ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าเหี้ยนเต้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
}}
 
'''จักรพรรดิฮั่นเซี่ยน''' หรือ '''ฮั่นเซี่ยนตี้''' สำเนียงจีนฮกเกี้ยนว่า '''ฮั่นเหี้ยนเต้''' ({{zh-all|t=漢獻帝|s=汉献帝|p=Hàn Xiàn Dì}}) พระนามเดิม '''เสีย''' ตามสำเนียงกลาง หรือ '''เหียบ''' ตามสำเนียงจีนฮกเกี้ยน ({{Zh-all|c=協|p=Xié}}) หรือมักเรียกกันว่า '''หวังเช่าเสีย''' ตามสำเนียงกลาง หรือ '''หองจูเหียบ''' ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ({{Zh-all|c=王少協|p=Wáng Shǎo Xié}}; "เสียเจ้าชายน้อย") เป็น[[ฮ่องเต้|พระมหาจักรพรรดิจีน]]เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี [[พ.ศ. 724]] เป็นพระราชโอรสใน[[พระเจ้าเลนเต้]] และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ [[ตั๋งโต๊ะ]] ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบขึ้นเป็น[[ฮ่องเต้]]แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งต้าฮั่นในปี [[พ.ศ. 732]] ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้
 
จนตั๋งโต๊ะชะตาถึงฆาตไปในปี [[พ.ศ. 735]] ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและ[[สิบขันที]] ดังนั้น ในปี [[พ.ศ. 739]] [[โจโฉ]] ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และโจโฉทำอะไรจะเคารพยำเกรงในพระเจ้าเหี้ยนเต้เสมอ และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่ง[[วุยก๊ก|แคว้นเว่ย]] พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยกโจจี๋ ให้เป็นพระมเหสีพระเจ้าเหี้ยนเต้ในปี [[พ.ศ. 757]] พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่ง[[อ๋อง]]หรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสาม ([[สามก๊ก]]) ไป ๆ มา ๆ