ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอ็นบีที 2 เอชดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 53:
 
อย่างไรก็ดี ในปี [[พ.ศ. 2539]] สทท.11 มีข้อเสนอให้หน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะภาครัฐ สามารถแสดงภาพ[[สัญลักษณ์]]หรือ[[เครื่องหมายการค้า]]บนหน้าจอโทรทัศน์ได้ นอกจากนั้นก็ยังต่อยอดจากข้อเสนอข้างต้น ด้วยการผลิตภาพยนตร์โฆษณาของสถานีฯ เพื่อออกอากาศด้วยตนเอง อนึ่ง สทท.11 เริ่มมีชื่อเสียงในการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬา จากการริเริ่มนำเทปการแข่งขัน[[มวยปล้ำ|มวยปล้ำอาชีพ]]มาออกอากาศในระยะหนึ่ง และถ่ายทอดสด[[ฟุตบอล]][[ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก]] ในช่วงปี [[พ.ศ. 2540]]-[[พ.ศ. 2543|2543]] จนกระทั่งในช่วงปี [[พ.ศ. 2545]] เป็นต้นมา สทท.11 ก็กลับมามีชื่อเสียงในเรื่องนี้อีกครั้ง เมื่อร่วมกับบริษัท ทศภาค จำกัด บริษัทลูกที่ประกอบกิจการโฆษณาในเครือ[[ไทยเบฟเวอเรจ]], [[สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์]] และ[[สถานีโทรทัศน์ไอทีวี]] ถ่ายทอดสดการแข่งขัน[[ฟุตบอลโลก 2002]] ซึ่งจัดขึ้นที่[[สาธารณรัฐเกาหลี]] (เกาหลีใต้) และประเทศ[[ญี่ปุ่น]] โดยไม่มีภาพยนตร์โฆษณาระหว่างการแข่งขัน ซึ่งหลังจากนั้น สทท.11 ก็ดำเนินการถ่ายทอดสดกีฬาอีกหลายรายการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อนึ่ง กรณีถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2002 นับเป็นเรื่องแปลกใหม่ของวงการโทรทัศน์ไทยในขณะนั้น เนื่องจากตามธรรมเนียมปกติที่ผ่านมา การถ่ายทอดโทรทัศน์ในมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ ผู้บริหาร[[รายชื่อสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย|สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน]]ช่องต่างๆ มักรวมตัวกันในนาม''[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]]'' (ทีวีพูล) เพื่อซื้อลิขสิทธิ์การเผยแพร่ในประเทศไทย และหารายได้ทดแทนค่าลิขสิทธิ์ ด้วยการเสนอภาพยนตร์โฆษณาสินค้าบริการต่างๆ คั่นระหว่างการถ่ายทอด
[[ไฟล์:รายละเอียดโลโก้เอ็นบีที.jpg|thumb|152px|left|รายละเอียดของตราสัญลักษณ์เอ็นบีที (2551)]]
 
ในช่วงต้นปี [[พ.ศ. 2551]] สมัย[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 57|รัฐบาล]][[สมัคร สุนทรเวช]] [[จักรภพ เพ็ญแข]] [[รัฐมนตรี]]ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีขณะนั้น ในฐานะกำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ มีแนวความคิดเปลี่ยนแปลง สทท.11 เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารงาน และตอบสนองเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานีฯ ดังนั้นใน[[วันอังคาร]]ที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2551]] ตั้งแต่เวลา 06.00 น. สทท.11 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น '''สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย''' (National Broadcasting Services of Thailand; NBT) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้จดทะเบียนสมาชิกกับ[[สหภาพวิทยุ-โทรทัศน์แห่งเอเชีย-แปซิฟิก]] (Asia-Pacific Broadcasting Union; ABU) และเปลี่ยนสีประจำสถานีเป็น[[สีแดง]] พร้อมกันนั้น ยังเริ่มออกอากาศรายการรูปแบบใหม่ เพื่อให้สมเจตนารมณ์ในการก่อตั้งสถานีและเพื่อประโยชน์สาธารณะ ทั้งนี้ เอ็นบีทีจะนำเสนอข่าวที่ผลิตโดยกองบรรณาธิการข่าวของสถานีฯ เอง ซึ่งแยกออกมาจาก[[สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์]] ต่างจากในยุค สทท.11 ซึ่งจะนำเสนอข่าวที่ผลิตจากสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์แทบทั้งสิ้น