ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แปลก พิบูลสงคราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 32:
จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีชื่อจริงว่า แปลก เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีหูทั้งสองข้างอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าตา ผิดไปจากบุคคลธรรมดา จึงถูกตั้งชื่อว่า แปลก นับตั้งแต่เกิด เมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งสำคัญ ไม่ต้องการให้บุคคลอื่นเรียกชื่อตัวเองเช่นนั้น จึงใช้เป็นตัวอักษรย่อเป็น ป. นับตั้งแต่นั้น
 
จอมพล ป. เป็นหนึ่งในคณะนายทหารผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยเป็นนายทหารรุ่นน้องของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา 2 ปี ในโรงเรียนนายร้อยทหารบก มีบทบาทสำคัญในการปราบ[[กบฏบวรเดช]]เมื่อปี [[พ.ศ. 2476]] จึงเป็นที่ได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อมา ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] จอมพล ป. ในฐานะนายกรัฐมนตรีของไทยต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการประคับประคองประเทศชาติให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้หลายประการ โดยเป็นจอมพลคนแรกของประเทศไทยอีกด้วย เมื่อขอพระราชทานยศให้กับตนเอง ทั้งนี้มีการบอกเล่ากันว่า เพราะท่านต้องการทำ[[สงครามจิตวิทยา]]กับทางกองทัพญี่ปุ่น และเมื่อหลังสงครามโลกแล้ว ท่านต้องติดคุกในฐานะอาชญากรสงคราม และยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด โดยกลับไปอยู่บ้านที่ [[อ.ลำลูกกา]] จ.[[ปทุมธานี]] โดยทำไร่[[ถั่วฝักยาว]] แต่แล้วด้วยความผกผันทางการเมือง ในปี [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491|พ.ศ. 2491]] ท่านก็ได้หวนกลับมาคืนสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งจากการทำ[[รัฐประหาร]]ของกลุ่มนายทหารที่นับถือท่านอยู่ ซึ่งคราวนี้ดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 9 ปี ผ่านวิกฤตและเหตุการณ์กบฏจนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอดหลายครั้ง เช่น [[กบฏเสนาธิการ]], [[กบฏวังหลวง]], [[กบฏแมนฮัตตัน]]
 
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับฉายาว่า ''" จอมพลกระดูกเหล็ก "'' เพราะมีชีวิตทางการเมืองอย่างเหลือเชื่อ เคยถูกลอบสังหารมาแล้วถึง 3 ครั้ง แต่ก็รอดชีวิตมาได้ทุกครั้ง แม้กระทั่งในเหตุการณ์[[กบฏแมนฮัตตัน]] ที่ท่านถูกจี้ลงเรือศรีอยุธยา ถูกทิ้งระเบิดผ่านเตียงที่ท่านเคยนอนอยู่อย่างเฉียดฉิว ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากนับร้อย จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของท่าน คือ ในเย็นวันที่ [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500|16 กันยายน พ.ศ. 2500]] เมื่อถูกพลเอก[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] นายทหารรุ่นน้องอีกคนหนึ่งที่ท่านไว้ใจและมอบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกให้ กระทำการรัฐประหาร ซึ่งท่านได้หลบหนีไปด้วยรถยนต์ส่วนตัวกับผู้ติดตามเพียง 2 คน ไปอย่างหวุดหวิด โดยผ่านไปทาง[[ประเทศกัมพูชา]] ก่อนจะลี้ภัยทางการเมืองที่[[ประเทศญี่ปุ่น]] ซึ่ง ณ ที่นั่น ท่านและครอบครัวได้รับการต้อนรับอย่างดี ทั้งนี้เพราะทางญี่ปุ่นถือว่าเป็นท่านเป็นผู้ที่บุญคุณต่อญีปุ่น เพราะเป็นผู้ยินยอมให้ทหารญี่ปุ่นผ่านเข้าประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองด้วยดี ไม่ต้องมีการสู้รบยืดเยื้ออันรังแต่จะทำให้มีแต่ความสูญเสียด้วยกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งท่านก็ได้พำนักอยู่ที่นั่นจนตราบถึงแก่กรรม