ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นะ (วิญญาณ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 112:
==การบูชานัต==
[[ไฟล์:Nat-ein.jpg|thumb|รูปแบบของศาลนัต]]
ในประเทศพม่า การบูชาหรือประเพณีเกี่ยวกับนัต มีตลอดทั้งปี แต่งานเทศกาลเกี่ยวกับนัตที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุด คือ หมู่บ้านต่องปะโยง ใน[[เขตมัณฑะเลย์]] เป็นเวลา 6 วัน ในเดือนสิงหาคมของทุกปี เนื่องจากนัตสองพี่น้อง หรือ ชเวปยินยีดอ และชเวปยินนองดอ เคยอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโนรธา ซึ่งเชื่อว่าเป็นเชื้อสายแขกผสมพม่า ถูกสั่งประหาร ณ ที่แห่งนี้ เนื่องจากละเลยต่อการขนอิฐสร้างพุทธเจดีย์ตามพระราชบัญชา และกลายเป็นผีมาหลอกหลอนพระเจ้าอโนรธา พระองค์จึงมีบัญชาให้ตั้งศาลบูชาไว้ ณ ที่แห่งนี้<ref name=พ>หน้า 94-105, ''นัต พลังศรัทธาของมวลชน'' โดย ยศธร ไตรยศ. นิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟิกฉบับภาษาไทย: ฉบับที่ 180 กรกฎาคม 2559</ref>
 
คนทรงนัต มีชื่อเรียกว่า "นัตกะด่อ" (နတ်ကတော်; ''nat kadaws'') นัตกะด่อจะนับถือนัตชเวปยินยีดอเป็นเสมือนนัตครู นัตกะด่อจากทั่วพม่าจะเดินทางมาที่นี่เพื่อบูชาปีละครั้ง ผู้ที่เป็นนัตกะด่อจะเป็นผู้ที่ชาวพม่าให้ความเคารพในทุกชนชั้น และความเชื่อจะถูกส่งต่อมาเป็นทอด ๆ หากพ่อแม่ศรัทธานัตกะด่อคนใด ลูกหลานก็จะถูกพามาด้วยและมอบตัวเป็นศิษย์
บรรทัด 120:
ก่อนการเข้าทรงจะมีการจัดเลี้ยงอาหารต่อผู้มาร่วมงานและบูชาพระรัตนตรัย และบูชานัตโดยเครื่องบูชาหลัก คือ มะพร้าว เนื่องจากมินมหาคีรีนัต ซึ่งสิงสถิตย์อยู่ยังเขาโปปา ตายเพราะถูกไฟคลอกในรัชสมัย[[พระเจ้าจานสิตา]] น้ำมะพร้าวมีคุณสมบัติเย็นและช่วยดับร้อนอันจะทำให้นัตพึงพอใจ นอกจากนี้ยังมีกล้วยและธูปเทียนต่าง ๆ
 
ในหมู่บ้านต่องปะโยงจะมีปะรำพิธีสำหรับนัตกะด่อแต่ละคนที่จะมาเข้าทรง โดยจัดเวียนกันเป็นรอบ ๆ เมื่อถึงรอบของใคร ผู้นำก็จะนำพารำพามารำยังปะรำพิธีซึ่งมีปี่พาทย์ประโคมรออยู่แล้ว ซึ่งบริเวณที่จัดงานจะเป็นงานนอกกำแพงวัด เนื่องจากเป็นการเข้าทรงนัตนอก ซึ่งมีถิ่นฐานนอกกำแพงวัดเจดีย์ชเวซีโกน
 
การเข้าทรงนัต นัตกะด่อจะฟ้อนรำไปตามจังหวะเสียงเพลงโดยมีสาวกหรือผู้ศรัทธาติดตามไป ช่วงที่สำคัญคือ นัตกะด่อจะโปรยเงินแจกจ่ายผู้ที่ยืนดู ซึ่งสามารถใช้ความมั่งคั่งของนัตกะด่อเป็นเครื่องวัดความมีชื่อเสียงของนัตกะด่อผู้นั้นได้ และก็มักมีการเข้าทรงเกิดขึ้นมากมายในบรรดาผู้ที่เข้าร่วมงานทั้งที่ไม่ใช่นัตกะด่อ