ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัชรยาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Drthawatchai (คุย | ส่วนร่วม)
Drthawatchai (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมเนื้อหา อติโยคะ ในหัวข้อนิกายยิงมาปะ และปรับแก้ตัวสะกด
บรรทัด 50:
คำสอนญิงมาปะเน้นในเรื่องความไม่เป็นแก่นสารของจักรวาลและเน้นถึงความเป็นไปได้ในการตรัสรู้ในเวลาอันสั้น แบ่งพุทธศาสนาออกเป็น 9 ยานคือ
# สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน และ โพธิสัตว์ยาน คือสามยานขั้นต้น
# กริยาตันตระ จริยะตันตระ และโยคะตันตระ เป็นสามยานในชั้นกลางหรือจัดเป็นตันตระต่ำล่าง (Lower Tantra) และ
# มหาโยคะตันตระ อนุตรอนุโยคะตันตระและอธิอติโยคะตันตระ สามยานสุดท้าย หรือจัดเป็นตันตระสูงบน (Upper Tantra) หรือ อนุตรโยคะตันตระจัดเป็นตันตระสูงสุดของตันตระ
'''จุดกำเนิดของอติโยคะ ซกเช็น ในพุทธศาสนา วัชรยาน'''<ref name=":0" />
 
ซกเช็น ในแนวทางพุทธศาสนา  มาจากคุรุองค์แรก คือท่านการัป ดอร์เจ  ที่ดินแดนโอทิยานะ  อยู่แถบหุบเขาสวัต ประเทศปากีสถาน  เป็นดินแดนต้นกำเนิดทั้งคำสอนพุทธตันตระและซกเช็น   ในคัมภีร์โบราณมีการบันทึกว่าคำสอนซกเช็นนั้น นอกจากโลกมนุษย์แล้วยังมีปรากฏอยู่ใน 13 ระบบสุริยจักรวาล โดยธรรมกายของพระวัชรธารา ได้ก่อเกิดนิรมาณกายของครูผู้รับถ่ายทอดต่อเนื่องมาก่อนท่านการัป ดอร์เจ ถึง  12 ท่าน  ซึ่งพระศากยมุนีพุทธเจ้านั้นเป็นองค์ที่  12   (พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ ในแคว้นพาราณสี )
 
ท่านการัป ดอร์เจ เป็นชื่อในภาษาโอทิยานะ (ชื่อในภาษาสันสกฤต คือ ประเหวัชระ) เป็นบุตรของเจ้าหญิงบาระนี  ซึ่งเป็นราชธิดาของพระเจ้าฑเหนทะโล   ถือกำเนิดหลังจากพุทธปรินิพพาน 360 ปี (ซึ่งเวลายังไม่เป็นที่แน่ชัด) ในวัยเด็กของท่านการัป ดอร์เจ ตั้งแต่อายุ 7 ปี ก็สามารถสวดคัมภีร์อวกาศยิ่งใหญ่แห่งพระวัชรสัตว์ได้ เพราะได้รับถ่ายทอดผ่านสัญญลักษณ์ จากพระวัชรสัตว์โดยตรง และสามารถโต้ตอบปัญหาทางธรรมได้เหนือกว่านักบวชอาวุโส  หนึ่งในนั้นคือท่านมัญชูศรีมิตรา ที่มาโต้ธรรมกับท่าน และยอมเป็นศิษย์ของท่านการัป ดอร์เจ ในที่สุด และจากท่านมัญชูศรีมิตรา ก็มีครูอาจารย์สืบทอดต่อมา อีกหลายท่าน คือ ท่านศรีสิงหะ  ท่านญาณสูตระ  ท่านวิมลมิตร  จนถึงท่านคุรุปัทมสัมภาวะ  ผู้นำพุทธศาสนาจากอินเดียมาเผยแผ่ที่ทิเบต และนำคำสอนซกเช็น เมนแงกเด (อุปเทศ) มาถ่ายทอดเป็นท่านแรก   
 
ท่านคุรุปัทมสัมภาวะ ได้กราบทูลกษัตริย์ทริซอง  ดิยุทเซ็น ว่ายังมีคำสอนที่อยู่พ้นไปจากเหตุและผล  ต้องการให้คำสอนมีความครบถ้วนสมบูรณ์ คือทั้งซกเช็น เซมเด  และซกเช็น ลองเด  จึงได้ส่งท่านไวโรจนะและท่านซัง เลกดรุป ไปที่อินเดีย  แต่เมื่อทราบข่าวว่าท่านศรี สิงหะ เป็นอาจารย์ที่เก่งที่สุดในยุคนั้นอยู่ที่โอทิยานะ  ทั้งสองท่านจึงเดินทางไปต่อจนพบ   ในระหว่างเดินทางท่านทั้งสองพบอุปสรรคความยากลำบากมากมาย  ท่านซัง เลกดรุปเสียชีวิตระหว่างการเดินทางกลับ  ท่านไวโรจนะนำคำสอนกลับมาแปลเป็นภาษาทิเบต  ช่วงคริสศตวรรษที่ 8  ซึ่ง คำโคลงแห่งวัชระทั้ง 6 (The Six Vajra Verses ) ก็คือคำสอนแบบสรุป ( lung) ที่ท่านไวโรจนะแปลเป็นครั้งแรก  รวมถึงคัมภีร์แบบสมบูรณ์ ( tantra: gyud) อีกหลายเล่ม 
 
ท่านคุรุปัทมสัมภาวะ  ได้แต่งคำสอน คันโดร นัยยิงติก(Khandro Nyingtig) ถ่ายทอดให้กับ กษัตริย์ทริซอง ดิยุทเซ็น,  คันโดรเยเช โซกยัล  และท่านไวโรจนะ    ส่วนท่านวิมลมิตรเมื่อมาถึงทิเบต ก็ได้เขียนคำสอน วิมา นัยยิงติก ( Vima Nyingtik)   จนมาถึงท่านลองเช็น แลปแจม (Longchen Rabjam 1308-1364) ได้รวมคำสอนทั้งสองนี้แล้วเขียน อีกเล่มขึ้นมา คือ สามยังติก (Three Yangtik)  นับว่าเป็นคำสอนชั้นลึกที่สุดในซกเช็น เรียกว่า ลองเช็น นัยยิงติก   สำหรับผู้ที่มีศักยภาพสูง  จนมาถึงท่านจิกมี ลิงปะ(1730-1798)  ซึ่งเป็นตุลกูกลับชาติมาเกิดของกษัตริย์ทริซอง ดิยุทเซ็น  ได้รับธรรมสมบัติที่ซ่อนอยู่ในจิต ( Mind terma) จากดากินี และพบกับท่านลองเช็น แลปแจม  มาถ่ายทอดความรู้ให้ท่าน  จึงได้เรียบเรียงธรรมสมบัติทั้งหมดออกมาและถ่ายทอดต่อให้ศิษย์อีก 15 ท่าน
 
=== นิกายกาจูร์ปะ ===
เส้น 111 ⟶ 120:
* '''มูลนิธิพันดารา''' เน้นคำสอนพุทธวัชรยานอย่างไม่แบ่งแยกนิกาย หรือที่เรียกว่า รีเม (Rimed) และมีคำสอนพิเศษที่เน้นการปฏิบัติบูชาพระโพธิสัตว์ตาราที่สืบทอดในนิกายสาเกียปะและคำสอนซกเช็นที่สืบทอดในนิกายยุงตรุงเพิน (Thousand Stars Foundation, several different lineages of Tibetan Buddhism as well as Yungdrung Bon, emphasizing on Tara and Dzogchen traditions) มีบ้านอบรมเสวนาในกรุงเทพมหานครและศูนย์ปฏิบัติธรรมและแหล่งเรียนรู้อุทิศแด่พระโพธิสัตว์ตารา ชื่อว่า ศูนย์ขทิรวัน (Khadiravana Center) หรือภาษาทิเบต กุนเทรอลิง (Kundrol Ling) ที่หมู่ 5 ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ <ref>[http://www.thousand-stars.org/ มูลนิธิพันดารา Thousand Stars Foundation]</ref>
'''บ้านติโลปะ''' (Tilopa House) สืบสายการปฏิบัติของท่านทรุงปะริมโปเช เช่นเดียวกับสายชัมบาลา แต่ผ่านคุรุทางจิตวิญญาณชาวอเมริกันชื่อ เรจินัลด์ เรย์ (Reginald Ray) มีบ้านปฏิบัติธรรมและที่อบรมเสวนาในกรุงเทพมหานคร
* '''ศูนย์อนัมคาราเพื่อปัญญาเมตตาและสันติสุข (Anam Cara Center for Wisdom-Compassion-Peace)''' สืบทอดวิถีพุทธศาสนา วัชรยาน จากท่านลามะ เซริง วังดู รินโปเช และการถ่ายทอดผ่านทางจิตและสัญลักษณ์ โพธิสัตวมรรคา สมาธิพระวัชรสัตว์ การปฏิบัติโพวา ทองเลน อติโยคะ ( ซกเช็น) และจัดฝึกอบรม มรรคาแห่งวัชระ เน้นการฝึกปฏิบัติซกเช็น <ref name=":0">[http://www.anamcarashc.blogspot.com ศูนย์อนัมคาราเพื่อปัญญาเมตตาและสันติสุข]</ref>
 
นอกจากนี้ ยังมีคำสอนในพุทธวัชรยานที่ได้รับการถ่ายทอดที่วัตรทรงธรรมกัลยาณี เช่น คำสอนเกี่ยวกับพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า คำสอนในสายเกลุกปะ และเสถียรธรรมสถาน เช่น คำสอนเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ตารา