ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเสริม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Sam Saraburi (คุย | ส่วนร่วม)
เนื่องจากพิมพ์คำว่าราช ตกอัการ"ร"
บรรทัด 19:
== ประวัติ ==
 
ตามประวัติกล่าวไว้ว่า พระราชธิดาสามพี่น้องของกษัตริย์[[ล้านช้าง]]เวียงจันทน์ (ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อว่า เป็นพระาชพระราชธิดาของสมเด็จ[[พระไชยเชษฐาธิราช]]มหาราช พระมหากาตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง-ล้านนา) ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น 3 องค์ เพื่อสืบทอด[[พระพุทธศาสนา]] แล้วขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามว่า [[พระสุก]] '''พระเสริม''' และ[[พระใส]] พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ พระสุกนั้นเป็นพระประจำพี่ผู้ใหญ่ พระเสริมประจำองค์กลาง ส่วนพระใสประจำองค์สุดท้อง
 
ตามประวัติการสร้างเล่าว่า มีพิธีการทางบ้านเมืองและทางวัดช่วยกันใหญ่โต มีคนสูบเตาหลอมทองอยู่ไม่ขาดระยะเป็นเวลา 7 วัน แล้วทองก็ยังไม่ละลาย ถึงวันที่ 8 เวลาเพล เหลือญาครู (หลวงตา) กับ[[สามเณร]]น้อยรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ได้ปรากฏชีปะขาว (ตาผ้าขาว) ตนหนึ่งมาขอช่วยทำ ญาครู (หลวงตา) กับเณรน้อยจึงไปฉันเพล ฝ่ายญาติโยมที่มาส่งเพลจะลงไปช่วยแต่มองไปเห็นชีปะขาวจำนวนมากช่วยกันสูบเตาอยู่ แต่เมื่อถามพระดูแล้วพระมองลงไปก็เห็นเป็นชีปะขาวตนเดียว พอฉันเพลเสร็จคนทั้งหมดจึงลงมาดูก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เหตุเพราะได้เห็นทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้ง 3 เบ้า ส่วนชีปะขาวได้หายตัวไปไร่ร่องรอย