ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอ็นบีที 2 เอชดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 42:
}}
 
'''สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย''' (ชื่อย่อ: สทท.; อังกฤษ: The National Broadcasting Services of Thailand; ชื่อย่อ: เอ็นบีที, NBT) หรือชื่อเดิมคือ '''[[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11]]''' (ชื่อย่อ: สทท.11, ช่อง 11; อังกฤษ: Television of Thailand Channel 11 ชื่อย่อ: TVT.11) เป็นหน่วยงานสถานี[[วิทยุโทรทัศน์]]ของรัฐบาล มีสถานะเป็น[[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ]]ของ[[ประเทศไทย]] สังกัด[[กรมประชาสัมพันธ์]] [[สำนักนายกรัฐมนตรี]] โดยมี[[รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี]] (ปัจจุบันคือ [[ออมสิน ชีวะพฤกษ์]])<ref>[http://www.dailynews.co.th/politics/544187 นายกฯแบ่งงานรมต.ประจำสำนักนายกฯ]</ref> และ[[สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)|ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี]] (ปัจจุบันคือ นาย[[จิรชัย มูลทองโร่ย]]) เป็นผู้กำกับดูแล โดยมีการเปลี่ยนชื่อ พร้อมปรับปรุงระบบการบริหารงาน และรูปแบบของสถานีฯ เพื่อให้สมเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานีฯ ตั้งแต่[[วันอังคาร]]ที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2551]] เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป และในวันที่ใช้ชื่อเอ็นบีทีมาครบ 1 ปี ก็เปลี่ยนอัตลักษณ์ใหม่ของสถานีฯ ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 48:
สืบเนื่องจากที่ [[องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น]] หรือ ''ไจกา'' (Japan International Cooperation Agency; JICA) ให้การสนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับถ่ายทอด[[วิทยุกระจายเสียง]] และถ่ายทำ[[รายการโทรทัศน์]]ภายในห้องส่ง (Studio) แก่[[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] (มสธ.) เพื่อให้ มสธ.นำไปใช้ก่อตั้ง ''ศูนย์ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์'' (Educational Broadcasting Production Center; EBPC) ของมหาวิทยาลัยฯ ระหว่างปี [[พ.ศ. 2525]]-[[พ.ศ. 2527|2527]] ทว่าขณะนั้น ประเทศไทยไม่มีสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เพื่อรองรับเนื้อหาที่ผลิตขึ้นจากศูนย์ผลิตรายการฯ ดังกล่าว ต่อมาใน[[วันอังคาร]]ที่ [[15 มกราคม]] [[พ.ศ. 2528]] [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 43|คณะรัฐมนตรี]]ลงมติให้กรมประชาสัมพันธ์ จัดทำ''โครงการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ'' เพื่อทำหน้าที่เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อ[[การศึกษา]] เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของ[[ราชการ]]สู่[[ประชาชน]] และเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมไปถึงการเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่าง[[รัฐบาล]]กับประชาชน ตลอดจนเป็นสถานีโทรทัศน์แม่ข่าย ให้แก่สถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาค ในเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ
 
จากนั้นกรมประชาสัมพันธ์ นำเครื่องส่งโทรทัศน์สีของกรมประชาสัมพันธ์ จากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์[[อำเภอเด่นชัย]] [[จังหวัดแพร่]] มาใช้แพร่ภาพชั่วคราว ด้วยระบบ[[วีเอชเอฟ]]ความถี่สูง ทางช่องสัญญาณที่ 11 (Band3, VHF CH-11) จากอาคารศูนย์ระบบโทรทัศน์ ของกรมประชาสัมพันธ์ ริมถนนเพชรบุรีตัดใหม่ จัดตั้งขึ้นเป็น''สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย'' (สทท.) และเริ่มต้นทดลองออกอากาศเป็นครั้งแรก ประมาณต้นเดือน[[ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2528]]<ref>[http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=11397 ขุดกรุ:จากสถานี HS1PJ ถึงโทรทัศน์สีสเตอริโอ](บางส่วน) จากเว็บไซต์รถไฟไทยดอตคอม</ref> ก่อนจะแพร่ภาพเป็นประจำทุกวัน ระหว่างเวลา 16:30-21:00 น. ตั้งแต่วันที่ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2529]] แต่ด้วยข้อจำกัดทางงบประมาณของกรมประชาสัมพันธ์ รวมทั้งเครื่องส่งโทรทัศน์มีกำลังส่งต่ำ เป็นผลให้ดำเนินการแพร่ภาพออกอากาศได้ไม่สะดวก ดังนั้น ศาสตราจารย์ [[ยามาซากิ]], ศาสตราจารย์ ดร.[[ชัยยงค์ พรหมวงศ์]] และ รองศาสตราจารย์ ดร.[[นิคม ทาแดง]] ซึ่งเป็นผู้ร่วมดำเนินการก่อตั้ง ศูนย์ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์ มสธ. ร่วมกันจัดทำร่างโครงการขอความช่วยเหลือจาก[[รัฐบาลญี่ปุ่น]] ซึ่งต่อมาอนุมัติวงเงิน 2,062 ล้านเยน (ขณะนั้นคิดเป็นประมาณ 300 ล้านบาท) แบบให้เปล่าผ่านไจกา เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ทำการ จัดซื้อและติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ ระหว่างวันที่ [[13 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2530]] ถึงวันที่ [[28 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2531]] รวมระยะเวลาประมาณ 9 เดือน โดยระหว่างนั้น สทท.ยุติการออกอากาศเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ [[1 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2530 เพื่อดำเนินการโอนย้ายระบบออกอากาศดังกล่าว
 
ต่อมาใน[[วันจันทร์]]ที่ [[11 กรกฎาคม]] พ.ศ. 2531 เวลา 10:00 นาฬิกา [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด อาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย อย่างเป็นทางการ<ref>[http://www.ohmpps.go.th/documents/BR2531020/pdf/T0011_0006.pdf ข่าวพระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2530-กันยายน พ.ศ. 2531 บทที่ 11 หน้า 6] จาก[[เว็บไซต์]][[สำนักราชเลขาธิการ]]</ref> จากนั้นเป็นต้นมาจึงกำหนดให้วันที่ 11 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา''สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์'' ต่อมาจึงเริ่มกลับมาออกอากาศ ข่าวภาคเช้า ข่าวภาคค่ำ รายการเพื่อการศึกษา และรายการประเภทอื่น ไปยังสถานีเครือข่ายส่วนภูมิภาค ตั้งแต่วันที่ [[1 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2531 จนถึงปัจจุบัน สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะที่เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของราชการ และนำเสนอรายการที่เป็นสาระความรู้ โดยเฉพาะด้านการศึกษา, ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี มาโดยตลอด ซึ่งรูปแบบการดำเนินงานนั้น สทท.11 ในส่วนกลางที่[[กรุงเทพมหานคร]] จะดำเนินการถ่ายทอดรายการเป็นส่วนมาก และบางช่วงเวลาจะให้สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาค ดำเนินการถ่ายทอดรายการของตนเฉพาะท้องถิ่นไป แล้วแต่ช่วงเวลานั้นๆ อย่างไรก็ดีปฏิเสธไม่ได้ว่า ในช่วงระยะเวลาแรกๆ สทท.11 มักถูกมองข้ามจากผู้ชมส่วนใหญ่ เนื่องด้วยความเป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล ซึ่งไม่มีรายการที่สามารถดึงดูดผู้ชมได้ โดยเฉพาะรายการประเภทบันเทิง เช่น[[ละครโทรทัศน์]]หรือ[[เกมโชว์]] และประกอบกับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ไม่อาจหารายได้ด้วยการโฆษณา จึงทำให้ประเภทรายการที่ออกอากาศทาง สทท.11 มีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้มีผู้ติดตามรับชมจำนวนไม่มากนัก