบไทย''. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554. หน้า 294</ref>
 
=== เสวยราชย์ ===
บรรทัด 54:
<blockquote>"...ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานตำหนักให้กับนะระปะติเจ้าเมืองแพร่ ๑ อะวะนะระปะติจีสู ๑ [นะระปะติสีตู] พระสังข์เจ้าเมืองเชียงใหม่ ๑ [ที่ถูกต้องคือพระตาน มาจากคำว่าเจ้าขนานแม่กุ] พระสาธิราชพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา [พระเธียรราชา] แล้วพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอันมาก..."</blockquote>
 
หลังจากนั้นพระเจ้าบุเรงนองจึงตั้ง[[พระนางวิสุทธิเทวี]] ขัตติยนารีผู้มีเชื้อสายราชวงศ์มังรายครองล้านนาสืบต่อไป ทั้งซึ่ง ดร. [[สุเนตร ชุตินธรานนท์]]ได้สันนิษฐานว่าพระนางวิสุทธิเทวีนี้คือพระราชชนนีของพระเมกุฏิ โดยให้เหตุผลว่าเป็นหลักประกันเพื่อมิให้เจ้าแผ่นดินล้านนาพระองค์ใหม่คิดแข็งเมืองต่อพม่า<ref name="ชนนี"/> เพราะฝ่ายพม่าได้ยกไพร่พลและขุนนางรามัญไปอยู่ในเมืองเชียงใหม่เสียด้วย ดังปรากฏใน ''พงศาวดารโยนก'' ความว่า<ref>ประชากิจวรจักร (แช่ม บุนนาค), พระยา. ''พงศาวดารโยนก''. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2516, หน้า 401</ref>
 
<blockquote>"...แล้วตั้งราชเทวีอันเป็นเชื้อสายเชียงใหม่แต่ก่อนทรงนามพระวิสุทธิเทวีขึ้นเป็นราชินีครองเมืองนครเชียงใหม่สืบไป ให้ขุนนางรามัญอยู่เป็นข้าหลวงกำกับเมือง..."</blockquote>