ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาภารตะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luklen78 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 4:
'''มหาภารตะ''' ({{lang-sa|महाभारत}}) บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า '''ภารตะ''' เป็นหนึ่งในสอง ของ [[มหากาพย์]] ที่ยิ่งใหญ่ของ [[ประเทศอินเดีย|อินเดีย]] (มหากาพย์อีกเรื่องคือ [[รามายณะ]]) ประพันธ์เป็น[[โศลก]][[ภาษาสันสกฤต]] มหากาพย์เรื่องนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ "[[อิติหาส]]" (แปลตามศัพท์ว่า "ประวัติศาสตร์") และเป็นส่วนหนึ่งทึ่สำคัญยิ่งของ [[เทพปกรณัมในศาสนาฮินดู]]
 
ตามตำนานกล่าวว่าผู้แต่งมหากาพย์เรื่องนี้คือ [[ฤๅษีวยาส|ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วยาส]] เชื่อกันว่าแต่งไว้ราว 800-900 ปีก่อนคริสตศักราชคริสต์ศักราช<ref name=จุด/> นับเป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก<ref>{{cite web|url=http://www.youtube.com/watch?v=QZ-rj6gJvRk|title=แฟนพันธุ์แท้ 11 เมษายน 2557 - มหาภารตะ |date=11 April 2014|accessdate=12 April 2014|publisher=แฟนพันธุ์แท้}}</ref> ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่า[[อีเลียด|มหากาพย์อีเลียด]] หรือ[[โอดิสซี|มหากาพย์โอดิสซี]] ของกรีกโบราณ<ref name=จุด>จุดประกาย 4 บันเทิง, ''Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด''. "โลกนี้มีมายา" โดย ลีนาร์. '''กรุงเทพธุรกิจ'''ปีที่ 29 ฉบับที่ 10441: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560</ref> มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น [[ภควัทคีตา]] [[ศกุนตลา]] [[สาวิตรี]] [[พระนล]] [[กฤษณาสอนน้อง]] [[อนิรุทธ์]] เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็น[[คัมภีร์]]ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของ[[ศาสนาฮินดู]]ด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย
 
มหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูล[[เการพ]] และตระกูล[[ปาณฑพ]] ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าว[[ภรต]] แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่[[ทุ่งกุรุเกษตร]] ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้